แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งนครเฉิงตู ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 ได้รับการอนุมัติในการประชุม การประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนครั้งที่ 5 ชุดที่ 17 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งแผนนี้ได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 19 ดำเนินการตามแนวคิดสังคมนิยมจีนในยุคใหม่ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีนให้มีความสามารถในการแข่งขันและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านที่สำคัญ คือ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ แผนฉบับนี้ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของนครเฉิงตูในช่วงระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-2568 ไว้ดังนี้
1) ภายในปี พ.ศ. 2568 จะสร้างอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเศรษฐกิจใหม่ที่มีความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ และพัฒนาเป็นฐานการผลิตเศรษฐกิจใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในระดับโลก
2) เศรษฐกิจใหม่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รายได้จากเศรษฐกิจใหม่จะมีมูลค่าสูงถึง 2.5 ล้านล้านหยวน และมูลค่าเพิ่มจากเศรษฐกิจใหม่จะคิดเป็นสัดส่วนของ GDP ในอัตราร้อยละ 30 ขึ้นไป
3) จำนวนผู้ประกอบการในตลาดเศรษฐกิจใหม่จะเพิ่มขึ้นสูงถึง 6 แสนราย
4) เสริมสร้างแหล่งกำเนิดนวัตกรรม โดยพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญและจำเป็นบางประการ และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 3 อันดับแรกของประเทศ
5) สร้างเมืองนำร่องชั้นนำแห่งชาติ โดยเปิดตัว 300 แห่งในเขตเมืองในสาขาต่าง ๆ อาทิ ระบบการผลิตอัจฉริยะ สภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ และการจัดการอัจฉริยะ นอกจากนี้ ยังสร้างเขตนวัตกรรมการพัฒนาเมืองนำร่องกว่าอีก 30 แห่ง เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานในการมีส่วนร่วมของสังคมโดยรวม
* เศรษฐกิจใหม่ ประกอบด้วย การพัฒนาเศรษฐกิจ การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การเปิดกว้าง ระบบนิเวศน์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการปล่อยมลพิษจากแหล่งต่าง ๆ ความสุขและสวัสดิการของประชาชน และการรับประกันความปลอดภัย
ประเภท | ลำ
ดับ |
ดัชนี | ค่าที่คาดการณ์ในปี 2563 | เป้าหมายปี 2568 | อนาคตในอีก 5 ปี | ประเภท | ||
การพัฒนา
เศรษฐกิจ |
1 | ผลิตภัณฑ์มวลรวมในพื้นที่ (GDP) | ขนาด (ล้านล้านหยวน) | 1.77 | 2.6-2.8 | – | คาดการณ์ | |
อัตราเติบโต (%) | 7.1Δ | – | 6.0-8.0Δ | คาดการณ์ | ||||
2 | อัตราการเติบโตของผลผลิตต่อแรงงานทั้งหมด (%) | 2 | – | สูงกว่าการเติบโต
ของ GDP |
คาดการณ์ | |||
3 | อัตราการของประชากรที่อาศัยอยู่เป็นประจำ (%) | 75.21 | 80 | – | คาดการณ์ | |||
4 | GDP ต่อหัวประชากร (หมื่นหยวน/คน) | 10.42 | 13.7-14.7 | – | คาดการณ์ | |||
5 | ยอดรวมของมูลค่าการขายสินค้าอุปโภคบริโภคให้กับบุคคลทั่วไป (ร้อยล้านหยวน) | 8118.5 | 11000 | – | คาดการณ์ | |||
การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม | 6 | การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของสังคมโดยรวม (%) | 10 | – | 8Δ | คาดการณ์ | ||
7 | จำนวนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มีมูลค่าสูงต่อหัว
ประชากร (ชิ้น) |
12 | 18 | – | คาดการณ์ | |||
8 | อัตราส่วนระหว่างมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม
ดิจิทัลหลักต่อ GDP (%) |
– | สูงกว่าค่าเฉลี่ย
ของประเทศ |
– | คาดการณ์ | |||
9 | อัตราส่วนของเทคโนโลยีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม (%) | 67 | 68 | – | คาดการณ์ | |||
การเปิดกว้าง | 10 | มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ (นำเข้าและส่งออก) ต่อปี (%) | 23.9Δ | – | >5Δ* | คาดการณ์ | ||
11 | อัตราการเติบโตเฉลี่ยของการลงทุนจากต่างประเทศ
ที่แท้จริง (%) |
10Δ | – | 5Δ | คาดการณ์ | |||
12 | ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ (หมื่นตัน) | 61.9 | 100 | – | คาดการณ์ | |||
13 | ปริมาณผู้โดยสารเครื่องบิน (หมื่นคน) | 4074 | 8000 | – | คาดการณ์ | |||
ระบบ
นิเวศน์ที่เป็น มิตรต่อ สิ่งแวดล้อม |
14 | การลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยGDP (%) | บรรลุเป้าหมายตามที่
รัฐบาลท้องถิ่นกำหนด |
บรรลุเป้าหมาย
ตามที่รัฐบาล ท้องถิ่นกำหนด |
– | บังคับ | ||
15 | การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วย GDP (%) | บรรลุเป้าหมายตามที่
รัฐบาลท้องถิ่นกำหนด |
บรรลุเป้าหมาย
ตามที่รัฐบาล ท้องถิ่นกำหนด |
– | บังคับ | |||
16 | อัตราส่วนของวันที่มีคุณภาพอากาศดีในเมือง (%) | 76.5 | บรรลุเป้าหมาย
ตามที่รัฐบาล ท้องถิ่นกำหนด |
– | บังคับ | |||
17 | สัดส่วนของน้ำผิวดินที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับหรือ
ดีกว่าน้ำผิวดินประเภท III (%) |
บรรลุเป้าหมายตามที่
รัฐบาลท้องถิ่นกำหนด |
บรรลุเป้าหมาย
ตามที่รัฐบาล ท้องถิ่นกำหนด |
– | บังคับ | |||
18 | อัตราส่วนพื้นที่ป่า (%) | 40.2 | 41 | – | บังคับ | |||
19 | การลดปริมาณ
การปล่อยมลพิษจากแหล่งต่าง ๆ |
ลดการปล่อยแอมโมเนียและไนโตรเจน (%) | บรรลุเป้าหมายตามที่
รัฐบาลท้องถิ่นกำหนด |
บรรลุเป้าหมาย
ตามที่รัฐบาล ท้องถิ่นกำหนด |
– | บังคับ | ||
ลดการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ (%) |
บรรลุเป้าหมายตามที่
รัฐบาลท้องถิ่นกำหนด |
บรรลุเป้าหมาย
ตามที่รัฐบาล ท้องถิ่นกำหนด |
||||||
ความสุขและ
สวัสดิการของประชาชน |
20 | รายได้ประชากร | การเติบโตของรายได้ต่อหัวของ
ประชากร (%) |
6.5 | – | อัตราการเติบโต
ใกล้เคียงกับ GDP |
คาดการณ์ | |
การเติบโตของรายได้ต่อหัวของ
ประชากรที่อาศัยในเมือง (%) |
5.9 | – | ไม่ต่ำกว่าอัตราการ
เติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีของ GDP |
|||||
การเติบโตของรายได้ต่อหัวของ
ประชากรที่อาศัยในชนบท (%) |
8.5 | – | สูงกว่าอัตราการ
เติบโตโดยเฉลี่ยของ GDP |
|||||
21 | ผลสำรวจอัตราการว่างงาน (%) | – | 5 โดยประมาณ | – | คาดการณ์ | |||
22 | อายุเฉลี่ยของประชากรวัยแรงงานที่ได้รับการศึกษา (ปี) | 11.5 | 12 | – | ความผูกผัน | |||
23 | อัตราส่วนแพทย์และพยาบาลต่อประชากร 1000 คน (คน) | 4.26 | 4.5 | – | คาดการณ์ | |||
24 | อัตราการการได้รับประกันสังคมขั้นพื้นฐาน (%) | 94 | 95 | – | คาดการณ์ | |||
25 | จำนวนสถานที่รับดูแลเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ต่อจำนวนประชากร 1000 คน | 2.19 | 8 | – | คาดการณ์ | |||
26 | อายุขัยเฉลี่ย (ปี) | 81.52 | 82.42 | – | คาดการณ์ | |||
การรับประกันความปลอดภัย | 27 | ความมั่นคงทาง
อาหาร |
ความสามารถในการผลิตข้าวและ
ธัญพืชโดยรวม (หมื่นตัน) |
225 | 225 โดยประมาณ | – | บังคับ | |
ปริมาณการสำรองข้าวและ
ธัญพืช (หมื่นตัน) |
52.61 | 65 โดยประมาณ | – | |||||
28 | ความสามารถในการผลิตพลังงานโดยรวม
(ล้านตันถ่านหินมาตรฐาน (standard coal)) |
182.93 | 650 โดยประมาณ | – | บังคับ | |||
หมายเหตุ: “Δ”ข้อมูลที่มีเครื่องหมายแสดงถึงอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (สะสม) , ถ้าไม่มีเครื่องหมายแสดงถึงอัตราการเติบโตในปีนั้น ๆ ;
“*”ข้อมูลที่มีเครื่องหมายแสดงถึงกำหนดค่าตามเกณฑ์การจัดทำสถิติใหม่ของประเทศ |
||||||||
ตารางที่ 1 ตัวชี้วัดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งนครเฉิงตู ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 แหล่งที่มา : https://m.thepaper.cn/baijiahao_11819867 |
ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม แผนฉบับนี้ได้กำหนดเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมของนครเฉิงตูภายในปี 2568 ดังต่อไปนี้
1) ขนาดของอุตสาหกรรมคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 26 ของ GDP โดยจะสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมมูลค่าล้านล้านหยวน 2 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรมเทคโนโลนีสารสนเทศ Equipment Manufacturing Industry และอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามากกว่าพันล้านหยวนจำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ แผนวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์อัจฉริยะ ซอฟต์แวร์ระดับสูง การผลิตรถยนต์ การขนส่งทางราง การบินและอวกาศ การแพทย์และชีวภาพ อาหารสีเขียว วัสดุใหม่ และอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
2) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปี 2563
3) รายได้รวมของ 5 อุตสาหกรรมการผลิตชั้นนำ (กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุเคมีใหม่ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมสมาร์ทโฮม) จะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 85 และรายได้จากอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูงคิดเป็นร้อยละ 42 ของขนาดอุตสาหกรรม
4) การพัฒนาสีเขียวของจีนในยุคใหม่ จะทำให้การใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิตและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงอย่างต่อเนื่อง รักษาระดับความเป็นผู้นำในประเทศ
5) อุตสาหกรรมระบบการผลิตอัจฉริยะจะมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 60
6) ขนาดของกลุ่มอุตสาหกรรมหลักทั้งห้าจะทะลุ 4 ล้านล้านหยวน โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
– อุตสาหกรรมเทคโนโลนีสารสนเทศ จะมีรายได้ทะลุ 1.5 ล้านล้านหยวน สร้างฐานสำคัญของวงจรรวมระดับโลกและเป็นศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะระดับนานาชาติ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมวิดีโอคมชัดสูง และศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระดับโลก
– Equipment Manufacturing Industry ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต อาทิ อุปกรณ์การบินและการขนส่งทางรางให้มีความสามารถแข่งขันในระดับสากล สร้างอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงานสะอาด เช่น พลังงานน้ำเเละพลังงานเเสงอาทิตย์ โดยตั้งเป้าหมายว่ารายได้จากการดำเนินการจะทะลุหนึ่งล้านล้านหยวน และก้าวสู่ระดับโลก
– อุตสาหกรรมทางการแพทย์ จะมุ่งเน้นไปที่ 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านยาชีวภาพ การบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ และการขายยา สร้างเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมการผลิตยาชีวภาพระดับนานาชาติ ศูนย์กลางบริการด้านการแพทย์และสุขภาพระดับนานาชาติ และเครือข่ายโลจิสติกส์สากล โดยตั้งเป้าหมายว่ารายได้จากการดำเนินการจะทะลุ 8 แสนล้านหยวน
– อุตสาหกรรมวัสดุใหม่ โดยตั้งเป้าหมายว่ารายได้จากการประกอบธุรกิจจะทะลุ 2.5 แสนล้านหยวน และจะสร้างให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมวัสดุใหม่ระดับนานาชาติชั้นนำ ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
– อุตสาหกรรมอาหารสีเขียว จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา 4 ด้านหลัก ได้แก่ อาหารเสฉวนและเครื่องปรุงรส เหล้าชั้นเลิศ อาหารว่าง และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยตั้งเป้าหมายว่ารายได้จากการดำเนินการจะทะลุ 4 แสนล้านหยวน และสร้างเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสีเขียวระดับชาติ
ข้อมูลเพิ่มเติม/ผลกระทบ/ความเห็นของ สคต.
จากข้อมูลสำนักงานสถิตินครเฉิงตู พบว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 3 ไตรมาสแรก ของปี 2566 มีการเติบโตของ GDP สูงถึง 1.61 ล้านล้านหยวน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 6.7 และเมื่อพิจารณาเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งนครเฉิงตู ที่คาดการณ์ไว้ในระดับ 2.6-2.8 ล้านล้านหยวน มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง นั่นจะทำให้นครเฉิงตูจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และจะเป็นฐานการผลิตในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพของจีนในอนาคต
————————————————–
แหล่งข้อมูล :
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1732340629576141193&wfr=spider&for=pc
https://cddrc.chengdu.gov.cn/cdfgw/ztlm039006/2021-05/08/81bc24a93ab44fd790ceedd68f3b6513/files/212088ab66624e8985ce7fcbe17a8ca1.pdf
https://m.thepaper.cn/baijiahao_11819867
https://www.sohu.com/a/515525639_121258690
https://www.sohu.com/na/462823417_116237
แปลและเรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู
อ่านข่าวฉบับเต็ม : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งนครเฉิงตู ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2564 – 2568)