ที่ผ่านมาเมื่อเอ่ยถึงคำว่า “Made in Germany” แทบจะไม่ต้องเสียเวลาอธิบายมากมาย อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าแก่ลูกค้า และสร้างความสำเร็จในระดับสากล จนมีอิทธิพลต่อภาคเศรษฐกิจเยอรมันมานานหลายทศวรรษ อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะจากการศึกษาและวิเคราะห์การตลาดจาก Meisterkreis ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของผู้ประกอบการ ที่จัดทำโดยเฉพาะให้กับหนังสือพิมพ์ Handelsblatt พบว่า 25% ของผู้บริโภคในยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ยังให้ความนิยมสินค้าเยอรมัน โดยเฉพาะในตลาดจีนสินค้ายี่ห้อเยอรมันยังได้รับความนิยมมากกว่าสินค้ายี่ห้อที่ผลิตในประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีความนิยมใช้สินค้าท้องถิ่นมากขึ้น สินค้ายี่ห้อที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับวัฒนธรรมประจำชาติ หรือท้องถิ่นได้รับความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างสโลแกน “อเมริกาต้องมาก่อน (America first)” ของนาย Donald Trump ผู้ที่กำลังจะเข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกากำลังถูกนำไปใช้กับการบริโภคสินค้ามากขึ้นเช่นกัน นาย Clemens Pflanz ผู้บริหารหลักของ Meisterkreis กล่าวอย่างชัดเจนว่า “สินค้าเยอรมันมีภาพลักษณ์ที่ดีมากในระดับสากล” สิ่งนี้ยังนำไปใช้ได้แม้ว่า การผลิตไม่ได้เกิดขึ้นใน “เยอรมนี” อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม “ในระยะกลางภาพลักษณ์ที่มีของสินค้าเยอรมันอาจไม่เพียงพอที่จะสร้างความโดดเด่นจนสามารถที่จะเบียดวางตัวเองในตลาดที่เปลี่ยนแปลงสูงในอนาคตได้” จากข้อมูลของ นาย Pflanz ระบุว่า สินค้าเยอรมันยัง (1) ขาดความก้าวหน้าในวิธีการแก้ปัญหาเชิงดิจิทัล และ (2) แต่ละบริษัทควรร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งซึ่งกันและกันให้มากขึ้นอีกด้วย โดยนาย Franz Maximilian Schmid-Preissler (ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ที่ใช้ชื่อเดียวกันในเมืองมิวนิก) เห็นว่า เรื่องนี้ “ไม่เพียงแต่สินค้ายี่ห้อหรูเท่านั้น” ที่ควรเร่งดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากสินค้ายี่ต่าง ๆ นั้นต่างก็ต้องพึ่งพาการวางที่อยู่และจุดยืนของยี่ห้อของตนในตลาดเป็นอย่างมาก โดยกล่าวต่อว่า ปัจจุบัน “ภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีได้รับคำแนะนำอย่างดีในด้านการพัฒนาตราสัญลักษณ์ Made in Germany ต่อไปอีก เพื่อที่จะทำให้ยี่ห้อของพวกเขามีความน่าดึงดูดในระดับสากลมากขึ้น”
จากงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญของ Sturm & Drang บริษัทที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้ทำการสำรวจผู้บริโภค 3,144 รายในยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ถึงคำว่า “Made in Germany” ทำให้ทราบถึงการเชื่อมโยงคำว่า “Made in Germany” เข้ากับโรงงานและยานพาหนะคุณภาพสูง ตลอดจนเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เน้นประสิทธิภาพ อายุการใช้งานที่ยาวนาน และการออกแบบที่ตอบสนองการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญ จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าในหมวดสินค้าอื่น ๆ เช่น แฟชั่น น้ำหอม เครื่องประดับ หรือเครื่องสำอาง ผู้ผลิตจากประเทศอื่น ๆ เช่น อิตาลี หรือฝรั่งเศส ได้รับความนิยมมากกว่า นาย Stefan Baumann ผู้บริหารหลักของ Sturm & Drang อธิบายว่า “สินค้ายี่ห้อเยอรมันถูกมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เน้นด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก มากกว่าที่จะมุ่งเน้นด้านอารมณ์ หรืออนาคตดิจิทัล” เขาเชื่อ และแนะนำผู้ผลิตชาวเยอรมันว่า บริษัทต่าง ๆ ควรแสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศด้านงานฝีมือที่ผสมผสานความสามารถทางเทคโนโลยี โดยนาย Baumann ยังกล่าวอีกว่า ผู้ผลิตชาวเยอรมันควรร่วมมือกันในระดับสากลมากขึ้น
ตามที่ผู้เชี่ยวชาญระบุ ผู้ผลิตรถยนต์ Porsche เป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นว่า ด้าน Branding สามารถผสมผสานความเป็นเลิศเข้ากับศักยภาพได้อย่างไร การผลิต Porsche 911 รุ่นพิเศษ 50 ปี เทอร์โบ, Porsche S/T และ Porsche dakar ที่ได้ผสมผสาน การออกแบบ ระบบขับเคลื่อนพิเศษ ส่วนประกอบโครงสร้าง และอุปกรณ์แต่ละชิ้นเข้ากันเป็นอย่างดี อีกหนึ่งตัวอย่างด้านแบรนดิ้งคือ บริษัท Steinway ซึ่งก่อตั้งในปี 1853 ผู้ผลิตแกรนด์เปียโน และเปียโนจากเมือง Hamburg ที่พัฒนาระบบเล่นด้วยตัวเองนามว่า Spirio ขึ้น ซึ่งทำให้คนธรรมดาสามารถเรียนรู้การใช้งานเครื่องดนตรีได้ง่ายขึ้น สำหรับสินค้าเยอรมันยี่ห้ออื่น ๆ อย่างเช่น Burmester ที่ปัจจุบันก็ให้ความสำคัญด้านความร่วมมือมากขึ้น ขณะนี้ Burmester ในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องเสียงราคาสูงทำงานร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์อย่าง Ferrari, Mercedes และ Porsche นอกจากนี้ Burmester ยังมีบทบาทนอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์อีกด้วย บริษัทยังร่วมมือกับบริษัท Robbe & Berking ผู้นำตลาดโลกด้านช้อนส้อมที่ทำจากเงินจากกรุงเบอร์ลิน และ Royal Porcelain Manufactory จากกรุงเบอร์ลินผู้เชี่ยวชาญด้านจานชามอีกด้วย อย่างผู้ผลิตกล้อง Leica ยังถือเป็นตัวอย่างที่ดีว่า บริษัทที่มียี่ห้อแบบดั้งเดิมที่สามารถผลักดันตัวเองให้เข้าไปอยู่ในระดับสากลได้อย่างไรกับตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเช่นในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งบริษัท Leica ร่วมมือกับผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์บริษัท Kettnaker และผสานรวมโปรเจ็กเตอร์และจอภาพเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ บริษัทยังนำเสนอแอป Lux ซึ่งเป็นแอปที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดใช้งานเลนส์ Leica บนสมาร์ทโฟน และติดตั้งให้กับสมาร์ทโฟนในเอเชียโดยเฉพาะ ในปี 2024 บริษัท Leica น่าสามารถบรรลุเป้าหมาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทด้วยยอดขาย 554 ล้านยูโร หรือเพิ่มขึ้น 25% ในเอเชีย และเพิ่มขึ้น 10% ในยุโรป
สำหรับการศึกษาของ Meisterkreis นี้ได้มีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังเกตการณ์ตลาดนานาชาติจำนวน 14 คน วิเคราะห์แคมเปญระดับโลกของสินค้าเยอรมันบางยี่ห้อ และสำรวจผู้บริโภค 3,144 รายใน ยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึงผู้บริโภคระดับไฮเอนด์จำนวน 325 รายที่มีรายได้สุทธิต่อครัวเรือนต่อเดือนมากกว่า 10,000 ยูโร ในเยอรมนี หรือรายได้รวมของครัวเรือนที่มากกว่า 300,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดว่าเป็นผู้ร่ำรวย โดยสินค้าเยอรมันได้รับความนิยมเป็นพิเศษใน “กลุ่มเป้าหมายระดับไฮเอนด์” โดยนอกจากผู้บริโภคชาวจีนแล้ว ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ชาวอังกฤษ และชาวฝรั่งเศส ก็เป็นกลุ่มอันดับต้น ๆ นี้ยังนิยมสินค้ายี่ห้อเยอรมันมากกว่าสินค้าในประเทศของตนเองด้วยซ้ำ ในเวลาเดียวกันชาวเยอรมันเองก็ชื่นชอบสินค้า “Made in Germany” เมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่น ๆ พวกเขาชอบสินค้าเยอรมันของตัวเองมากที่สุด โดยมีมูลค่าเกือบ 45% ซึ่งหมายความว่า ในปัจจุบันพวกเขามีความผูกพันกับสินค้าในท้องถิ่นมากกว่าผู้บริโภคชาวอเมริกัน โดยพวกเขาให้ความสำคัญกับสินค้าในท้องถิ่นมากกว่า 42% เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จาก Handelsblatt 16 ธันวาคม 2567
อ่านข่าวฉบับเต็ม : คำว่า “Made in Germany” อาจไม่การันตีความสำเร็จอีกต่อไป