หน้าแรกTrade insightทุเรียน > สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2566

สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2566

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 หน่วยงาน Enterprise Singapore (ESG) ได้ประกาศข้อมูลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ เดือนกันยายน 2566
โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร

ในเดือนกันยายน 2566 การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์ลดลง -12.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -15.5% ในเดือนก่อนหน้า) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกโดยรวมลดลงที่ 12.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -15.4% ในเดือนก่อนหน้า) และการนำเข้าโดยรวมลดลงที่-11.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -15.7% ในเดือนก่อนหน้า)

การส่งออก Non-oil Domestic Export (NODX)

ในเดือนกันยายน 2566 NODX ลดลงที่ -13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากลดลงที่ -22.5% ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการลดลงของการส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX และสินค้า Electronic NODX

การส่งออกสินค้า Electronic NODX

ในเดือนกันยายน 2566 การส่งออกสินค้า Electronic NODX ลดลงที่ -11.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -21.1% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่ ICs, PCs และ parts of PCs ลดลง -16.2%, -33.2% และ -38.9% ตามลำดับ

การส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX

ในเดือนกันยายน 2566 การส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX ลดลงที่ -13.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -22.9% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่ Non-Monetary Gold (-59.6%), Pharmaceuticals (-31.2%) และ Food Preparations (-40%)

ตลาดการส่งออก NODX

               ในเดือนกันยายน 2566 ตลาดส่งออก NODX 10 อันดับแรก ทั้งหมดลดลง ยกเว้นจีน ฮ่องกง และสหรัฐฯ โดยตลาดที่มีการลดลงมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน (-34.9%) อินโดนีเซีย (-45.2%) และมาเลเซีย (-19.8%)

การส่งออก Oil Domestic Exports

ในเดือนกันยายน 2566 การส่งออกน้ำมันในเชิงมูลค่าลดลงที่ -17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากลดลงที่ -24.7% ในเดือนก่อนหน้า

  • ประเทศคู่ค้าที่มีการส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่ ออสเตรเลีย (-37.7%) ฮ่องกง
    (-7%) และมาเลเซีย (-9.7%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • การส่งออกน้ำมันในเชิงปริมาณลดลงที่ -19.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากลดลงที่ -16.8% ในเดือนก่อนหน้า

การส่งออก Non-oil Re-Exports (NORX)

ในเดือนกันยายน 2566 การส่งออก Non-oil Re-Exports (NORX) ลดลงที่ -11.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -8.3% ในเดือนก่อนหน้า) โดยเป็นผลมาจากการลดลงของทั้งสินค้า Electronic NORX และสินค้า Non-Electronic NORX

การส่งออกสินค้า Electronic NORX

ในเดือนกันยายน 2566 การส่งออกสินค้า Electronic NORX ลดลงที่ -15.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ตามการลดลดงที่ -11.6% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่ส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่
Telecommunications Equipment (-10.2%)  ICs (-16.1%) และ PCs (-31%)

การส่งออกสินค้า Non-Electronic NORX

ในเดือนกันยายน 2566 การส่งออกสินค้า Non-Electronic NORX ลดลงที่ -7.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หลังจากลดลงที่ -4.4% ในเดือนก่อนหน้า) โดยสินค้าที่มีการส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่ Electrical Machinery (-39.1%), Non-Monetary Gold (-55.1%) and Personal Beauty Products
(-31%)

ตลาดการส่งออก NORX

ในเดือนกันยายน 2566 ตลาดส่งออก NORX 10 อันดับแรกลดลง โดยตลาดที่ลดลงมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เกาหลีใต้ (-28.9%) มาเลเซีย (-16.8%) และ ฮ่องกง (-8.6%)

การค้าระหว่างประเทศโดยรวมของสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2566 ลดลง -12.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (yoy) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกลดลง -12.7% และการนำเข้า -11.8% (yoy)  ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-oil Domestic Export: NODX) ของสิงคโปร์ลดลงที่
-13.2% (yoy) จากเดือนก่อนหน้าลดลงที่ -22.5% (yoy) ซึ่งการส่งออกสินค้า Non-Electronic NODX และสินค้า Electronic NODX ต่างลดลง ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของสิงคโปร์ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวเล็กน้อยของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก และอาจจะมีการฟื้นตัวในระยะกลางสำหรับสินค้ากลุ่มชิปที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์

สำหรับภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนกันยายน 2566 ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ระบุว่า การส่งออกในเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (888,666 ล้านบาท) ขยายตัว 2.1% การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน อาทิ ทุเรียน และมังคุด รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกาใต้และ อินโดนีเซีย สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นสินค้าที่เติบโตตามเมกะเทรนด์ เช่น โซลาเซลล์และโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโลกเดือนนี้ยังคงอยู่ในภาวะหดตัว การฟื้นตัวของตลาดหลัก ยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนาน ชะลออุปสงค์ทั่วโลก

ที่มา/ข้อมูลภาพ (Credit Photo) :

Enterprise Singapore –https://www.enterprisesg.gov.sg/-/media/esg/files/media-centre/media-releases/2023/october/mr04723_monthly-trade-report—sep-2023.pdf

StraitsTimes  – https://www.straitstimes.com/business/singapore-s-key-exports-fall-at-a-slower-pace-in-september-12th-straight-month-of-declines

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login