หน้าแรกTrade insightข้าว > อินโดนีเซียต้องการหอมหัวใหญ่ 900,000 ตันจากอินเดีย ขณะที่อินเดียห้ามส่งออก

อินโดนีเซียต้องการหอมหัวใหญ่ 900,000 ตันจากอินเดีย ขณะที่อินเดียห้ามส่งออก

นิวเดลี: อินโดนีเซียต้องการหอมหัวใหญ่จำนวน 900,000 ตันจากอินเดีย ขณะที่รัฐบาลอินเดียห้ามส่งออกหัวหอม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอินเดียให้ข้อมูลว่า อินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอินเดียในอาเซียน และปกตินำเข้าหัวหอมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา อินเดีย และนิวซีแลนด์

คำขอสั่งซื้อดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่อินเดียเรียกเก็บภาษีส่งออกหัวหอม 40% เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำที่ 800 ดอลลาร์ต่อตันในเดือนตุลาคม เพื่อรักษาเสถียรภาพอุปทานและราคาในประเทศเนื่องจากการขาดแคลนพืชผล แม้จะมีมาตรการต่างๆ ออกมา แต่ราคายังคงขยับตัวสูงขึ้นจึงมีมาตรการห้ามส่งออกในเดือนธันวาคม โดยมีผลบังคับจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2023-24 (ปีงบประมาณอินเดีย 1 เมษายน 2023 – 31 มีนาคม 2024)

“หลังจากอินเดียประกาศห้ามการส่งออกหอมหัวใหญ่ ผู้ค้าและผู้นำเข้าในอินโดนีเซียได้เรียกร้องขอซื้อหอมหัวใหญ่จากอินเดียจำนวน 900,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 100,000 เหรียญสหรัฐ โดยได้แจ้งเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐบาลอินเดียแล้ว” เจ้าหน้าที่กล่าว

อินเดียผลิตหอมหัวใหญ่คิดเป็นประมาณหนึ่งในสี่ของผลผลิตหอมหัวใหญ่ทั่วโลก และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่รองจากเนเธอร์แลนด์และเม็กซิโก ในเดือนเมษายน-ตุลาคมของปีงบประมาณนี้ ( อินเดียส่งออกหอมหัวใหญ่จำนวน 1.4 ล้านตัน) โดย 36,146 ตันส่งไปยังอินโดนีเซีย ในขณะที่ช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า อินเดียส่งออกหัวหอมทั้งสิ้น 2.5 ล้านตัน โดย 116,695 ตันไปยังอินโดนีเซีย ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมและผู้ส่งออก

“สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำกรุงนิวเดลี แจ้งว่ายังไม่ได้รับข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งโดยปกติ อินโดนีเซียก็เป็นผู้ผลิตหัวหอมด้วย โดยเฉพาะหอมแดงขนาดเล็ก โดยในปี 2023 อินโดนีเซียนำเข้าหัวหอมรวม 194,107 ตัน และนำเข้าจากอินเดียเพียง 79,000 ตันเท่านั้น ซึ่งมีปริมาณแตกต่างจากข่าวที่เกิดขึ้น

ความท้าทายด้านการผลิต รวมถึงฝนที่ตกไม่ปกติและความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหัวหอมในฤดูคารีฟและปลายฤดูคารีฟ (ฤดูเก็บเกี่ยวหลัก) ทำให้พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตลดลงอย่างมาก เกิดการอภิปรายทางการเมืองที่เข้มข้นขึ้นก่อนการเลือกตั้งระดับชาติ

พื้นที่เพาะปลูกหัวหอมลดลงเกือบ 96% เมื่อเทียบเป็นรายปี เหลือ 8.6 ล้านเฮกตาร์ (mh) ในรัฐมหาราษฏะแหล่งปลูกหลัก ในฤดูคารีฟปี 2023-24 ผลผลิตลดลง 94% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปีก่อนหน้า เหลือ 750,000 ตัน ขณะที่ในรัฐกรณาฏกะ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกรายใหญ่อันดับสอง พื้นที่เพาะปลูกลดลงประมาณ 75% และมีผลผลิตเพียง 43.3% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปีก่อนหน้า เหลือ 770,000 ตัน จากการประเมินเบื้องต้นของรัฐบาล อินเดียอาจผลิตหัวหอมได้ 3 ล้านตัน และ 1.5 ล้านตันในฤดูกาลคารีฟ และปลายฤดูกาลคารีฟ ปี 2023-24 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าปริมาณ 4.1 ตันและ 2.4 ตันที่ผลิตได้ในปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมราคาตลาดที่สูงขึ้น โดยคำสั่งห้ามการส่งออก จะส่งผลให้ราคาหัวหอมลดลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

 

 

วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย

ปัจจุบันอินโดนีเซียประสบภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ผลผลิตทางการเกษตรหลายรายการมีผลผลิตลดลง ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการบริโภคอาหารเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ปีที่ผ่านมา (2566) อินโดนีเซียนำเข้าข้าวจากทั่วโลกกว่า 2 ล้านตัน (นำเข้าจากไทยกึ่งหนึ่ง) หลังจากที่ไม่มีการนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภคมาในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การห้ามส่งออกหัวหอมของอินเดียจะส่งผลถึงความต้องการและราคาหัวหอมในอินโดนีเซียในระยะต่อไป ซึ่งอาจส่งผลให้อินโดนีเซียมีคำสั่งซื้อหอมหัวแดงจากไทย เป็นสินค้าทดแทนหอมหัวใหญ่จากอินเดีย หลังจากปีที่ผ่านมาไม่มีการนำเข้าหอมแดงจากไทยเลย เช่นเดียวกับกรณีสั่งซื้อข้าว

อ่านข่าวฉบับเต็ม : อินโดนีเซียต้องการหอมหัวใหญ่ 900,000 ตันจากอินเดีย ขณะที่อินเดียห้ามส่งออก

Login