1.มูลค่าตลาด
ในช่วงฤดูร้อนไอศกรีมเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถดับกระหายและคลายร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากความหลากหลายด้านสีสัน รสชาติและรูปแบบ ทำให้ไอศกรีมได้รับความนิยมจากผู้บริโภคโดยเฉพาะวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว ถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทของหวานที่ขายดีเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาดจีน
ในปี 2565 ที่ผ่านมา ขนาดมูลค่าตลาดไอศกรีมในจีนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 167,200 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และคาดว่าในปี 2566 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 175,900 ล้านหยวน จากการยกระดับการบริโภคและระดับรายได้ของผู้บริโภคจีน ทำให้ความต้องการบริโภคไอศกรีมในจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.สถิติการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ไอศกรีมของจีน
จีนนำเข้าผลิตภัณฑ์ไอศกรีมจากประเทศต่าง ๆ
(HS Code Products : 210500)
ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม ปี 2566
จีนส่งออกผลิตภัณฑ์ไอศกรีมไปยังประเทศต่าง ๆ
(HS Code Products : 210500)
ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม ปี 2566
3.การบริโภค
จากข้อมูลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคจีนร้อยละ 80 เผยว่าชื่นชอบไอศกรีมน้ำตาลน้อย ไขมันต่ำและไร้น้ำตาล เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจต่อสุขภาพ จึงนิยมรับประทานไอศกรีมที่มีส่วนผสมที่มีประโยชน์และให้โภชนาการที่ดีต่อร่างกาย
นักวิเคราะห์ของ iiMedia Research เผยว่าผู้บริโภควัยหนุ่มสาวให้ความสนใจรสชาติและราคาของไอศกรีมมากที่สุด และคาดว่าในอนาคตไอศกรีมที่มีรสชาติแปลกใหม่จะสร้างความท้าทายในตลาดมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อไอศกรีมของผู้บริโภคชาวจีน
4.ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอศกรีมในตลาดจีน
5.ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไอศกรีมในตลาดจีน
6.แนวโน้มของอุตสาหกรรม
6.1 จากการยกระดับเศรษฐกิและการบริโภคในจีนอย่างต่อเนื่อง ความต้องการบริโภคอาหารว่างของผู้บริโภคจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมไอศกรีมของจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี แบรนด์ไอศกรีมต่าง ๆ ของจีนมีการผลิตสินค้าใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด มีการ Co-Branding และมีธุรกิจอื่น ๆ ขยายความร่วมมือกับอุตสาหกรรมไอศกรีม เช่น เครื่องดื่มชาสมัยใหม่ ๆ และสุรา เป็นต้น ทำให้ไอศกรีมมีรูปแบบการบริโภคที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อไอศกรีมอย่างต่อเนื่อง
6.2 ปัจจุบันผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญในการซื้อไอศกรีมโดยการคำนึงถึงเรื่องแบรนด์ บรรจุภัณฑ์ และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น ทั้งนี้ การวางตำแหน่งและสร้างการรับรู้ของแบรนด์ไอศกรีมสามารถยกระดับความถี่ในการเลือกซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.3 ปัจจุบันไอศกรีมเชิงสร้างสรรค์ทุกประเภทกำลังได้รับความนิยมในตลาดจีน เช่น ไอศกรีมที่มีการสอดแทรกวัฒนธรรมต่าง ๆ และการผสานรวมองค์ประกอบสไตล์จีน ซึ่งได้รับกระแสการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี
6.4 ผู้บริโภครุ่นใหม่นิยมซื้อไอศกรีมที่มีเรื่องราวของแบรนด์ มีภาพลักษณ์สินค้าที่น่าดึงดูด ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโดยทางอ้อม
6.5 การตลาดไอศกรีมของจีนได้ขยายสู่วงการอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์ เกม เป็นต้น โดยเมื่อผู้บริโภคได้พบเห็นไอศกรีมบนจอเงินหรืออื่น ๆ ก็จะทำให้เกิดกระแสการบริโภคตามทันที
ความคิดเห็น สคต.
ตลาดไอศกรีมในจีนมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากการทำตลาดในยุค New Normal ทำให้เกิดเทรนด์การบริโภคไอศกรีมใหม่ ๆ ในตลาดจีน เช่น ไอศกรีมทอด ไอศกรีมผสมสุรา ไอศกรีมพ่นควัน เป็นต้น
จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไอศกรีมไปยังตลาดจีน โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรมสอดแทรกลงไป และใช้ส่วนผสมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น การผลิตสินค้าไอศกรีมจากเทรนด์ “เช็กอิน” สถานที่ท่องเที่ยวในไทย หรือ “ไอศกรีมแลนด์มาร์ก” ไอศกรีมผลไม้เมืองร้อนที่แปลกใหม่ เป็นต้น ซึ่งการสร้างจุดขายและเรื่องราวของไอศกรีม จะสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยควรหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้าชาวจีนในทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ร่วมกัน เช่น การตลาดตามเทศกาลบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นต้น ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและความต้องการในยุคปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ “ตกเทรนด์” คาดว่าในอนาคตสินค้าไอศกรีมของไทยอาจเกิดเป็นกระแส Soft Power ในตลาดจีนก็เป็นได้
*****************************************
https://www.iimedia.cn/c400/87625.html
สคต. คุนหมิง
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)