หน้าแรกTrade insightข้าว > เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอาหารไทยในจีน

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอาหารไทยในจีน

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อนใกล้ทะเล จึงมีสภาพอากาศร้อน มีฝนตกชุก แสงแดด อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ ทำให้ผักใบเขียว อาหารทะเล และผลไม้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ในด้านการปรุงอาหาร คนไทยชอบอาหารรสจัดเน้นเผ็ด เปรี้ยว อีกทั้งยังใส่ใจในเครื่องปรุงรส โดยมักจะเติมสมุนไพรไทยอาทิ พริก ใบโหระพา กระเทียม ผักชี ขมิ้น พริกไทย ตะไคร้ มะพร้าว รวมถึงเครื่องเทศอื่นๆอีกด้วย เนื่องจากมีวัตถุดิบสดใหม่และวิธีการปรุงอันเป็นเอกลักษณ์ทำให้เกิดอาหารไทยที่มีสีสัน และเข้มข้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจสังคมจีนได้มีการปรับปรุงระดับการบริโภคของผู้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ความต้องการด้านอาหารของผู้คนจึงต้องการความหลากหลายมากขึ้น อาหารไทยซึ่งเป็นตัวแทนสำคัญของอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นที่ชื่นชอบทั่วโลก

ที่มาของรูปhttps://bpic.588ku.com//back_origin_min_pic/19/12/16/b9568ea78275687e8e43251acb2fe006.jpg!/fw/750/quality/99/unsharp/true/compress/true/750/quality/99/unsharp/true/compress/true

อาหารไทยประกอบด้วยอาหารหลัก 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของไทยในท้องถิ่น เช่น ต้มยำ ต้มข่าไก่มะพราวอ่อน แกงไตปลา ไก่แกงเขียวหวาน ข้าวเหนียวมะม่วง ฯลฯ แต่ก็ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารไทย ข้อมูลของ iiMedia แสดงให้เห็นว่าชาวเน็ตจีนที่มีความชื่นชอบต่ออาหารไทยในปี 2565 ผู้บริโภคร้อยละ 66.67เลือกชอบทานอาหารไทยมาก ผู้บริโภคร้อยละ 31.26 เลือกทานอาหารไทยได้ไม่ถึงกับชอบมาก และมีผู้บริโภคเพียงร้อยละ 2.07 เท่านั้นที่จะเลือกไม่ชอบทาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าชาวเน็ตส่วนใหญ่ยอมรับในอาหารไทยเป็นจำนวนมาก

ที่มาของรูป https://img.iimedia.cn/10001ab80544debe2c4e990cb547b09b4cc44b5184ecc503a36bb2c26bb9289bd376f

ความนิยมของอาหารไทยนั้นไม่สามารถหนีจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ต เนื่องด้วยปัจจุบันการโปรโมต KOL อย่างมากมาย ตลอดจนคำแนะนำและการแบ่งปันของชาวเน็ตสามารถเห็นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการถ่ายทอดการรับประทานอาหารหรือแม้กระทั่งการสำรวจร้านอาหาร กลายเป็นเนื้อหาสำคัญบนแพลตฟอร์มโซเชียลหลัก ๆ ส่วนใหญ่คนยุค 90-00 (GEN-Z) ได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต

ที่มาของรูป https://v.douyin.com/i8rTfJ4k/

 ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นต่างๆในจีน อาทิ เสี่ยวหงส์ซูว์ (小红书) ใช้สำหรับแนะนำและแบ่งปันสถานที่ท่องเที่ยว อาหารและแฟชั่น เว่ยป๋อ (微博) ใช้สำหรับเขียนโมเม้นต์ส่วนตัวหรือแชร์ปนระสบการณ์ดีๆ ไคว่โซว่ (快手) และโตว่ยิน (抖音) ใช้สำหรับลงคลิปสั้นที่กำลังดังในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

 

ข้อคิดเห็น สคต.เซี่ยงไฮ้

ถ้าพิจารณาจากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าอาหารไทยได้เข้าถึงตลาดผู้บริโภคชาวจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โลกโซเชียลได้มีการแชร์ข้อมูลมากมายจากบุคคลทั่วไปหรือ KOL ของจีนดังๆ ไม่ว่าการแนะนำร้านอาหาร เมนูยอดฮิต รวมไปถึงวิดีโอวิธีการทำอาหารไทย นั้นอาจส่งผลดีต่อการจำหน่ายสินค้าไทยที่มีคุณภาพหรือเครื่องปรุงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเมนูหลากหลากที่ชาวจีนสนใจหรือนิยมชื่นชอบและอยากทดลองทำด้วยตัวเอง การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในจีน เพื่อวางกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทยนั้น อาจจะต้องให้ผู้ประกอบการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้เพื่อประยุกต์กับธุรกิจกันต่อไป

จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้

แหล่งที่มา 

https://www.iimedia.cn/c1077/95291.html

 

อ่านข่าวฉบับเต็ม : เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอาหารไทยในจีน

Login