การขาดแคลนเมล็ดทานตะวันคุณภาพสูง และต้นทุนการนำเข้าน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก อาจทำให้ราคาน้ำมันเพื่อการบริโภคปรับตัวสูงขึ้นอีกในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ในปี พ.ศ. 2567 โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันเพื่อการบริโภคยังมีราคาสูงและมีแนวโน้มที่จะปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก
ตัวแทนภาคการค้าน้ำมันเพื่อการบริโภคให้ความเห็นว่า เหตุผลหลักๆ ที่ราคาของน้ำมันเพื่อการบริโภค (ปาล์มน้ำมันและเมล็ดจากทานตะวัน) ในแอฟริกาตะวันออกเพิ่มสูงขึ้นกว่า 30-35% ในปี 2566 นั้น ได้แก่ การแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค (ทั้งเคนยาชิลลิ่งและแทนซาเนียชิลลิ่ง) สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซีย และสงครามอิสราเอลในฉนวนกาซา นำมาซึ่งการหยุดชะงักของอุปทานการผลิต จนส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์ม อีกทั้งยังมีความกังวลเรื่องข้อจำกัดของการขนส่งสินค้าที่มีสาเหตุจากการสู้รบและความขัดแย้งในตะวันออกกลางหรือทะเลแดงที่มีในปัจจุบัน จนนำมาซึ่งต้นทุนการผลิตที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต
ประเทศแทนซาเนีย มีความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มในการเพิ่มโอกาสให้ผู้ค้าผู้นำเข้าที่จะเข้ามาเจาะตลาดของแทนชาเนียไปจนถึง ปี พ.ศ. 2572 โดยเมล็ดทานตะวันคุณภาพในแทนซาเนียมีจำกัดจึงมีการคาดการณ์ว่า ราคาน่าจะสูงขึ้น ส่วนทางประเทศเคนยานั้น ตามความเห็นของสมาคมผู้ผลิตแห่ง
เคนยา (Kenya Association of Manufacturers (KAM)) ตั้งข้อสังเกตว่า การปลูกต้นปาล์มตามที่เคนยาเคยเสนอให้รัฐบาลเคนยาพิจารณาไปนั้น น่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาน้ำมันเพื่อการบริโภคในระยะยาวได้ต้องมีการวางแผนระยาวในการปลูกต้นปาล์มในเคนยา และความช่วยเหลือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศอินโดนีเซียหรือประเทศผู้ผลิตปาล์มประเทศอื่นๆ (เช่น มาเลเชียและไทย) เนื่องจากอาจต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าที่ต้นปาล์มจะสามารถนำมาผลิตน้ำมันได้ ด้วยว่าต้นปาล์มยังคงเป็นพืชที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในแง่ของการผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่เพาะปลูก (ปาล์มน้ำมันหนึ่งเฮกตาร์สามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้สูงกว่าเมล็ดพืชน้ำมันอื่นๆ ถึง 10 เท่า)
ในอีกด้านหนึ่ง เกษตรกรผู้เพาะปลูกทานตะวันในประเทศแทนซาเนีย ก็กำลังประสบปัญหาความล่าช้าในการจัดหาเมล็ดพันธ์เพื่อใช้ในฤดูเพาะปลูก ซึ่งดูเหมือนว่าอุปทานการผลิตของแทนซาเนียเรื่องการผลิตเมล็ดดอกทานตะวันจะลดลงในปีนี้ ทั้งนี้ แทนซาเนียถือเป็นประเทศที่ผลิตเมล็ดทานตะวันรายใหญ่อันดับที่ 16 ของโลก และเป็นผู้ผลิตที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคแอฟริกา รองจากแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น เมล็ดดอกทานตะวัน เป็นพืชที่มีการนำเข้ามาใข้ในการผลิตน้ำมันเพื่อการบริโภค คิดเป็นร้อยละ 35 ของการผลิตเมล็ดพืชน้ำมันเพื่อการบริโภคทั้งหมดในแทนซาเนีย
สถิติการนำเข้าน้ำมันปาล์มของเคนยา ปี 2023 (ม.ค.-พ.ย. 2566)
Products: 1511 (Palm Oil And Its Fractions, Whether Or Not Refined, But Not Chemically Modified) | ||||||||||||
Value: Year To Date through November 2023 (January 2023 to November 2023) | ||||||||||||
Rank | Trade Partner | United States Dollars | % Share | (+/-)% | ||||||||
2021 | 2022 | 2023 | 2021 | 2022 | 2023 | |||||||
World | 874,840,786 | 1,009,319,240 | 789,688,797 | 100.00 | 100.00 | 100.00 | -21.76 | |||||
1 | Malaysia | 521,738,876 | 797,538,463 | 573,177,398 | 59.64 | 79.02 | 72.58 | -28.13 | ||||
2 | Indonesia | 310,931,628 | 81,229,629 | 152,505,416 | 35.54 | 8.05 | 19.31 | 87.75 | ||||
3 | Singapore | 8,294,850 | 32,573,467 | 24,319,541 | 0.95 | 3.23 | 3.08 | -25.34 | ||||
4 | Cote d Ivoire | 66,965,915 | 19,122,954 | 6.63 | 2.42 | -71.44 | ||||||
5 | Thailand | 30,749,361 | 13,286,428 | 18,447,858 | 3.51 | 1.32 | 2.34 | 38.85 | ||||
6 | USA | 114 | 3,979,182 | 1,897,798 | 0.00 | 0.39 | 0.24 | -52.31 | ||||
7 | South Africa | 120,727 | 125,919 | 162,356 | 0.01 | 0.01 | 0.02 | 28.94 | ||||
8 | UAE | 624,712 | 30,098 | 0.06 | 0.00 | -95.18 | ||||||
9 | France | 1,803 | 25,060 | 0.00 | 0.00 | 1289.80 | ||||||
10 | Ghana | 310 | 0.00 | |||||||||
ที่มา Kenya National Bureau of Statistics, GTA
การผลิตน้ำมันและไขมันเพื่อการบริโภคในประเทศเคนยานั้น สามารถทำได้เพียงร้อยละ 34 จากความต้องการทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ เคนยาจึงยังคงเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันพืชมากที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกา (ปัจจุบันเป็นลำดับที่ 3) โดยการจัดหาวัตถุในการผลิตน้ำมันพืชของเคนยามากกว่าร้อยละ 90 มาการนำเข้าน้ำมันดิบจากแหล่งต่างประเทศปีละประมาณถึงกว่า 789.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (2023) ซึ่งแม้ว่าประเทศเคนยาจะมีกำลังการผลิตน้ำมันชนิดอื่นๆ เช่น น้ำมันมะพร้าวเหล่านี้อยู่บ้างก็ตาม ทั้งนี้ เคนยามีการนำเข้าน้ำมันที่ใช้บริโภคสำเร็จรูปมาใช้ในประเทศคิดเป็นมูลค่าการนำเข้ามากกว่า 1.07 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหลายช่วงระยะเวลาในอตีดเคยมีการนำเข้าแบบปลอดภาษีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้บริโภคจากราคาน้ำมันเพื่อการบริโภคที่สูงขึ้น ในปีที่ผ่านมาเคนยานำเข้าน้ำมันปาล์มส่วนใหญ่จาก มาเลเซีย เป็นอันดับ 1 อินโดนีเชีย อันดับ 2 และไทยเป็นลำดับที่ 5 ตามลำดับ
ความเห็นของ สคต.
การที่ภาคการผลิตทั้งของเคนยาและแทนซาเนียยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ น้ำมันเพื่อการบริโภคได้นั้น ถือเป็นโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเรื่องดังกล่าว โดยสำหรับประเทศไทย ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มได้เป็นลำดับที่ 3 ของโลก รองจาก อินโดนีเชียและมาเลเชีย และยังสามารถผลิตน้ำมันจากรำข้าว ได้ด้วย โอกาสที่ยังมีความต้องสินค้าประเภทนี้ในตลาดแอฟริกาตะวันออกในเคนยาและแทนซาเนียดังกล่าวข้างต้น ต่างเป็นโอกาสที่ไทยควรหันมามองทั้งเรื่องการส่งออก การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเข้ามาเติมเต็มความต้องการของตลาดที่น่าจะยังมีอีกมากอย่างน้อย 7-10 ปีต่อจากนี้
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเรื่องต้นทุนการผลิตของไทย ที่สูงกว่าประเทศอื่น การที่ไทยอาจมองการเข้ามาลงทุนในเรื่องนี้ ทั้งการปลูกปาล์มน้ำมัน หรือ การแปรรูปเป็นสินค้าอื่นๆ นั้น น่าจะเป็นทางเลือกที่มีเหมาะสมมากกว่า ซึ่ง สคต. มีความเชื่อว่า ยังไม่สายที่ไทยจะเข้าร่วมเป็นผู้เล่นหนึ่งในตลาดน้ำมันเพื่อการบริโภคดังกล่าว โดยในปัจจุบัน ประเทศอินโดนีเชีย เริ่มมีการเข้ามาร่วมทุนและลงทุนในเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นผลจากการเยือนของ รมต. ต่างประเทศของอินโดนีเชียที่มีการเยือนมายังเคนยาเป็นประจำเกือบทุกปี จึงเป็นเรื่องที่ไทยควรพิจารณาดำเนินการบ้างไม่มากก็น้อยในอนาคต
อีกประการหนึ่ง สคต. เห็นว่า แม้จะมีความเสี่ยงในหลายด้านเพิ่มขึ้นในการลงทุนในแอฟริกา แต่เราจะปฎิเสธไม่ได้ว่า ความน่าสนใจในด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรของแอฟริกา และจำนวนฐานประชากรจำนวนมาก ตลอดจนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของประเทศในแอฟริกาที่เรียกว่า AFCFTA ในปี 2021 ที่ผ่านมานั้น ต่างทำให้แอฟริกายังเป็นภูมิภาคที่มีความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนต่อไปในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยเองควรเร่งทำการศึกษาข้อมูลและหาโอกาสในด้านที่ไทยเองมีความเชียวชาญและสามารถเข้ามาลงทุนได้ เช่น อุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยว ร้านอาหารไทย ร้านสปา เป็นต้น ซึ่งทำให้ไทยควรเร่งเจรจาการค้า หรือ FTA กับประเทศในแอฟริกาให้เร็วยิ่งขึ้นต่อไป เพราะนอกจากจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ทางด้านการค้าแล้ว ความมั่นใจในด้านการลงทุนก็เป็นเรื่องที่หน่วยงานภาครัฐของไทยควรให้ความสำคัญในการเจรจา FTA ในอนาคตอันใกล้ และในส่วนของผู้ประกอบการก็ควรหาข้อมูล และมองหาโอกาสเข้ามาลงทุนในแอฟริกาโดยเร็วต่อไป ไม่เช่นนั้น แล้วหากเราช้าเกินไปโอกาสทางการค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาก็จะยิ่งทำได้ยากขึ้น และมีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : The EastAfrican
อ่านข่าวฉบับเต็ม : แนวโน้มความต้องการและราคาน้ำมันเพื่อการบริโภคในแอฟริกาตะวันออก สูงขึ้นอีก ในปี 2567 (น้ำมันปาล์มและน้ำมันดอกทานตะวัน) โอกาสสำหรับน้ำมันเพื่อการบริโภคจากไทยแย่งส่วนแบ่งตลาด