หน้าแรกTrade insightเครื่องดื่ม > Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ

Snack Food กลายเป็นอาหารยอดนิยมในสหรัฐฯ   

( สคต. ลอสแอนเจลิส ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 )

วิกฤต COVID-19 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและการดำรงชีวิตของคนอเมริกัน กระตุ้นความต้องการบริโภคอาหารประเภท comfort food เพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต นำไปสู่การเติบโตของความต้องการบริโภคอาหารประเภทขนมขบเคี้ยว (snack) ปัจจุบันคนอเมริกันจำนวนมากบริโภค snack ตลอดทั้งวันหรือเกือบตลอดทั้งวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน แม้กระทั่งบริโภคแทนมื้ออาหาร โดยเฉพาะคนอเมริกันกลุ่ม Millennials และ Gen Z มีแนวโน้มว่าในแต่ละวันจะบริโภค snack ในอัตราเฉลี่ยสูงกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นร้อยละ 10 ส่งผลให้มูลค่าอุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยวของสหรัฐฯ พุ่งสูงถึง 181 พันล้านเหรียญฯ มีอัตราเติบโตสูงกว่าการผลิตประเภทอาหารอื่นๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสินค้าอาหารที่ขายดีและสร้างผลกำไรให้แก่อุตสาหกรรมค้าปลีกสหรัฐฯ snack ที่ได้รับความนิยมบริโภคมากที่สุดในสหรัฐฯ คือ คุกกี้และลูกอม

แม้ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อจะสร้างแรงกดดันด้านราคาให้สินค้าอาหารที่เป็นแบรนด์ของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภค private brand ที่มีราคาถูกกว่าแทน แต่แรงกดดันเรื่องราคาไม่เกิดขึ้นกับสินค้า snack ผู้บริโภคยังคงซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีสินค้าวางจำหน่ายแพร่หลายและเป็นที่รู้จักมานาน มีรายงานว่าในปีงบประมาณ 2019 และ 2022 ยอดขายของ Hershey และ Modelez International ผู้ผลิต snack รายใหญ่ในสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 30 และ 22 ตามลำดับ บริษัทห้างค้าปลีกเครือข่าย Kroger รายงานยอดขาย snack ของร้านค้าในเครือมีอัตราการเติบโตสูงมากเช่นกัน

กระแสความนิยมและการเติบโตของความต้องการบริโภคทำให้บริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของสหรัฐฯ และ Startups จำนวนมากเข้าสู่ตลาด snack เพิ่มขึ้น Startups ส่วนใหญ่จะนำเสนอ snack ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น salad bars ที่ผลิตจากผัก kale และ spinach และ noodles ในรูปของ chip

 

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

ข้อมูลเพิ่มเติม ความเห็นของ สคต.ลอสแอนเจลิส

วิกฤต COVID-19 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสภาพจิตใจของคนอเมริกันจำนวนมากที่มีความเครียดในการดำรงชีวิตเพิ่มสูงขึ้น snack food ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นอาหารที่บริโภคเพื่อลดความเครียด ปัจจุบันยังช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจในสถานการณ์ที่ราคาสินค้าอาหารต่างๆ พุ่งสูงขึ้น snack food หลายรายการจึงถูกนำไปบริโภคทดแทนอาหารที่เป็นมื้อหลัก สคต.ลอสแอนเจลิสมีความเห็นว่า snack food เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงสำหรับผู้ผลิตสินค้าอาหารของไทยและมีข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจเข้าสู่ตลาด snack food สหรัฐฯ ดังนี้

  1. ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยเข้าตลาดสหรัฐฯ ต้องดำเนินการคือ การศึกษากฎระเบียบการผลิตสินค้าอาหารของ S. Food and Drug Administration: USFDA (www.fda.gov) ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการกฎระเบียบความปลอดภัยของสินค้าอาหาร โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
  • สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ การจดทะเบียนโรงงานกับ USFDA (https://www.fda.gov/food/guidance-regulation-food-and-dietary-supplements/registration-food-facilities-and-other-submissions) โดยต้องมีตัวแทนอยู่ในสหรัฐฯ (U.S. Agent) ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการสื่อสารระหว่าง USFDA และโรงงาน และต้องระบุยินยอมให้ USFDA ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจโรงงานได้เมื่อต้องการ เป้าหมายของการจดทะเบียนโรงงานผลิต คือการกำหนดหมายเลขของแต่ละโรงงานสำหรับนำไปใช้ระบุแจ้งในเอกสารนำเข้าสหรัฐฯ เพื่อเจ้าหน้าที่สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหารได้
  • ศึกษากฎระเบียบอื่นๆ ที่สำคัญคือ ระบบการผลิตที่ต้องเป็น GMPs (Good Manufacturing Practices) กฎระเบียบและแนวทางการปิดฉลากสินค้า (https://www.fda.gov/files/food/published/Food-Labeling-Guide-%28PDF%29.pdf) และการใช้ส่วนผสมตามที่กฎหมายยินยอม

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

 

2. เนื่องจาก snack food เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก จำเป็นที่ต้องสร้างความสามารถในการแข่งขัน สินค้าควรมีความแตกต่าง โดดเด่นจากสินค้าอื่น ตั้งแต่ตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ จนถึงการกำหนดราคาบนพื้นฐานของพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค คือ

(1) มีรสชาติอร่อย มีประโยชน์ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันคนอเมริกันมีแนวโน้มลดการบริโภคน้ำตาลและเกลือ เพราะเชื่อว่ามีโทษมากกว่าคุณประโยชน์ คนอเมริกันรุ่นหนุ่มสาวกลุ่ม Millennials และ Gen Z ที่เป็นตลาดหลักของ snack food มีพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างจากการบริโภคแบบดั้งเดิมของคนอเมริกันรุ่นก่อน และมีแนวโน้มนิยมรับประทานอาหารรสชาติแปลกๆ ของชนเชื้อชาติต่างๆ โดยเฉพาะรสชาติ “spicy” นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มสนใจบริโภคอาหารที่ผลิตจากข้าวสูงกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่น

(2) บรรจุภัณฑ์ ที่นอกจากจะต้องตอบสนองต่อความต้องการความสะดวกสบายในการนำติดตัวไปได้ทุกหนแห่งและความสะดวกสบายในการเปิดใช้เพื่อการบริโภคแล้ว ยังต้องสามารถสร้างความโดดเด่นออกจากคู่แข่งเมื่อวางบนชั้นจำหน่ายสินค้า ลักษณะธุรกิจของตลาดค้าปลีกที่เป้าหมายในการวางจำหน่ายสินค้ามีความสำคัญต่อการทำขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยขนาดบรรจุภัณฑ์ควรแตกต่างกันระหว่างร้านค้าปลีกทั่วไปและร้านค้าปลีกที่เป็น mass merchandise retail

(3) การกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายได้มากยิ่งขึ้นในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

(4) ธุรกิจค้าปลีกที่เป็นตลาดหลักของการค้า snack food ในสหรัฐฯ คือธุรกิจ convenience stores ซึ่งเป็นการซื้อสินค้าในลักษณะ Grab and Go

 

 

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

 

  1. ผู้ประกอบการไทยที่สนใจขยายตลาดขนมขบเคี้ยวมายังตลาดสหรัฐฯ อาจพิจารณานำสินค้าวางขายทางออนไลน์ผ่าน TOPTHAI on Amazon.com (ติดต่อสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) หรือ Weee! แพลตฟอร์ม Asian & Hispanic Grocery ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ซื้อรุ่นใหม่
  2. งานแสดงสินค้าอาหารและขนมขบเคี้ยวที่น่าสนใจในสหรัฐฯ
  • Natural Product Expo งานแสดงสินค้าออร์แกนิกส์และสินค้าจากธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ จัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี
  • West จัดขึ้นช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี ที่เมืองอนาไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย (expowest.com)
  • East จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ที่เมืองฟิลาเดเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย (expoeast.com)
  • Fancy Food (specialtyfood.com) งานแสดงสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยว ขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ จัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี
  • Winter จัดขึ้นช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ที่เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา
  • Summer จัดขึ้นช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ที่นิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
  • SIAL America (https://sialamerica.com) งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา กำหนดการครั้งต่อไปวันที่ 19 – 21 มีนาคม 2024

—————————————————–

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login