หน้าแรกTrade insightยางพารา > รายงานเชิงลึกประจำไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2568 : ซินเจียงอุยกูร์กับโอกาสสินค้าไทย สคต.คุนหมิง

รายงานเชิงลึกประจำไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2568 : ซินเจียงอุยกูร์กับโอกาสสินค้าไทย สคต.คุนหมิง

  1. ภาพรวมเขตปกครองตนเองซินเจียง

เขตปกครองตนเองซินเจียง เป็นเขตปกครองตนเองที่มีสถานะเทียบเท่ามณฑลของจีน ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองตนเองที่ใหญ่ที่สุดของจีน และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก มีพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน ลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่น คือ เป็นพื้นที่แอ่งกะทะและเทือกเขตสลับกัน ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะดังกล่าวเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา ทิศเหนือมีภูเขาอาร์เอ่อไท้ซาน และพื้นที่แอ่งกระทะจุนก๋าเอ๋อ ทิศใต้มีภูเขาคุนหลุน และพื้นที่แอ่งกระทะถาหลี่มู่ ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะถาหลี่มู่นั้นอยู่ระหว่างเทือกเขาไท้ซานและเทือกเขาคุนหลุนครอบคลุมพื้นที่กว่า 530,000 ตร.กม. นับเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทะเลทรายกว่า 800,000 ตร.กม. โดยมีทะเลทรายถ่าเค่อลามากัน ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของมณฑล ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอาณาเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 330,000 ตร.กม. แม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำถาหลี่มู่ซึ่งมีความยาว 2,100 กิโลเมตร

ด้านจำนวนประชากร เขตปกครองตนเองซินเจียงมีประชากรทั้งหมด 25.98 ล้านคน เป็นชาวอุยกูร์มีร้อยละ 45.62 ชาวฮาร์ซ่าเค่อร้อยละ 7.04 ชาวหุยร้อยละ 4.46 ชาวมองโกลร้อยละ 0.86

นอกจากนี้ เขตปกครองตนเองซินเจียงมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขต ได้แก่ เขตจี๋ถ่าเฉิง (Tacheng) เขตอาสั่วไท้ (Altay) เขตทูหลูฟาน (Turpan) เขตฮาร์มี่ (Hami) เขตอาเค่อซู (Aksu)     เขตคาเมอ (Kashgar) เขตเหอเถียน (Hotan)

  1. จุดเด่นทางภูมิศาสตร์ของเขตปกครองตนเองซินเจียง
  2. – มีจุดเด่นด้านพื้นที่ปศุสัตว์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของพื้นที่ปศุสัตว์ทั้งประเทศ นับว่าเป็นพื้นที่ปศุสัตว์ที่มีอาณาบริเวณที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากมองโกเลียใน– ซินเจียงมีแร่ธาตุกว่า 138 ชนิด โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นแร่ธาตุสงวนสำรอง 43 ชนิด และมีน้ำมันปิโตรเลียมสำรองที่ถูกค้นพบในบริเวณแอ่งกะทะเค่อลาหม่าจำนวน 208,600 ล้านตัน ซึ่งแหล่งน้ำมันดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2498 นอกจากนี้ยังมีแก๊สธรรมชาติ 10,300,000 ล้านคิวบิคเมตร

    – พื้นที่ของเขตปกครองตนเองซินเจียงกว่าร้อยละ 99 สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์รวมไปถึงเขตพื้นที่ชนบทเขตเมืองต่างๆ โดยเส้นทางต่างๆ นั้นมีเมืองอูหลู่มูฉีเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ทางทิศตะวันออกมีถนนเชื่อมไปยังมณฑลกานสู มณฑลชิงไห่ ทิศใต้เชื่อมกับทิเบต ทิศตะวันตกมีถนนออกไปยังประเทศในแถบเอเชียกลาง

    1. 3. ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเขตปกครองตนเองซินเจียง
    • ข้อมูลทั่วไป

    – เขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นเขตที่ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์เป็นอันดับ 2 ของประเทศจีน จึงเป็นเขตที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชประเภทเมลอน ยางพารา มะเขือเทศ องุ่นถูหลู่ฟาน ปอ โดยมีปริมาณผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40 ของผลผลิตทั้งประเทศ

    – เขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นแหล่งวัตถุดิบพลังงานที่สำคัญของจีน อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าสธรรมชาติ และแร่ธาตุมีถ่านหินสำรองและน้ำมันสำรองมากที่สุดของจีน และเป็นแหล่งพลังงานลมใหญ่ที่สุดของจีน

    – เป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของจีน และเป็นมณฑลที่มีพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด มีความได้เปรียบในการพัฒนาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน

    – มีทรัพยากรการเท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอุยกูร์ และธรรมชาติที่สวยงามแปลกตา

    – เป็นแหล่งผลิตฝ้ายมากที่สุดของจีน โดยในปี 2567 ซินเจียงมีปริมาณการผลิตฝ้าย 5,720,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94.5 ของปริมาณการผลิตฝ้ายทั่วจีน

    • มูลค่า GDP

    ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 มูลค่า GDP ของเขตปกครองตนเองซินเจียงอยู่ที่ 1,454,767 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 แบ่งออกเป็นมูลค่า GDP ภาคเกษตรกรรม 172,007 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ภาคอุตสาหกรรม 606,852 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และภาคบริการ 675,908 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5

    • รายได้ของประชากร

    ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 ประชากรชาวซินเจียงมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 18,811 หยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ประมาณร้อยละ 6.8 ซึ่งประชากรในเขตเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 32,142 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และในเขตชนบท 6,173 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 สำหรับค่าแรงขั้นต่ำของซินเจียง คือ 1,900 หยวน และค่าแรงต่อชั่วโมง 19 หยวน

    • ภาคเกษตรกรรม

    ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 มูลค่าผลผลิตด้านเกษตรกรรม ป่าไม้ ปศุสัตว์และการประมงของเขตปกครองตนเองซินเจียงอยู่ที่ 357,150 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าผลผลิตด้านเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ป่าไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และการประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 นอกจากนี้ ผลผลิตธัญพืชฤดูร้อนมีปะมาณ 6,934,800 ตัน การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูใบไม้ร่วงดำเนินไปอย่างราบรื่น และคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดทั้งปี สำหรับด้านปศุสัตว์มีความเสถียรภาพ ผลผลิตสุกรมีจำนวน 6,089,000 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4  ผลผลิตวัว 2,535,000 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 อีกทั้งปริมาณการผลิตผัก 16,256,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ปริมาณการผลิตผลไม้รวมทั้งสิ้น 8,022,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ได้แก่ ลูกแพร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.4 แอปเปิ้ล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.0 และองุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.1

    • ภาคอุตสาหกรรม

    ภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตปกครองซินเจียง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการท้าโลหะผสม อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ

    ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 มูลค่าของอุตสาหกรรมในเขตปกครองตนเองซินเจียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 อุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 อุตสาหกรรม       การผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า ความร้อน ก๊าซและน้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1

    ในแง่ของอุตสาหกรรม ในบรรดา 40 สาขาในอุตสาหกรรมของเขตปกครองตนเองซินเจียง มี     23 สาขาที่มีอัตราการเติบโต โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 57.5 ในจำนวนนี้เป็นอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินและซักล้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า ความร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แร่อโลหะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และอุตสาหกรรมการแปรรูปโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9

    • ภาคบริการ

    ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 มูลค่าภาคอุตสาหกรรมของเขตปกครองตนเองซินเจียงอยู่ทืี่ 675,908 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในจำนวนนี้เป็นอุตสาหกรรมการขนส่ง/คลังสินค้า/ไปรษณีย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 อุตสาหกรรมที่พักและร้านอาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 อุตสาหกรรมการเงิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 อุคสาหกรรมการค้าปลีก/ค้าส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อีกทั้งตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจภาคบริการ 265,586 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5

    นอกจากนี้ ปริมาณการขนส่งสินค้าของเขตปกครองตนเองซินเจียงอยู่ที่ 823 ล้านตัน เพิ่มขึ้น    ร้อยละ 7.8 เป็นการขนส่งสินค้าทางรถไฟ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 ทางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5          ทางอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.1 สำหรับการขนส่งผู้โดยสารทั้งหมด 223 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6

  3. เป็นการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ทางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 และทางอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5
    • การลงทุน

    ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 ซินเจียงมีมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ทั้งนี้ การลงทุนภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนที่แข็งแกร่ง ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567         การลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 โดยมีจำนวนโครงการลงทุนอยู่ที่ 3,498 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3

    • มูลค่าการค้าปลีก

    ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 ซินเจียงมีมูลค่าการค้าปลีก

    สินค้าอุปโภคบริโภค 277,993 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็นมูลค่า

    การค้าปลีกสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ ธัญพืชและน้ำมัน อาหารและเครื่องดื่ม

    ยารักษาโรค เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 737 และ 4.6 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มี

    แนวโน้มการค้าปลีกไปในทางที่ดี ได้แก่ สินค้าอัจฉริยะ (อุปกรณ์สวมใส่ที่

    เป็นอัจฉริยะ) เครื่องมือสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.3 และ 59.5 ตาม

    ลำดับ ส่วนรถยนต์พลังงานใหม่ก็มียอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่ามียอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 1.2 เท่า

    1. พฤติกรรมการบริโภคของชาวซินเจียง

    – เขตปกครองตนเองซินเจียงมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกลจากภูมิภาคตะวันออก/ภาคกลางของจีน ซึ่งเป็นแหล่งแห่งความเจริญของจีน ทำให้มีค่าจัดส่งสินค้าค่อนข้างแพง รวมถึงบริษัทอีคอมเมิร์ซและโลจิสติกส์ยังให้บริการไม่ถึงในบางพื้นที่ จึงทำให้ชาวซินเจียงมีรสนิยมเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าออฟไลน์อยู่

    – สินค้าหลักที่ชาวซินเจียงบริโภค ได้แก่ สินค้าอาหาร เช่น ข้าว น้ำมันจากสัตว์หรือพืช และเนื้อสัตว์ ซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันฉลองอีดดิ้ลอัดฮา ตลาดจะมีวางจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารที่หลากหลาย ชาวซินเจียงนิยมออกมาจับจ่ายและเลือกซื้อสินค้ากันในช่วงเทศกาลดังกล่าว

    – เขตปกครองตนเองซินเจียงเวลาห่างจากปักกิ่งประมาณ 2 ชั่วโมง ปกติชาวซินเจียงจะเริ่มทำงานกันตอนเวลา 10 โมงเช้า และรับประทานอาหารกลางวันกันก่อน 14.00 น. ส่วนอาหารเย็นจะรับประทานกันตอน 20.00 – 21.00 น.

    นิสัยการรับประทานอาหารของชาวซินเจียงมีความหลากหลาย โดยอาหารเช้ามักรับประทานชานม ซาลาเปา ขนมปังทอด ส่วนมื้อกลางวันนิยมรับประทานบะหมี่แห้ง ข้าวเนื้อตุ๋น ผัดหมี่ และไก่ผัดเครื่องเทศ

    – ชาวซินเจียงนิยมบริโภคเนื้อแกะเป็นพิเศษ อาหารยอดนิยม ได้แก่ เคบับเนื้อแกะ ข้าวอบเนื้อแกะ และไก่ผัดเครื่องเทศ ซึ่งชื่นชอบการรับประทานอาหารที่มีไข่มันสูงและมีรสเผ็ดจากเครื่องเทศต่าง ๆ เช่น พริกยี่หร่า เป็นต้น

    – ชาวซินเจียงนิยมเลือกซื้อผลไม้ทั้งสดและแปรรูป เพื่อมอบเป็นของขวัญให้แก่ญาติสนิทและมิตรสหายในช่วงเทศกาลต่าง ๆ โดยผลไม้ที่นิยมมอบในช่วงเทศกาล คือ แคนตาลูปและองุ่น

    – ชาวซินเจียงชื่นชอบการรับประทานสินค้าที่ทำมาจากนม เช่น โยเกิร์ตและชานม ซึ่งถือเป็นอาหารประจำในที่ต้องมีติดบ้านของทุกบ้าน

    – ชาวซินเจียงมีการบริโภคสินค้าต่าง ๆ มากในช่วงเทศกาลอิดิลฟิตรีและอีดดิ้ลอัดฮา

    – ชาวซินเจียงชื่นชอบการเดินเลือกซื้อสินค้าในตลาดและห้างสรรพสินค้ามากกว่าการเลือกซื้อบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ตลาดในท้องถิ่นขนาดใหญ่ ได้แก่ ตลาด Grand Bazaar ซึ่งเป็นแหล่งชอปปิงที่สำคัญของชาวซินเจียง

    – ชาวซินเจียงยังคงชื่นชอบการรับประทานอาหารในบ้านเป็นส่วนใหญ่ บางส่วนรับประทานอาหารนอกบ้าน ร้านอาหารที่นิยมเข้า คือ ร้านหม้อไฟและบาร์บีคิว

    – ชาวซินเจียงในเมืองอุรุมชีให้ความสำคัญกับแบรนด์เนม และบริโภคสินค้าที่เน้นแบรนด์ แต่ในเมืองอื่น ๆ ของซินเจียงยังคงยึดติดกับวิถีชีวิตดั้งเดิม และไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องแบรนด์เนม 

  4. – ผู้บริโภคบางกลุ่มเริ่มหันมาสนใจสินค้า/บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารปลอดสารพิษ และ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
    1. สถานการณ์ตลาดฮาลาลและโอกาสของสินค้าฮาลาล
      • วิวัฒนาการของศาสนาอิสลามในจีน รวมถึงซินเจียง

    ศาสนาอิสลามและอาหารฮาลาลได้เข้าสู่ประเทศจีนอย่างเป็นทางการเมื่อราวปี 1194 ในสมัยราชวงศ์ถัง โดยมีพ่อค้าชาวมุสลิมแต่งงานกับหญิงสาวชาวจีน นับแต่นั้นศาสนาอิสลามก็พัฒนา          อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนในของจีน อาหารฮาลาลแพร่หลายมากขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวน ระหว่างปี 1822 – 1911 เนื่องจากมีทหารมุสลิมประจำอยู่ในจีนเป็นจำนวนมาก และขนมขบเคี้ยว        ฮาลาลบางรายการยังเป็นพระกระยาหารของกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ในสมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์ชิง อย่างไรก็ดี ในช่วงของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมของจีน ชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลามต้องปกปิดความเชื่อทางศาสนาและต่อสู้เพื่อรักษาวัฒนธรรมของตนไว้

    ภายหลังการเปิดประเทศสู่สากลครั้งใหม่ของจีน ชาวจีนก็ได้รับอิสรภาพในการนับถือศาสนาและชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลามก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ ปัจจุบัน รัฐบาลจีนยึดหลักการพื้นฐานของความเสมอภาค ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การช่วยเหลือระหว่างกัน และการเติบโตร่วมกัน         ในการปฏิบัติกับชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ ทั้งนี้ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ก็มิได้เลือกปฏิบัติกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ขณะที่รัฐบาลของชนกลุ่มน้อยดังกล่าวสามารถบริหารเขตปกครองของตนเองภายใต้นโยบายและการกำกับของรัฐบาลกลาง ตาม The National Minority Regional Autonomy Law ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาประชาชนในปี พ.ศ. 2427

    สำหรับวิวัฒนาการของศาสนาอิสลามในเขตปกครองซินเจียงยั้นเริ่มมาจากสมัยราชวงศ์ถัง และเริ่มมีการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ซินเจียงในช่วงราชวงศ์หยวน และค่อย ๆ ก่อตั้งเป็นชุมชนที่มั่นคงในสมัยราชวงศ์หมิง โดยปัจจุบันเขตปกครองตนเองซินเจียง ถือเป็นหนึ่งเมืองที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาหน่น โดยเฉพาะในเมืองอุรุมชีและถูหลู่ฟาน ทั้งนี้ ชาวมุสลิมในซินเจียงมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทำให้การใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน

    • จำนวนประชากรชาวมุสลิมในจีน รวมถึงซินเจียง
    • ประเทศจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์รวมทั้งสิ้น 56 ชาติพันธุ์ โดยมี 10 ชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ ชาวหุย ชาวอุยกูร์ ชาคาซัค ชาวตงเซียง ชาวเตอร์กิส ชาวซาลาร์ ชาวทาจิก ชาวอุซเบก ชาวเป่าอัน และชาวทาทาร์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป จากการศึกษาพบว่า จีนมีชาวมุสลิมอยู่กว่า 30 ล้านคนในปัจจุบัน คิดเป็นประมาณร้อยละ ๒ ของจำนวนประชากรจีนโดยรวม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในจีนอาศัยในพื้นที่ตอนกลางและตอนในของประเทศ เช่น เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย มณฑลกานซู มณฑลเหอหนาน เขตปกครองตนเองซินเจียง เป็นต้น และมีบางส่วนกระจายไปตามเมืองใหญ่ ๆ เช่น ปักกิ่ง    เซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ ซีอาน และกวางโจว
    • ตลาดฮาลาลในจีนเป็นตลาดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารฮาลาล ในจีนแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก ปลาและอาหารทะเล นมและไข่ พืชและผัก รวมไปถึงอาหารแปรรูปอื่น ๆ เช่น ขนมปัง ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม เป็นต้น ในปี 2566 มูลค่าตลาดอาหารฮาลาลในจีนมีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านหยวน ซึ่งการบริโภคสินค้าฮาลาลส่วนใหญ่ของชาวจีนนิยมบริโภคสินค้าของจีนและในพื้นที่ ทั้งนี้ ส่วนสำคัญเนื่องมาจากปัจจัยทางการเมือง ภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจที่ส่วนใหญ่ตลาดมุสลิมจะอยู่ในพื้นที่ตอนในของจีนที่ได้รับ         การพัฒนาล่าช้ากว่าภูมิภาคตะวันออก ส่งผลให้การเข้าถึงด้านโลจิสติกส์ และอุปสงค์สินค้ามีความจำกัด

      อย่างไรก็ตาม แหล่งผลิตสินค้าฮาลาลที่สำคัญของจีนอยู่ที่มณฑลเสฉวน กานซู และหนิงเซี่ย บริษัทธุรกิจอาหารฮาลาลส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเมืองเฉิงตู เช่น บริษัท Chengdu Xincheng Food Industry Co., Ltd., บริษัท Chengdu Liyun Food Co., Ltd., บริษัท Sichuan Baijia Food Co., Ltd., และ บริษัท Chengdu Weibaidu Food Co., Ltd. เป็นต้น สินค้าที่สำคัญ เช่น บิสกิต ขนมอบ เครื่องปรุงรส เป็นต้น ส่วนบริษัทในกานซูมักจะผลิตเครื่องดื่มฮาลาล เช่น บริษัท Linxia Nanyuan Halal Food Co., Ltd. และในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยมีแหล่งผลิตสินค้าฮาลาลที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม    ฮาลาลจงอา ซึ่งดำเนินการผลิตเนื้อสินค้าที่ทำจากเนื้อสัตว์ สินค้าที่ทำจากนม และเครื่องปรุงรสฮาลาล เป็นต้น

      สำหรับสินค้าฮาลาลในเขตปกครองตนเองซินเจียง ได้แก่ เนื้อแกะ น้ำมันหางแกะ องุ่นทูร์ปัน แคนตาลูป เนื้อแดดเดียวซินเจียง พุทรา แอปเปิ้ล เนื้อแกะ โยเกิร์ต และผลไม้แห้ง เป็นต้น

      • กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าฮาลาล

      ปัจจุบัน จีนไม่มีหน่วยงานราชการด้านมาตรฐานสินค้าฮาลาล เนื่องจากการรับรองมาตรฐานสินค้า    ฮาลาลเป็นการสนับสนุนแนวคิดด้านศาสนาและขัดต่อค่านิยมโดยรวมของสังคมจีน และขัดต่ออุดมการณ์ของรัฐบาล อีกทั้งการรับรองมาตรฐานสินค้าฮาลาล ทำให้ผู้ผลิตบางรายมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และเกิดปัญหารการผูกขาดตลาดอาหารฮาลาล อีกทั้งผู้ประกอบการบางรายได้ใช้ตราฮาลาลมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความน่าเชื่อถือและกำไรที่มากกว่ามาตรฐาน ดังนั้น รัฐบาลท้องถิ่นจึงได้ทยอยระงับและยกเลิกการใช้ตรามาตรฐานรับรองสินค้าอาหารฮาลาล โดยมณฑลกานซูได้ประกาศยกเลิก     การรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารฮาลาลในวันที่ 11 ธันวาคม 2561 มณฑลส่านซียกเลิกในวันที่ 18 ธันวาคม 2561 และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยยกเลิกในวันที่ 21 ธันวาคม 2561 และมณฑลยูนนานยกเลิกในวันที่ 15 มกราคม 2562 ทั้งนี้ ด้านการนำเข้าสินค้าฮาลาลจะใช้กฎระเบียบเดียวกับการนำเข้าสินค้าทั่วไปยังประเทศจีน

      1. โอกาสของสินค้าไทยในซินเจียง

      7.1 อาหารและเครื่องดื่ม

      เครื่องปรุงรส ซอสต่าง ๆ น้ำพริกเผา ขนมขบเคี้ยว ผลไม้อบแห้ง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น โดยเฉพาะสินค้าอาหารและเครื่องดื่มฮาลาล เนื่องจากเขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นพื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีความต้องการสินค้าอาหารที่เป็นฮาลาล สินค้าอาหารฮาลาลของไทยเข้ามาทำตลาดในซินเจียงค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารฮาลาลโดยธรรมชาติ หรืออาหารทะเลทั้งสดและแช่แข็ง และอาหารทะเลแปรรูป เนื่องจากซินเจียงเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ติดทะเล อาหารทะเลส่วนใหญ่มาจากเมืองชายทะเลด้านตะวันออก

      7.2 ผลไม้สดและแปรรูป

      ปัจจุบันชาวซินเจียงรู้จักผลไม้ไทยกันมากขึ้น โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด ลำไย ส้มโอ กล้วยและสับปะรด เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งผลไม้ยังเป็นสินค้าฮาลาลโดยธรรมชาติ ทำให้ชาวซินเจียงมีความเชื่อมั่นในผลไม้ไทย นอกจากนี้ ผลไม้แปรรูปก็ยังเป็นที่นิยมในตลาดซินเจียงอีกด้วย

      7.3 เครื่องสำอางและสินค้าบำรุงผิว

      ชาวซินเจียงมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดีขึ้น ทำให้หันมาใส่ใจสุขภาพและรูปลักษณ์ภายนอกกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามจากต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่รู้จักสินค้าไทยมาจากการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ชาวซินเจียงยังชื่นชอบสินค้าประเภทดังกล่าวที่ทำมาจากธรรมชาติ เช่น ครีมขัดตัว ครีมทาผิว โฟมล้างหน้า เป็นต้น

      7.4 สินค้าสำหรับผู้สูงอายุ

      ปัจจุบันชาวซินเจียงที่มีอายุ 60 หรือมากกว่ามีจำนวนอยู่ที่ 2,917,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.28 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดผู้สูงอายุในซินเจียงเป็นตลาดที่น่าจับตามองและมีศักยภาพสูง อีกทั้งตลาดซินเจียงยังไม่ค่อยมีการจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ทำให้เป็นโอกาสของสินค้าผู้สูงอายุของไทยที่จะสามารถขยายตลาดสู่ซินเจียงได้ เช่น สินค้าอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ชะลอวัย อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ช่วยเดิน เป็นต้น

      7.5 หมอนยางพารา

      ชาวซินเจียงมีความเข้าใจและรู้จักหมอนยางพาราไทยค่อนข้างดี และในสายตาชาวจีนหมอนยางพาราจากไทยมีคุณภาพเป็นอันดับ 1 เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกต้นยางและผลิตน้ำยาง ทำให้ได้ยางที่มีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ หมอนยางพาราของไทยในสายตาชาวซินเจียงจึงเป็นหมอนที่มีประโยชน์ด้านสุขภาพ นอนสบายและสามารถระบายอากาศ    ได้ดี

      1. ช่องทางการจำหน่าย

      8.1 การสาธิตและการขายตรง

                การจำหน่ายสินค้าผ่านร้านค้าของผู้นำเข้า ซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้า รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ผลไม้ โดยการจัดทำกิจกรรมแจกชิมฟรีตามย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งช้อปปิงที่คึกคักในเขตเมือง หรือการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สินค้าฮาลาลในแหล่งที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัส/ทดลองสินค้าไทย และเป็น    การดึงดูดผู้บริโภคชาวซินเจียงให้รู้จักสินค้าไทยมากยิ่งขึ้น

      8.2 การขายออนไลน์

      แม้ว่าชาวซินเจียงส่วนใหญ่จะยังนิยมซื้อขายผ่านร้านค้าออฟไลน์ แต่ปัจจุบัน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังเป็นกระแสมาแรงในจีน รวมถึงซินเจียง อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมานี้มีธุรกิจอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในซินเจียง จากข้อมูลการค้าปลีกทางออนไลน์ พบว่า ในปี 2566 ซินเจียงมียอดการค้าปลีกค้าออนไลน์อยู่ที่ 43,386 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.71 โดยเฉพาะสินค้ราอาหาร อาหารเสริม อัญมณีและเครื่องประดับ และของตกแต่งบ้าน

      ช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ซินเจียงถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มีประสิทธิภาพ อย่างในขณะนี้แพลตฟอร์ม Taobao T-mall และ JD.com ก็ถูกนับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง หรือการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (Cross Border           E-Commerce) ซึ่งมีกฎระเบียบการนำเข้าที่ผ่อนปรน หากเปิดร้านค้าออนไลน์และจำหน่ายสินค้าไทยโดยผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวก็จะทำให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าของไทยมากยิ่งขึ้น

      ทั้งนี้ แม้ว่าบนแพลตฟอร์มออนไลน์การขนส่งสินค้าไปยังซินเจียงจะมีข้อจำกัด แต่หลาย ๆ ร้านค้าสามารถจัดส่งสินค้าในพื้นที่ซินเจียงได้ เพียงแต่ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินค่าขนส่งที่มากกว่าปกติเท่านั้น

    • 8.3 งานแสดงสินค้า  ผู้บริโภคซาวซินเจียงจำนวนไม่น้อยนิยมเดินชมและเลือกซื้อ

      สินค้าจากงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ในซินเจียง เนื่องจากมีสินค้าวาง

      จำหน่ายที่หลากหลาย ประกอบกับส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่มาออกงาน

      แสดงสินค้าจะมีสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้าได้ทดลอง ทำให้ผู้บริโภคชาว

      ซินเจียงได้ลิ้มลอง การจำหน่ายสินค้าผ่านงานแสดงสินค้านี้จึงเป็นหนึ่ง

      ช่องทางการตลาดที่มีความสำคัญในการเปิดตัวสินค้าใหม่ ซึ่งจะมีโอกาส

      ประสบความสำเร็จสูง

    • ความคิดเห็นของ สคต.          เขตปกครองตนเองซินเจียงถือเป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในจีน และมีพื้นที่ติดกับประเทศต่าง ๆ มากมาย เช่น ประเทศมองโกเลีย รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน และทาจิกิสถาน เป็นต้น เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการทำการค้าระหว่างประเทศกับภูมิภาคเอเชียกลาง นอกจากนี้ ซินเจียงยังเป็นทางผ่านของเส้นทางรถไฟจีน – ยุโรป ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2567 ด่านรถไฟซินเจียงมีการรองรับสินค้าที่ขนส่งผ่านรถไฟจีน – ยุโรปจำนวนทั้งสิ้น 13,500 ขบวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 อยู่ร้อยละ 13.4 และมีปริมาณการขนส่งสินค้ารวมทั้งสิ้น 23,762,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ด้วยเหตุนี้ ซินเจียงจึงเป็น 1 พื้นที่ที่น่าจับตามอง เนื่องมาจากรถไฟขนส่งสินค้าจีน – ยุโรป             มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการขนส่งสินค้าไทยไปยังยุโรป เนื่องมาจากข้อได้เปรียบด้านความปลอดภัยของสินค้า มีความเสถียรภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

      นอกจากนี้ ซินเจียงยังยังถือว่าเป็นเมืองที่มีศักยภาพและน่าจับตามอง ซึ่งไทยควรสร้าง         ความร่วมมือ โดยเฉพาะในด้านสินค้าฮาลาลไทย ซึ่งผู้ประกอบการไทยจะต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์สินค้าฮาลาลของไทย ในขณะเดียวกัน หน่วยงานรัฐบาลและบริษัทเอกชนก็ควรให้ความสำคัญใน        การสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตและการทำตลาดสินค้าฮาลาล และมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สินค้าฮาลาลของไทยทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์

      อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันซินเจียงจะมีมูลค่าการค้ากับประเทศไทยค่อนข้างน้อย แต่สคต.     คุนหมิงมีนโยบายมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือกับเมืองรอง รวมถึงซินเจียง จึงได้เสาะหาผู้นำเข้าสินค้าไทยที่มีศักยภาพ หรือความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดซินเจียงต่อไปในอนาคต

       

      *****************************************

      แหล่งที่มา : https://xw.qianzhan.com/analyst/detail/220/161109-8d769bc0.htmlhttps://www.xinjiang.gov.cn/xinjiang/xwfb/202410/abd366615dc14781a758da29db885226.shtml

      https://baijiahao.baidu.com/s?id=1814215027057553004&wfr=spider&for=pc

      https://mp.weixin.qq.com/s?__biz=Mzg2MDE3NDI3MQ==&mid=2247525373&idx=1&sn=4e7535bde02719013c59e124cd38be16&chksm=cff22efae5f998965f615d06d64d572ce05c2cd4ecff5a44c463f84856b0afa0bfbbe47c5e21&scene=27

      https://baike.baidu.com/item/%E5%9B%9E%E6%97%8F/130303?fr=ge_ala

      https://baijiahao.baidu.com/s?id=1815756868547550642&wfr=spider&for=pc

      https://tieba.baidu.com/p/8479401324

      https://zhidao.baidu.com/question/2279187804922524108.html

      https://www.opsmoac.go.th/shanghai-dwl-files-441391791909

      สคต. คุนหมิง

อ่านข่าวฉบับเต็ม : รายงานเชิงลึกประจำไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2568 : ซินเจียงอุยกูร์กับโอกาสสินค้าไทย สคต.คุนหมิง

Login