หน้าแรกTrade insightข้าว > ความพยายามของเวียดนามสำหรับการพัฒนาการสร้างนาข้าวอย่างยั่งยืนในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

ความพยายามของเวียดนามสำหรับการพัฒนาการสร้างนาข้าวอย่างยั่งยืนในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

ภาคเกษตรกรรมของเวียดนามเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการผลิตข้าวคุณภาพสูง ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมข้าว

นาย เล แถ่ง ตุง (Le Thanh Tung) รองผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตพืชภายใต้กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทกล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติ เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการในการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 1            ล้านเฮกตาร์ ของการผลิตข้าวคุณภาพสูง ร่วมกับการเติบโตสีเขียวในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงภายในปี 2573

ในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของเวียดนาม สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงไม่เพียงแต่ช่วยรองรับความมั่นคงทางอาหารระดับชาติ แต่ยังมีส่วนสำคัญต่อการส่งออกข้าวอีกด้วย

โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นในท่ามกลางภาคเกษตรกรรมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยได้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาของรัฐบาลเลขที่ 120/NQ-CP ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง อย่างไรตามประสิทธิภาพการผลิต รายได้ของเกษตรกร คุณภาพและความสามารถในการแข่งขันของข้าวส่งออกยังคงอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่การเพาะปลูกข้าวจะยังไม่สามารถยั่งยืนได้ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โครงการนี้ตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนการผลิตลงร้อยละ 20 (เทียบเท่ากับ 9.5 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือ 389.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และเพิ่มราคาข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับข้าวอื่นๆ ด้วยราคาเฉลี่ย 5.1 ล้านด่ง ต่อตัน การเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของราคาจะช่วยเพิ่มรายได้ต่อปีจาก 1 ล้านเฮกตาร์ 7 ล้านล้านด่ง เป็นมากกว่า 16 ล้านล้านด่ง    อย่างไรก็ตาม มีปัญหาอย่างมากในการดำเนินโครงการ และหนึ่งในความท้าทายคือการดึงดูดการลงทุน

ภาคเกษตรเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตั้งแต่สหกรณ์และผู้ประกอบการไปจนถึงหน่วยงานระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อระดมทรัพยากรทั้งหมดในสังคม รวมถึงประสบการณ์ เทคนิค และการเงิน เพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมข้าว

นาย เจิ่น แท็ง นาม (Tran Thanh Nam) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทกล่าวว่า การจัดตั้งเขตเฉพาะสำหรับข้าวที่มีคุณภาพสูงในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นโครงการที่มีการพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่การผลิตข้าว เพิ่มรายได้ของเกษตรกร มีส่วนทำให้เกิดการเติบโตสีเขียว และตระหนักถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่ทำขึ้นในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 26 การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) รวมถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

โครงการนี้จะช่วยให้การผลิตในเขตปลูกข้าวคุณภาพสูงได้รับการจัดระเบียบใหม่ในห่วงโซ่คุณค่าที่เชื่อมโยงเกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการที่ผลิตวัตถุดิบ และบริษัทจัดซื้อข้าวได้ดียิ่งขึ้น เป็นผลให้เกษตรกรไม่เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากมูลค่าเพิ่มของข้าวเท่านั้น แต่ยังสร้างกระบวนการเพาะปลูกที่ยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประหยัดทรัพยากร รวมถึงเพิ่มมูลค่าของแบรนด์ข้าวเวียดนามในตลาด

ข้อคิดเห็น สคต

สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นภูมิภาคทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีศักยภาพและข้อได้เปรียบในการพัฒนาอย่างมาก เป็นภูมิภาคเศรษฐกิจมีส่วนช่วยประมาณร้อยละ 50 ของผลผลิตข้าว ร้อยละ 95 ของการส่งออกข้าว สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีส่วนสนับสนุน GDP ทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 31.37 ของ GDP ทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา การพัฒนาของภูมิภาคยังมีความท้าทายหลายประการ รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในช่วงที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นนำไปสู่มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงมีความกดดันในการเพิ่มผลผลิตสูงส่งผลให้มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีในการผลิตมากเกินไป ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเวียดนามมุ่งแก้ไขปัญหาและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรแบบยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลได้เห็นว่าการสร้างความยั่งยืนให้ข้าวเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้เวลา ความรู้ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จทั้งองค์ประกอบด้านคุณภาพ คุณค่า และศักยภาพการแข่งขัน โดยวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งตลาดข้าวคุณภาพสูง และตลาดข้าวทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีคู่แข่งมาก จึงต้องพัฒนานำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต บนพื้นที่ขนาดใหญ่ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง พร้อมทั้งวางระบบมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตรลดการใช้สารเคมีในนา เพื่อให้ได้ข้าวที่ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ปลูกข้าวผ่านการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าของข้าว และสร้างแบรนด์ข้าวที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดว่าจะมีเงินลงทุน 12 ล้านล้านด่งในโครงการนี้ เมื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เกษตรกรจะได้รับเงินสนับสนุนร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว และได้รับสินเชื่อธนาคาร 20 ล้านด่ง/ฤดูการผลิต (ระยะเวลากู้ 6 เดือน) ขณะนี้ร่างโครงการอยู่ระหว่างรวบรวมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขออนุมัติ ตามที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทระบุ หากได้รับอนุมัติจากรัฐบาล โครงการนี้จะดำเนินการตั้งแต่ปี 2567 ใน 12 จังหวัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการส่งออกข้าว 7.5 ล้านตันในปี 2566 โดยยังคงรักษาความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศได้

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login