หน้าแรกTrade insightอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล > เซอร์เบียกับระบบ AI สร้างช่องทางและความพร้อมเข้า EU

เซอร์เบียกับระบบ AI สร้างช่องทางและความพร้อมเข้า EU

📰 ข่าวเด่นประจำเดือนกันยายน 2567 โดย สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์
www.thaitradebudapest.hu / Facebook Fanpage: @ThaiTradeBudapest 

 

เกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลสาธารณรัฐเซอร์เบียมีความมั่นคงภายในประเทศมากขึ้น ทั้งการพัฒนาสังคม/ประชากร และการมุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต ทำให้ในปี 2552 รัฐบาลเซอร์เบียเห็นว่าตนเองมีความพร้อมเพียงพอ จึงยื่นใบสมัครขอเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป สี่ปีต่อมา ในปี 2556 เซอร์เบียได้รับสถานะเป็นผู้สมัครสมาชิกสหภาพฯ อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้เซอร์เบียมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง มีการเปิดการเจรจาแก้กฎหมายในประเทศให้เป็นไปตามระบบกฎหมายของสหภาพยุโรป

 

ในปี 2562 ประธานาธิบดีเซอร์เบีย นาย Aleksandar Vučić แถลงนโยบาย “แผนการเซอร์เบีย 2025” (SERBIA 2025) ว่าด้วยแผนการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน อาทิเช่น การพัฒนาด้านตลาดการเงิน การศึกษา รัฐวิสาหกิจ เศรษฐกิจหมุนเวียน และการศึกษาและวิทยาศาสตร์ โดยรัฐบาลเซอร์เบียให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging Technology) โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence-AI) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโลกในปัจจุบันและอนาคต

 

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีปัญหาประดิษฐ์ รัฐบาลเซอร์เบียจึงจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของประเทศเซอร์เบีย มีเป้าหมายเพื่อการผลักดันและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการให้ความรู้เพื่อใช้ในการต่อยอดในด้านเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ โดยสถาบันฯ ดังกล่าว ได้รวบรวมทีมนักวิจัยที่ความรู้ความเชี่ยวชาญในระดับสากลจำนวนมาก เพื่อเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเป้าหมาย ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาภายในประเทศแล้ว ยังเป็นแผนการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายของ European Commission’s AI Initiative และ Ethical Guidelines อันจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อพิจารณาจากความตั้งใจพัฒนาด้านเทคโนโลยีฯ นี้ ทำให้เซอร์เบียได้รับโอกาสเป็นประธานในโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านปัญญาประดิษฐ์ (Global Partnership on Artificial Intelligence-GPAI) ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development-OECD) ซึ่งการดำรงตำแหน่งฯ ดังกล่าว จะส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้กับเซอร์เบียอย่างแน่นอน

 

จากข้อมูลล่าสุด ดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index) โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ระบุว่าระดับการพัฒนานวัตกรรมของเซอร์เบียนั้นอยู่ที่ลำดับ 53 จากทั้งหมด 132 ประเทศทั่วโลก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศเซอร์เบียพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม และคาดหวังว่าจะเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของโลกในอนาคต

 

 

 

💭 ข้อคิดเห็นของ สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์ 💭

การที่สาธารณรัฐเซอร์เบียมีแผนการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม สร้างทักษะให้กับแรงงาน การให้ศึกษาอย่างทั่วถึง และที่สำคัญ คือความต้องการก้าวเป็นประเทศผู้นำด้านด้านปัญญาประดิษฐ์ (Global Partnership on Artificial Intelligence-GPAI) ของโลก เป็นช่องทางและโอกาสที่สำคัญสำหรับหน่วยงานของประเทศต่างๆ รวมทั้ง ประเทศไทยที่ก็มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ สร้างสรรค์งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะประชาชนรุ่นใหม่อายุน้อยที่มีโอกาสศึกษาค้นคว้าวิจัย และสนใจที่จะทำงานด้านนี้มากขึ้น ทั้งการศึกษาในประเทศ และการขอทุนการศึกษาจากประเทศพัฒนาแล้ว สามารถใช้ความสนใจและความเชี่ยวชาญที่ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว แต่มองไกลไปยังระบบ AI ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทั้งโลกมากขึ้น สังคมเปิดกว้างรับความคิดเห็นใหม่ๆ และเป็นช่องทางการตลาดสำคัญในการร่วมมือของธุรกิจระหว่างไทยกับเซอร์เบียที่อาจจะสร้างปัญญาประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้กับโลกใบนี้ก็ได้

 

ที่มาของข้อมูล

 

ข้อมูลและอินโฟกราฟิก จัดทำโดย ธนกฤต รักรณรงค์

 

มอนเตเนโกรระงับการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรจาก 43 ประเทศทั่วโลก 🐷 เนื่องจากโรค ASF ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกเนื้อสุกรจากไทย

สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์
กันยายน 2567

 

 

อ่านข่าวฉบับเต็ม : เซอร์เบียกับระบบ AI สร้างช่องทางและความพร้อมเข้า EU

Login