หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > ราคาถั่วแระญี่ปุ่น เพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40

ราคาถั่วแระญี่ปุ่น เพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40

ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย

—————————

ข้อเท็จจริง

พื้นที่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งการทำเกษตรกรรมแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ประสบปัญหาปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ราคาซื้อขายของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรบางชนิดสูงขึ้น ที่ตลาดขายส่งกลางโตเกียว ราคาขายส่งถั่วแระญี่ปุ่น ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมสูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง ร้อยละ 40 เนื่องจาก การเติบโตที่ไม่สู้ดีนัก ในจังหวัดนีกะตะ ซึ่งเป็นพื้นที่การผลิตถั่วแระญี่ปุ่นหลัก ส่งผลให้ผลิตผลที่เข้าสู่ตลาดมีจำนวนลดลงอย่างมาก โดยมีจำนวนต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่า ร้อยละ 30

ในบางพื้นที่ของจังหวัดนีกะตะ มีพื้นที่ที่ไม่มีฝนตกตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคม ผู้รับผิดชอบ สหกรณ์การเกษตร JA Niigata Kagayaki (เมืองนีกะตะ) กล่าวว่า เนื่องจากปริมาณของฝนที่ตกน้อย ส่งผลให้ต้นถั่วแระญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดน้ำ ใบเหลือง และแห้งตาย มีจำนวนเพิ่มขึ้น” เกษตรกรผู้เพาะปลูก ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องเก็บเกี่ยวก่อนที่ถั่วแระจะโตเต็มที่ และในหลายกรณี ถั่วแระญี่ปุ่น ก็ถูกทิ้งโดยไม่ได้ออกจำหน่าย  สู่ตลาด ในทางกลับกัน ในพื้นที่เพาะปลูกของจังหวัดอะคิตะที่ถูกฝนตกหนัก ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก็ได้รับผลกระทบ และส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถั่วแระญี่ปุ่นของอะคิตะก็มีน้อยลงเช่นกัน

นอกจากถั่วแระญี่ปุ่นแล้ว ผลิตผลทางการเกษตรรายการอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนที่ตกต่ำเช่นกัน ในจังหวัดอิวาเตะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งผลิตพริกหยวก ประสบกับปัญหาพืชผักเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ยิ่งไปกว่านั้น จังหวัดกุนมะ ยังพบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของมะเขือยาวที่ปลูกในจังหวัด ทำให้ผลผลิตลดลงเช่นกัน

ผลกระทบต่อสินค้าเกษตร มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะผ่านเดือนกันยายนไปแล้วก็ตาม (ฤดูกาลเพาะปลูก) จากข้อมูลของ สหกรณ์การเกษตร JA Zennoh Fukushima (ฟุกุชิมะ) เปิดเผยว่าบรอกโคลี ที่กำลังจะเริ่มปลูกนั้นต้องการความชื้นในดินให้เพียงพอสำหรับการงอก แต่หากยังตกอยู่ใน      สถาณการณ์เช่นนี้ กว่าเมล็ดจะงอกก็คงจะต้องใช้เวลานาน

ที่มา : https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUB18AOQ0Y3A810C2000000/

Login