หน้าแรกTrade insightอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล > อุตสาหกรรมเกมของจีน ในช่วงครึ่งปีแรก 2566

อุตสาหกรรมเกมของจีน ในช่วงครึ่งปีแรก 2566

รายงานจากการประชุม China Digital Entertainment Industry Conference ที่ขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ในหัวข้อการประชุมอุตสาหกรรมความบันเทิงดิจิทัลระดับนานาชาติชองจีน (CDEC) ซึ่งมีการรายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมเกมของจีนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 โดยเกมที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรม จีนจึงให้ความสำคัญ ปรับปรุง และพัฒนาอุตสาหกรรมเกมหลายด้านอย่างต่อเนื่อง อาทิ นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การเผยแพร่วัฒธรรมผ่านเกม การปกป้องเยาวชน ความปลอดภัยของผู้ใช้ รวมไปถึงการขยายตลาดเกมไปยังต่างประเทศ เป็นต้น โดยตลาดเกมในประเทศมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

ในช่วงครึ่งปีแรก 2566 รายได้จาการขายจริงของตลาดเกมของจีนอยู่ที่ 144,263 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 2.39 YoY แต่เมื่อเทียบเป็นรายเดือนมีอัตราเติบโตร้อยละ 22.2 ซึ่งเป็นสัญญาณที่นำไปสู่การเติบโตในอนาคต ในด้านของผู้บริโภค โดยในช่วงครึ่งปีแรก 2566  มีจำนวนผู้เล่นเกมในประเทศ 668 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 YoY ปัจจุบัน การเติบโตของผู้ใช้เกมในจีนยังคงชะลอตัว อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากการแข่งขันในตลาดเกมที่รุนแรงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 การบริโภคเกมจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

 

ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเกมในประเทศได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย  ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการตลาดส่งผลให้ช่วงครึ่งปีแรก 2566 รายได้จากการขายเกมที่พัฒนาเองของจีนในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ 8,206 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.72 YoY โดยตลาดเป้าหลายหลักของอุตสาหกรรมเกมจีนในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.77 ของตลาดต่างประเทศทั้งหมด รองลงมีคือ ญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.65 และ เกาหลีใต้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.50 ในขณะเดียวกัน ตลาดต่างประเทศอย่างเยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศสมีสัดส่วนรวมกันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10

 

ในด้านของตลาดเกมมือถือ ในช่วงครึ่งปีแรก 2566 รายได้จากการขายเกมมือถือในประเทศอยู่ที่ 106,705 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 3.41 YoY แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 29.2 เพิ่มขึ้นมากกว่า 24,000 ล้านหยวน ซึ่งรายได้จากเกมมือถือคิดเป็นร้อยละ 73.97 ของประเภทเกมทั้งหมด จะเห็นได้ว่าตลาดเกมมือถือมีการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเภทเกมที่สร้างรายได้สูงสุด คือ เกม ประเภท MOBA คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.72 ของรายได้จากเกมทั้งหมด รองลงมา เกมประเภท FPS First (Person Shooter) คิดเป็นร้อยละ 16.37 และ เกมประเภทสวมบทบาท คิดเป็นร้อยละ 13.57

 

 

ในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้แรงกดดันจากรอบด้าน ทำให้สัดส่วนของตลาดเกมมือถือแบบ APP เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้นักพัฒนาเริ่มมองหาวิธีและช่องทางในการพัฒนาเกมเพิ่มมากขึ้น โดยนักพัฒนาได้เล็งเห็นว่า แพลตฟอร์ม Tiktok จีน มีระบบนิเวศน์ของผู้ใช้ที่ครอบคลุม และการแพร่การจายอย่างรวดเร็ว จึงทำให้นักพัฒนาเกมจำนวนมากเข้ามาสร้างและพัฒนาเกมบน Tiktok Mini Program กันมากขึ้น ตัวอย่าง เกมมินิโปรเกรมที่ได้รับความนิยมเมื่อปีที่ผ่านมาอย่าง “Sheep Got a Sheep” ที่กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมเล่นจำนวนมาก สร้างชาเลนจ์ในการเล่น และมียอดผู้เข้าชมหลายร้อยล้านครั้ง เกิดเป็นกระแส # Sheep Got a Sheep ที่มียอดผู้ค้นหาหัวข้อเกมดังกล่าวกว่า 10,000 ล้านครั้ง ส่งผลให้ยอดการดาวน์โหลดเกมพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเกมที่มีความคิดสร้างสรรค์อีกหลากหลายที่ถูกพัฒนาขึ้นให้เล่นบนแพลตฟอร์ม ได้ดึงดูดจำนวนผู้เล่นเกมบนเพลตฟอร์ม Tiktok Mini Program มากกว่า 169,000 ล้านครั้ง

 

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : อุตสาหกรรมเกม เป็นหนึ่งใน 11 อุตสาหกรรม soft power เนื่องจากมีความสามารถในการผลักดันหรือมีอิทธิพลในด้านต่าง ๆ ของวัฒนธรรมและสังคม เกมประเภท MOBA, ประเภท Competitive Tactics และเกมยิงปืน ซึ่งเป็นเกมที่ผู้เล่นชาวจีนนิยม ผู้ผลิตสามารถสอดแทรกวัฒนธรรม เสน่ห์ความเป็นไทย เช่น ฉากของเกมเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมหรือสถานที่ยอดฮิตตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย หรือเพิ่มเติมฉากศิลปะ และตกแต่งสถานที่ในเกมให้มีลวดลายศิลปะที่บ่งบอกความเป็นไทย ที่จะเป็นอีกช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการไทยที่จะสามารถดึงดูดผู้เล่นเกมชาวจีน อันจะนำไปสู่การสร้างการรับรู้และกระตุ้นความต้องการในการบริโภคสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น

 

                       ที่มา:

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1772929909273598087&wfr=spider&for=pc

https://new.qq.com/rain/a/20230927A0AQJN00

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

3 พฤศจิกายน 2566

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login