หน้าแรกTrade insightข้าว > การขาดดุลการค้าของโมซัมบิกลดลง 86.7% ใน 9 เดือน ของปี 2566

การขาดดุลการค้าของโมซัมบิกลดลง 86.7% ใน 9 เดือน ของปี 2566

การขาดดุลการค้าในโมซัมบิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 86.7% เหลือ 634.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566  เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากการนำเข้าลดลง ตามที่เปิดเผยโดยข้อมูลจากธนาคารกลางแห่งโมซัมบิก เมื่อต้นปี 2567

ในรายงานดุลการค้าล่าสุด ธนาคารแห่งโมซัมบิก พบว่าการนำเข้าสินค้าที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด  โดยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2565 โมซัมบิกมีการขาดดุลการค้า 4.777 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรียเทียบกับ ในช่วงเดียวกันของปี 2566 มีการขาดดุลการค้าเพียง 634.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

                  การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของ ปี 2566 ของโมซัมบิกลดลง 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน(เหลือ 5,935 ล้านดอลลาร์หสรัฐ)  ในขณะที่การนำเข้าทั้งหมดลดลง 39.6% (ลดลงจาก 10,885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 6,569 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

         ภาคพลังงานยังคงเป็นส่วนสำคัญในการส่งออกของโมซัมบิก โดยก๊าซธรรมชาติสร้างรายได้ 501 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 100% เมื่อเทียบเวลาเดียวกันของปีก่อน) นอกจากนี้ การขายไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านคิดเป็นมูลค่า 209.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

        จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของโมซัมบิก โดยคิดเป็น 16.6% ของการส่งออกทั้งหมดของโมซัมบิก (มูลค่า 369 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยส่วนใหญ่มาจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ตามมาด้วยอินเดีย(คิดเป็น 15.3% มูลค่า 340 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)  และแอฟริกาใต้ (คิดเป็น 14% มูลค่า 311.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

 ความเห็นสคต. ปี 2564 – 2565 ไทยได้ดุลการค้ากับโมซัมบิก อย่างไรก็ตาม ปี 2566 (ม.ค.  – พ.ย.) ไทยเสียดุลการค้า มูลค่า 294.42 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ  แต่โดยภาพรวมพบว่า ปี 2566 (ม.ค.  – พ.ย.) ไทยส่งออกไปยังโมซัมบิก เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 (เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน)  ในขณะที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 300 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน)  ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยที่มูลค่าสูง อาทิ ข้าว รถยนต์ ผ้าผืน  สำหรับสินค้านำเข้าจากโมซัมบิกที่มูลค่าสูง อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน อัญมณี  ขณะนี้มีแนวโน้มว่าภาวะเศรษฐกิจของโมซัมบิกเริ่มดีขึ้นโดยลำดับ โดยกลุ่มธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (African Development Bank Group) คาดการณว่าการขยายตัวของ GDP ปี 2567 ของโมวัมบิกประมาณ 8.5 % ( ดีกว่า GDPปี 2566 ขยายตัวประมาณ 4.8 %) โดยการขยายตัวดังกล่าวขับเคลื่อนหลักจากภาคอุตสาหกรรม เกษตร และ การเงิน จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยที่ต้องการขยายสินค้าไทยมายังตลาดนี้

                                                                               

 

ที่มา :  www.furtherafrica.com

มกราคม 2567

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพริทอเรีย

อ่านข่าวฉบับเต็ม : การขาดดุลการค้าของโมซัมบิกลดลง 86.7% ใน 9 เดือน ของปี 2566

Login