หน้าแรกTrade insightเครื่องดื่ม > คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และ Halal Product Assurance Organizing Agency (BPJPH) ของอินโดนีเซีย ให้การยอมรับมาตรฐานสินค้าฮาลาลระหว่างกัน

คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และ Halal Product Assurance Organizing Agency (BPJPH) ของอินโดนีเซีย ให้การยอมรับมาตรฐานสินค้าฮาลาลระหว่างกัน

ข่าวสาร | CICOT.OR.

ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2566 รัฐบาลอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดงาน The 2nd H20 – Halal World 2023 International Halal Conference เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และหารือด้านมาตรฐานสินค้าฮาลาลร่วมกับประเทศคู่ค้า โดยระหว่างการจัดงานได้จัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงในการพัฒนามาตรฐานสินค้าฮาลาล ระหว่าง สถาบันรับรองสินค้าฮาลาลอินโดนีเซีย (Halal Product Assurance Organizing Agency :BPJPH) กับหน่วยงานรับรองสินค้าฮาลาล ต่างประเทศ จำนวน 37 สถาบัน จาก 14ประเทศ โดยมีเพียง 9 สถาบันจาก 6 ประเทศ ที่อินโดนีเซียให้การยอมรับมาตรฐานสินค้าฮาลาลร่วมกัน ประกอบด้วย

  1. Korea Muslim Federation (KMF),
  2. Korean Halal Authority,
  3. Islamic Food and Nutrition Council of America (IFANCA),
  4. Taiwan Halal Integrity Development Association,
  5. The Central Islamic Council of Thailand, (CICOT)
  6. Halal Certification Center of Chile (Chile halal)
  7. Halal Conformity Services, New Zealand
  8. The Federation of Islamic Associations of New Zealand (FIANZ)
  9. New Zealand Islamic Development Trust Ltd.

ทั้งนี้ ในส่วนของไทย นายประสาน บุญส่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (CICOT) ได้ลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangements: MRA) กับ Mr.Muhammad Aqil Irham, Head of Halal Product Assurance Organizing Agency (BPJPH) ในการยอมรับมาตรฐานสินค้าฮาลาลระหว่างกันในกลุ่มสินค้า (1) อาหาร (2) เครื่องดื่ม และ (3) โรงเชือด โดย โดย MRA มีผลบังคับ 4 ปีนับจากวันลงนามในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ในการนี้ สคต. ได้หารือกับผู้แทน CICOT ทราบว่าหลังจากนี้ CICOT จะสามารถตรวจรับรองและเป็นตัวแทนในการออกตรารับรองฮาลาลอินโดนีเซีย (BPJPH) สำหรับสินค้าไทยนำไปยื่นขออนุญาตนำเข้าต่อหน่วยงานอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้น ด้วยจากเดิมสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมในอินโดนีเซียและต้องการตรารับรองฮาลาลอินโดนีเซียเพื่อขยายฐานผู้บริโภคมุสลิม จำเป็นต้องติดต่อ BPJPH โดยตรงซึ่งใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูง โดยในเบื้องต้น CICOT แนะนำให้สินค้าไทยที่นำเข้ามาจำหน่ายในอินโดนีเซียแสดงตราฮาลาลทั้ง 2 ประเทศ คือของ CICOT และ BPJPH ในส่วนของผู้ประกอบการที่มีตรารับรองฮาลาลของ CICOT อยู่เดิมและมีสินค้าจำหน่ายอยู่ในอินโดนีเซียอยู่แล้วจะได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการต่ออายุใบอนุญาตต่างๆ เช่น BPOM (อย.อินโดนีเซีย) และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ เพื่อถือปฏิบัติตามข้อตกลงใน MRA ต่อไป

วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย

ตลาดอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยประชากรร้อยละ 87 จากจำนวนประชากร 275 ล้านคนของอินโดนีเซีย (สำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย ปี 2565) หรือคิดเป็น 240 ล้านคนนับถือศาสนาอิสลาม อินโดนีเซียจึงเป็นตลาดสินค้าฮาลาลที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ การที่ คณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทย (CICOT) และ Halal Product Assurance Organizing Agency (BPJPH) ของอินโดนีเซีย สามารถยอมรับมาตรฐานสินค้าฮาลาลร่วมกัน ในกลุ่มสินค้า (1) อาหาร (2) เครื่องดื่ม และ(3) โรงเชือด จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่สินค้าไทยที่ต้องการส่งออกมายังอินโดนีเซียและสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยต่อไป

อ่านข่าวฉบับเต็ม : คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และ Halal Product Assurance Organizing Agency (BPJPH) ของอินโดนีเซีย ให้การยอมรับมาตรฐานสินค้าฮาลาลระหว่างกัน

Login