หน้าแรกTrade insightไก่ > สถานการณ์และแนวโน้ม “ไก่เนื้อ” ปี 2566 ไทยและต่างประเทศ

สถานการณ์และแนวโน้ม “ไก่เนื้อ” ปี 2566 ไทยและต่างประเทศ

1 สถานการณ์ ปี 2565

1.1 ของโลก

1.1.1 ด้านการผลิต

ปี 2561 – 2565 การผลิตเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.05 ต่อปี โดยในปี 2565 การผลิตเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 100.93 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 100.51 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 0.42 ซึ่งสหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่อันตับ 1 ของโลก มีปริมาณการผลิต 20.85 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ บราซิล 14.40 ล้านตัน จีน 14.30 ล้านตัน และสหภาพยุโรป 10.92 ล้านต้น โดยสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีการผลิตเนื้อไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.23 และร้อยละ 0.55 เมื่อเทียบกับปี 2564 ในขณะที่บราซิลและจีน มีการผลิตเนื้อไก่ลดลงร้อยละ 0.69 และร้อยละ 2.72 ตามลำดับ

1.1.2 ด้านการตลาด

(1) การบริโภค

ปี 2561 – 2565 การบริโภคเนื้อไก่ของโลก มีแนวโมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.09 ต่อปี โดยในปี 2565 การบริโภคเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 98.25 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 98.08 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 0.17 ซึ่งสหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่มีการบริโภคเนื้อไก่มากที่สุด คือ 17.61 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ จีน 14.40 ล้านตัน สหภาพยุโรป 9.95 ล้านตัน และบราซิล 9.78 ล้านต้น โดยจีนและบราซิล มีการบริโภคเนื้อไก่ลดลงร้อยละ 4.20 และร้อยละ 4.86 เมื่อเทียบกับปี 2564 ในขณะที่สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีการบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.62 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ

(2) การส่งออก

ปี 2561 – 2565 การส่งออกเนื้อไก่ของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.92 ต่อปี โดยในปี 2565 การส่งออกเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 13.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 13.29 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 2.57

บราซิลยังคงเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ส่งออกได้ปริมาณ 4.63 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา 3.27 ล้านตัน และสหภาพยุโรป 1.75 ล้านตัน ตามลำดับ โดยบราซิลมีการส่งออกเนื้อไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.47 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมีการส่งออกลดลงร้อยละ 2.65 และร้อยละ 4.79 เมื่อเทียบกับปี 2564

(3) การนำเข้า

ปี 2561 – 2565 การนำเข้าเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.38 ต่อปี โดยในปี 2565 การนำเข้าเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 11.01 ล้านต้น เพิ่มขึ้นจาก 10.83 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 1.65 ซึ่งญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่นำเข้าเนื้อไก่มากเป็นอันดับ 1 ของโลก คือ 1.12 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ เม็กชิโก และสหราชอาณาจักร 0.92 ล้านตัน สหภาพยุโรป 0.78 ล้านตัน และจีน 0.65 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับปี 2564 ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป มีการนำเข้าเนื้อไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.53 ร้อยละ 32.80 และร้อยละ 20.16 ตามลำดับ ในขณะที่เม็กชิโก และจีน มีการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.22 และร้อยละ 17.62 ตามลำดับ

1.2 ของไทย

1.2.1 ด้านการผลิต

ปี 2561 – 2565 การผลิตไก่เนื้อของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.59 ต่อปี โดยในปี 2565 มีการผลิตไก่เนื้อ 1,771.99 ล้านตัว หรือคิดเป็นเนื้อไก่ 2.83 ล้านตัน เพิ่มชั้นจาก 1,754.04 ล้านตัว หรือคิดเป็นเนื้อไก่ 2.80 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 1.02 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

1.2.2 ด้านการตลาด

(1) การบริโภค

ปี 2561 – 2565 การบริโภคเอไก่ของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.94 ต่อปี โดยปี 2565 มีปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ 1.88 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.86 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 0.94 เนื่องจากเนื้อสุกรมีราคาแพง ผู้บริโภคจึงหันมาบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น

ดูราคาหมูหน้าฟาร์มย้อนหลัง-ล่าสุดที่นี่<<

(2) การส่งออก

ปี 2561 – 2565 ปริมาณการส่งออกไก่สดแซ่แข็ง และเนื้อไก่แปรรูปของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.84 ต่อปี โดยในปี 2565 มีปริมาณการส่งออกรวม 0.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 0.94 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 1.19 แบ่งเป็น

การส่งออกไก่สดแช่แข็ง ปริมาณ 0.392 ล้านตัน มูลค่า 42,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.386 ล้านตัน มูลค่า 28,819 ล้านบาท ของปี 2564 ร้อยละ 1.24 และร้อยละ 46.98 ตามสำดับ โดยตลาดส่งออกไก่สดแช่แข็งที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 38.60) จีน (ร้อยละ 23.40) และมาเลเซีย (ร้อยละ 19.53)

การส่งออกเนื้อไก่แปรรูป ปริมาณ 0.56 ล้านตัน มูลค่า 84,133 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 0.55 ล้านตัน มูลค่า 73,709 ล้านบาท ของปี 2564 ร้อยละ 1.15 และร้อยละ 14.14 ตามลำตับ ตลาดส่งออกเนื้อไก่แปรรูปที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 47.87) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 26.01) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 13.29) และเกาหลี (ร้อยละ 5.04)

(3) ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้

ปี 2561 – 2565 ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.35 ต่อปี โดยในปี 2565 ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.75 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.87 บาท ของปี 2564 ร้อยละ 25.47 เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นทดแทนเนื้อสุกรประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนค่าอาหารสัตว์ และค่าพลังงาน

2) ราคาส่งออก

ปี 2561 – 2565 ราคาส่งออกไก่สดแช่เย็นแซ่แข็ง และราคาส่งออกเนื้อไก่แปรรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.53 และร้อยละ 1.50 ต่อปี ตามลำตับ โดยในปี 2565 ราคาส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 108.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.53 บาท ของปี 2564 ร้อยละ 45.18 และราคาส่งออกเนื้อไก่แปรรูปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133. 98 บาท ของปี 2564 ร้อยละ 12.84

2 แนวโน้ม ปี 2566

2.1 ของโลก

2.1.1 การผลิต

ปี 2566 คาดว่าการผลิตเนื้อไก่ของโลกจะมีปริมาน 102.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 100.93 ร้อยละ 1.79 การผลิตเนื้อไก่ของโลกขยายตัวตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกา บราซิล และสหภาพยุโรป ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น

2.1.2 การตลาด

(1) ความต้องการบริโภค

ปี 2566 คาดว่าการบริโภคเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 100.11 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 98.25 ล้านตัน ในปี 2565 ร้อยละ 1.89 ผู้บริโภครายใหญ่ที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีปริมาณการบริโภค 17.90 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ จีน 14.48 ล้านตัน สหภาพยุโรป 10.07 ล้านตัน และบราซิล 10.06 ล้านตัน โดยคาดว่าบราซิลมีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 2.81 เมื่อเทียบกับปี 2565

(2) การส่งออก

ปี 2566 คาดว่าการส่งออกเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 14.13 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 13.63 ล้านตัน ของปี 2565 ร้อยละ 3.70 ผู้ผลิตรายเดิม (บราซิล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป) ยังคงเป็นผู้ครองตลาด โดยบราซิลยังคงเป็นประเทศที่ส่งออกเนื้อไก่มากที่สุด คือ 4.80 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.63 ล้านตัน ของปี 2564 ร้อยละ 3.78 รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และไทย ตามลำดับ ซึ่งไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 4 ของโลก

(3) การนำเข้า

ปี 2566 คาดว่าการนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของโลกมีปริมาณ 11.49 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 11.01 ล้านตัน ของปี 2565 ร้อยละ 4.36 โดยญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่นำเข้าเนื้อไก่มากที่สุด คือ 1.12 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ เม็กซิโก 0.93 ล้านตัน สหราชอาณาจักร 0.88 ล้านตัน โดยแหล่งนำเข้าเนื้อไก่ที่สำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ บราซิลและไทย

2.2 ของไทย

2.2.1 การผลิต

ปี 2566 คาดว่าการผลิตไก่เนื้อของไทยยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร และความต้องการบริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าไทยจะผลิตไก่เนื้อ ปริมาณ 1,781.55 ล้านตัว หรือคิดเป็นเนื้อไก่ 2.85 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,771.99 ล้านตัว หรือคิดเป็นเนื้อไก่ 2.83 ล้านตัน ของปี 2565 ร้อยละ 0.54

2.2.2 การตลาด

(1) ความต้องการบริโภค

ปี 2566 คาดว่าการบริโภคเนื้อไก่ของไทยมีปริมาณ 1.89 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.88 ล้านตัน ของปี 2565 ร้อยละ 0.17 ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับเนื้อไก่เป็นอาหารโปรตีนที่มีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ โดยการบริโภคในประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.26 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด

(2) การส่งออก

การส่งออกเนื้อไก่ของไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นสอดรับกับปริมาณความต้องการบริโภคของตลาด โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน และสหภาพยุโรป ที่มีแนวโน้มนำเข้าเนื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ

โดยในปี 2566 คาดว่าการส่งออกเนื้อไก่รวมมีปริมาณ 960,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 948,000 ตันของปี 2565 ร้อยละ 1.27 โดยแบ่งเป็นการส่งออกไก่สดแช่เย็น แช่แข็งมีปริมาณ 397,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 391,500 ตัน ของปี 2565 ร้อยละ 1.40 และการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปมีปริมาณ 563,000 ตันเพิ่มขึ้นจาก 556,500 ตัน ของปี 2565 ร้อยละ 1.17

(3) ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้

ปี 2566 คาดว่าราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้จะสูงขึ้นจากปี 2565 เนื่องจากมีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

2) ราคาส่งออก

ปี 2566 คาดว่าราตาส่งออกเนื้อไก่สดแซ่เย็นแช่แข็งและเนื้อไก่แปรรูปจะลดลงเล็กน้อยจากปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราแลกเปลี่ยน

2.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการผลิตหรือการส่งออกของไทย

2.3.1 ปัจจัยด้านบวก

(1) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกทำให้ความต้องการบริโภคอาหารจากเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อไก่เป็นอาหารโปรตีนที่มีไขมันต่ำ รวมทั้งยังมีราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ

(2) การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลางซึ่งเป็นผลจากการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและซาอุดิอาระเบีย ทำให้ซาอุดิอาระเบียยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าไก่จากไทย รวมทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ยูเครน มีอุปสรรคในการส่งออกไก่ไปยัง EU จึงเป็นโอกาสในการส่งออกของไทย

(3) การดำเนินการเรื่อง Compartment และ Traceability สามารถสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพการผลิตเนื้อไก่ของไทยให้ประเทศคู่ค้ายอมรับ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการควบคุมป้องกัน และเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ที่เข้มงวด ทำให้ไทยไม่มีรายงานการพบโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 14 ปี นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้าย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 รวมทั้ง การที่ประเทศคู่ค้าของไทยได้รับรองมาตรฐานโรงงานแปรรูปและส่งออกไก่ของไทย จึงเป็นโอกาสให้ไทยสามารถส่งออกไก่ไปยังตลาดต่าง ๆ ได้มากขึ้น

2.3.2 ปัจจัยด้านลบ

(1) ประเทศไทยต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์สัตว์ วัตถุดิบ อาหารสัตว์ ยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนต้นทุนการผลิตไก่เนื้อของไทยโดยเปรียบเทียบสูงกว่าประเทศคู่แข่ง อาทิ บราซิล และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะต้นทุนด้านอาหารสัตว์

(2) ประเทศต่าง ๆ มีการนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) มาใช้มากขึ้น โดยนำประเด็นทางสังคมต่าง ๆ มากำหนดเป็นมาตรฐานทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งประเทศคู่ค้าอาจนำประเด็นดังกล่าวมาใช้กีดกันการค้าระหว่างกัน หากไทยไม่ได้มีการเตรียมการป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง ก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกเนื้อไก่ของไทยได้

(3) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของไทย หากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนจะส่งผลให้ความสามารถในแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งลดลง

ที่มา :  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

Login