หน้าแรกTrade insightข้าว > การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 เปิดทิศทางใหม่สำหรับการเกษตรในฮานอย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 เปิดทิศทางใหม่สำหรับการเกษตรในฮานอย

ภาคการเกษตรได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของฮานอย เพื่อใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ในการทำฟาร์ม ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เพิ่มคุณภาพผลผลิต ปกป้องสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นาง หวู ถิ เหวี่ยง (Vu Thi Huyen) ผู้อำนวยการสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ นาม เฟือง เตียน (Nam Phuong Tien) ในชุมชน นาม เฟือง เตียน (Nam Phuong Tien) ของอำเภอ เจืองหมี (Chuong My) กล่าวว่า ได้มีการปลูกข้าว ส้มโอ และผักอินทรีย์ในพื้นที่ 70 เฮกตาร์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพ จึงใช้อุตสาหกรรม 4.0 ในการจัดการและตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูก 20 เฮกตาร์ โดยระบุว่ามีการติดตั้งกล้องในทุ่งนา ในขณะที่ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับวันที่เพาะปลูกและการใส่ปุ๋ยจะถูกบันทึกไว้ในแอป e-diary Egap

นาง Nguyen Kim Loan รองประธานคณะกรรมการประชาชนเขต ทัด เถิ้ด (Thach That) กล่าวว่า ด้วยการสนับสนุนจากกรมวิชาการเกษตรและการพัฒนาชนบทของเมือง และบริษัท NICOTEX Hanoi JSC ในการเก็บเกี่ยวฤดูใบไม้ผลิปี 2566 เกษตรกรในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงโดรนแบบอากาศยานไร้คนขับที่สามารถหว่านเมล็ดพืชได้ ใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นยาฆ่าโรค โดยสังเกตได้ว่า การใช้โดรนทำให้เกษตรกรสามารถลดปริมาณยาฆ่าโรคได้ร้อยละ 20 -30 เมื่อเทียบกับการฉีดพ่นด้วยมือ ลดแรงงาน และประหยัดเวลา นอกจากนี้ยังไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับสารเหล่านั้น จึงช่วยลดการสัมผัสกับยาฆ่าแมลง พืชผลสามารถเติบโตและให้ผลผลิตมากขึ้น

นาง หวู ถิ เฮือง (Vu Thi Huong) ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเกษตรฮานอยกล่าวว่า ฮานอยมีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีการปลูกข้าวประมาณ 150,000 เฮกตาร์ในแต่ละปี ในขณะที่คนงานที่ทำการเกษตรกำลังลดลงเนื่องจากผู้คนจำนวนมากได้ย้ายไปทำงานในภาคส่วนอื่นๆ ทำให้มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่ในภาคท้องถิ่นจึงได้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 เช่น เครื่องเพาะปลูกและโดรนฉีดพ่นยาฆ่าโรคแอปพลิเคชันดังกล่าวช่วยให้เกษตรกรและสหกรณ์จัดการไร่นาของตน ปฏิบัติตามข้อกำหนดการติดตามแหล่งกำเนิด และสร้างรหัสการผลิต ซึ่งจะเป็นการเปิดทิศทางการพัฒนาใหม่สำหรับการเกษตรของฮานอย

นาย เหงียน วัน แหมน (Nguyen Van Manh) ผู้อำนวยการสหกรณ์การเกษตร Phu Thang ในชุมชน ดาย ทั้ง (Dai Thang) ของอำเภอ Phu Xuyen แนะนำว่า ในอนาคต เจ้าหน้าที่ควรเปิดหลักสูตรฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์จากความสำเร็จของอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้จะให้เงินกู้แบบมีเงื่อนไขสำหรับสหกรณ์เพื่อนำเทคโนโลยีไปใช้ในทุกขั้นตอนของการผลิตพืชไร่และห่วงโซ่อุปทาน

ฮานอยตั้งเป้าว่าผลิตภัณฑ์การเกษตรไฮเทคจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของผลผลิตฟาร์มท้องถิ่นทั้งหมดภายในปี 2568 นอกจากนี้ยังจะส่งเสริมการเข้าถึงและเชี่ยวชาญเทคโนโลยีขั้นสูงที่เหมาะสมบางอย่างในการผลิตเมล็ดพันธุ์ การทำฟาร์ม การแปรรูป และการจัดการการผลิต

นาย เหงียน แหมน เฟือง (Nguyen Manh Phuong) รองผู้อำนวยการกรมการเกษตรและพัฒนาชนบทเทศบาลกล่าวว่า กรมจะเสนอโครงการออกแบบการบริหารฮานอยเพื่อช่วยเกษตรกรใช้เครื่องจักรกลงานฟาร์มและใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 กับการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพ และความสามารถในการแข่งขัน

                                         (จาก https://vietnamnews.vn/)

ข้อคิดเห็น สคต

การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการผลิต ไม่เพียงแต่ประหยัดเวลาและต้นทุน ลดจำนวนพนักงาน แต่ยังปรับปรุงผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วย ดังนั้น ฮานอยจึงมุ่งมั่นภายในปี 2568 สัดส่วนของสินค้าเกษตรที่มีเทคโนโลยีสูงจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของสินค้าเกษตรทั้งหมดของเมือง นอกจากนั้น การส่งเสริมการเข้าถึงและการเรียนรู้เทคโนโลยีชั้นสูงที่สามารถนำไปใช้กับเงื่อนไขต่างๆ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ การเพาะปลูก และการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และการประยุกต์ในการจัดการการผลิตตามห่วงโซ่คุณค่าได้ เพื่อพัฒนาโครงการสนับสนุนเกษตรกรในการลงทุนด้านเครื่องจักรและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4.0 ในด้านการเกษตร การผลิตทางการเกษตรโดยมีเป้าหมายเพื่อการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีผลผลิตที่ดี คุณภาพ และความสามารถในการแข่งขันสูง เมืองฮานอยจำเป็นต้องส่งเสริมแนวทางให้ประชาชนเข้าใจและมีส่วนร่วมในรูปแบบการผลิตทางการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยี 4.0 นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรตามการวางแผน สร้างพื้นที่การผลิตขนาดใหญ่ สร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4.0 ในเมือง รวมทั้งจำเป็นต้องเพิ่มการสื่อสารและคำแนะนำเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเกษตรแบบไฮเทค พัฒนาการเกษตรให้สอดคล้องกับแผนการแบ่งเขต และจัดตั้งเขตเกษตรกรรมขนาดใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login