หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > ราคาจำหน่ายปลาป่นสำหรับการประมง ในประเทศญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้น

ราคาจำหน่ายปลาป่นสำหรับการประมง ในประเทศญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้น

ราคาจำหน่ายปลาป่นสำหรับการประมง ในประเทศญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้น

  • วัตถุดิบของปลาป่นหายากขึ้น ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น-

—————————

ข้อเท็จจริง

ราคาจำหน่ายปลาป่นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้เป็นอาหารสำหรับปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีครึ่ง หลังจากเปรู ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลากะตัก (Kataguchi Iwashi) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบรายใหญ่ของโลก ตัดสินใจลดโควตาการจับปลาและเลื่อนการจับปลาออกไป ส่งผลให้เกิดความรู้สึกขาดแคลน วัตุดิบรุนแรงขึ้นทั่วโลก โดยอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของญี่ปุ่นพึ่งพาการนำเข้าปลาป่นส่วนใหญ่ ราคาในประเทศญี่ปุ่น พุ่งสูงขึ้นกว่าระดับราคาที่ต่ำที่สุด ในช่วงต้นปี 2020 ถึง ร้อยละ 90 ทำให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

ณ กลางเดือนมิถุนายน ราคาซื้อขายภายในประเทศของผลิตภัณฑ์เปรู (ราคาเดิมขายส่ง เกรดไพร์ม 67% ตลาดโตเกียว) ซึ่งทำหน้าที่เป็นดัชนีอยู่ที่ 320,000 ถึง 340,000 เยนต่อตัน ค่ากลางสูงกว่าช่วงต้นเดือนมิถุนายน ถึงร้อยละ 17 แซงหน้าราคาสูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2014

 

กล่าวกันว่าเปรูมีสัดส่วนถึง ร้อยละ 20 ของการผลิตปลาป่นของโลก การทำประมงปลากะตักดำเนินการในสองฤดูกาล: โดยฤดูร้อน (กลางเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคม) และฤดูหนาว (ปลายเดือนเมษายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม) ทั้งนี้ ในแง่ของการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ เปรูมีการสำรวจ และวิจัยถึงจำนวนทรัพยากร เพื่อนำมากำหนดโควตาการจับสัตว์น้ำต่อไป

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน กระทรวงการผลิตของเปรูกำหนดโควตาการจับสัตว์น้ำในฤดูหนาวปี 2023 ที่ 1,091,000 ตัน ลดลง ร้อยละ 60 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังประกาศว่าจะยังไม่เริ่มฤดูจับปลา คาดว่าจะมีการตรวจสอบอีกครั้งในอนาคตเพื่อกำหนดวันที่เริ่มต้น

 

โดยปกติแล้ว โควตาการจับปลาในฤดูหนาวจะประกาศในปลายเดือนเมษายน และการจับปลาจะเริ่มอย่างช้าที่สุดในเดือนพฤษภาคม ตามคำบอกเล่าของผู้รับผิดชอบของบริษัท Kanematsu ซึ่งนำเข้าปลาป่น สถานการณ์ที่คล้ายกันนี้เกิดขึ้นในการจับปลาในฤดูร้อนในปี 2021 แต่ “นี่เป็นครั้งแรกที่ฤดูกาลจับปลาของฤดูหนาวถูกเลื่อนออกไป”

 

สาเหตุของการเลื่อนฤดูกาลจับปลาออกไปนั้น คือ อัตราของปลาวัยอ่อนมีจำนวนมาก จากการสำรวจทรัพยากรประมงซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยทางทะเลแห่งชาติเปรู (IMARPE) โดยปกติแล้ว ในทุกๆ ปี ฤดูกาลจับปลาจะถูกกำหนดโดยการสำรวจทรัพยากรเพียงหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูหนาวปี 2023 มีการสำรวจเพิ่มเติมเป็นครั้งที่สอง เนื่องจากยังไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์ของทรัพยากรได้เพียงพอ ทั้งนี้ จากการสำรวจ 2 ครั้ง พบว่ามีอัตราของปลาวัยอ่อนในท้องทะเลสูง

 

ท่ามกลางกระแสซูชิที่เฟื่องฟูทั่วโลก ทำให้มีความต้องการอย่างมากสำหรับปลาที่เลี้ยงในญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาเหนือและเอเชีย มูลค่าการส่งออกปลาหบุริ ที่เลี้ยงเป็นอันดับสองรองจากหอยเชลล์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงปลาไท ยังส่งออกไปยังเกาหลีใต้และจีนเป็นจำนวนมากอีกด้วย

 

อาหารผสมที่ใช้โดยบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของญี่ปุ่นมีปลาป่น ผสมประมาณ ร้อยละ 30-40 ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา ด้วยราคาปลาป่นที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้สร้างแรงกดดันต่อการบริหารจัดการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอาจกลายเป็นอุปสรรคในการขยายการส่งออกได้

 

ด้วยราคาปลาป่นที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีการเคลื่อนไหวที่จะใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน นาย อากิฮิโกะ โคโบริ ประธานสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงปลาเทราต์แห่งชาติ (เมืองชิทาระ จังหวัดไอจิ) ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงปลาเทราต์กล่าวว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่โควตาการจับปลาลดน้อยลงมาก และฤดูกาลจับปลาก็ได้ยืดออกไป ทำให้ฉุกคิดได้ว่า จนถึงขณะนี้ เราพึ่งพาปลาป่นมากเกินไป จึงเริ่มหันกลับมาพิจารณาว่าควรที่จะพิจารณาถึงอัตราส่วนของอาหารที่ใช้ทำการประมงใหม่”

 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ นาย โคโบริ เริ่มเลี้ยงปลาเทราต์ เขาคาดการณ์ว่าปริมาณปลากะตักจะลดลงในอนาคต และได้ปรับสัดส่วนของปลาป่นและลองใช้ทางเลือกต่าง ๆ มาโดยตลอด เช่น การปรับปริมาณโปรตีนจากกากไก่และกากถั่วเหลืองที่ร้อยละ 80 และปลาป่นใช้ปลาป่น ร้อยละ 20

 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นต่างๆ เช่น วิธีการรักษาเส้นทางการจัดซื้ออย่างยั่งยืนสำหรับผลิตภัณฑ์ทางเลือก และวิธีการรักษาคุณภาพของปลา คุณโคโบริกล่าวว่า “เราใช้มาตรการที่เป็นไปได้ทั้งหมดแล้ว แต่เราไม่สามารถทำอะไรได้ ความต้องการปลาในฟาร์มมีสูง แต่ผมคิดว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขึ้นราคาได้อีก”

 

ที่มาข่าวและรูปภาพ : เข้าถึง วันที่ 19 มิถุนายน 2566

https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUB06CUK0W3A600C2000000/

 

 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา

                                                      ระหว่างวันที่ 18 – 24 มิถุนายน 2566

Login