หน้าแรกTrade insightปาล์มน้ำมัน > อินเดียปรับลดการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ประเทศคู่ค้าต้องพยายามหาจังหวะแทรกเสริมตลาด

อินเดียปรับลดการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ประเทศคู่ค้าต้องพยายามหาจังหวะแทรกเสริมตลาด

อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบปีละประมาณ 8 ล้านตัน คิดเป็น 2 ใน 3 ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันพืชทั้งหมดของอินเดีย โดยมักจะมีการนำเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลัง (เดือน ก.ค. – ธ.ค.) โดยมีอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เป็นแหล่งนำเข้าหลัก เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบของอินเดียลดลงเหลือ 4.41 แสนตัน ลดลง 14% จาก 5.10 แสนตันในเดือนเมษายน ซึ่งถือเป็นการนำเข้าในปริมาณที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นผลมาจากการที่ผู้นำเข้าหันไปซื้อน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันจากอาเจนติน่า บราซิล รัสเซีย และ ยูเครน แทนภายหลังที่มีการยกเลิกภาษีนำเข้า ส่งผลให้ในเดือนพฤษภาคม อินเดียนำเข้าน้ำมันถั่วเหลือเพิ่มขึ้น 10% และนำเข้าน้ำมันทานตะวันเพิ่มขึ้น 28% สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาน้ำมันปาล์มลดต่ำที่สุดในรอบ 30 เดือน โดยรัฐบาลอินเดียประกาศปรับลดราคากลาง (Base Price) สำหรับน้ำมันปาล์มดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากเดิมที่มีราคา 988 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 898 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในขณะที่ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มีราคากลางอยู่ที่ 1,020 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากเดิมที่มีราคา 984 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ในการขยายตลาดน้ำมันปาล์มไปยังอินเดีย ประเทศผู้ส่งออกมีหลายแนวทางที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น มาเลเซียมีสนับสนุนให้ผลิตรายใหญ่ของอินเดียเดินทางไปตั้งโรงงานและส่งออกน้ำมันปาล์มดิบมายังอินเดียเอง อาทิ บริษัท Tata และ Birl การนำคณะเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในมาเลเซียและในอินเดีย อาทิ Malaysia International Agricommodity Expo and Summit (MIACES) และงาน Global Roundtable On Vegetable Oils and Oilseed การประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยของสองประเทศเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำในอินเดียเพื่อนำน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียไปใช้เป็นวัตถุดิบ รวมทั้งสร้างการรับรู้ในคุณภาพของน้ำมันปาล์มจากมาเลเซียที่ได้มาตรฐานสากล สามารถนำไปใช้ต่อยอดการผลผลิตและส่งออกจากอินเดีย โดยมีการสื่อสารไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย อาทิ Adani Wilmar Emami Agrotech, Cargill India, Bunge India, ADM Agro, Agro Tech Foos, Ruchi Soya Industries, Louis Dreyfus, Cofco Agri / Noble Resources, Gemini Edibles & Fats, Gokul Refoils & Solvents และ 3F Industries

นอกจากนี้ มาเลเซียมีการจัดตั้งคณะกรรมการสำหรับสินค้าน้ำมันปาล์มโดยเฉพาะ (Malaysian Palm Oil Council: MPOC) ซึ่งมีการพบปะหารือกับหน่วยงานในลักษณะคล้ายกันในอินเดีย ได้แก่ Indian Vegetable Oil Producers’ Association (IVPA) ที่กรุงนิวเดลี และ The Solvent Extractors Association of India (SEA) ที่เมืองมุมไบ เพื่อเทียบเคียงเกณฑ์การประเมินคุณภาพของน้ำมันปาล์ม โดยเฉพาะมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (The Malaysian Sustainability Palm Oil: MSPO) อันจะนำไปสู่การยอมรับในมาตรฐานเดียวกันและการส่งออก-นำเข้าระหว่างกันได้มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน มาเลเซียและอินเดียก็ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Panel) เพื่อแลกปลี่ยนความรู้และวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ได้จากน้ำมันปาล์ม รวมถึงถ่ายทอดเทคนิควิธีการเพาะปลูกและแปรรูปเพื่อสนับสนุนนโยบายพึ่งพาตนเองของรัฐบาลอินเดียภายใต้ National Mission on Oilseeds and Oil Palm มาตรการที่รอบด้านเหล่านี้ได้รับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องจาก MPOC ทำให้การส่งเสริมบรรลุผลเป็นลำดับ และมีส่วนทำให้มาเลเซียสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดอินเดียได้

ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น
น้ำมันปาล์มดิบเป็นสินค้าหลักรายการหนึ่งที่ไทยส่งออกไปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ไทยมีปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่จำกัด ทำให้ระดับราคาแข่งขันได้ยาก ต้องอาศัยจังหวะที่อินเดียขาดตลาดและลดภาษีนำเข้า และช่วงที่ราคามีระดับใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง ซึ่งการติดต่อและความสัมพันธ์กับสมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอินเดียจะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยล่วงรู้จังหวะและเตรียมการส่งออกได้ทันสถานการณ์ ในขณะเดียวกัน ไทยเองก็จำเป็นต้องรักษาความมั่นคงทางอาหารและพลังงานไว้ใช้ภายในประเทศด้วย
ในช่วงเดือน ม.ค. – ธ.ค. 2565 อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ (HSN 1511.10) ปริมาณ 6.645 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนหน้า 7.48% คิดเป็นมูลค่า 8.429 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากอินโดนีเซียมากที่สุดที่ 2.711 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 40.8 % ของการนำเข้าทั้งหมดของอินเดีย ลงลงจากปีก่อนหน้า 3.39% มีมูลค่า 3.078 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามด้วยมาเลเซีย 2.446 ล้านตัน สัดส่วน 36.81% ลดลง 26.22% คิดเป็นมูลค่า 3.297 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 3 ด้วยปริมาณ 855 ล้านตัน สัดส่วน 12.87% เพิ่มขึ้น 76.85% มูลค่า 1.224 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกเหนือจากการส่งออกแล้ว ผู้ประกอบการไทยที่มีความพร้อมอาจพิจารณาเข้าไปลงทุนเพาะปลูกและผลิตน้ำมันปาล์มในอินเดีย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ห่างออกไปจากท่าเรือที่มีการนำเข้าน้ำมันปาล์ม แต่มีศักยภาพในการเพาะปลูก อาทิ รัฐ Odisha และกลุ่มรัฐเจ็ดสาวน้อย โดยท่าเรือที่มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ ได้แก่ ท่าเรือ Kandla, Kolkata, Krishnapatnam, Kolkata, Kakinada, Nhava Sheva, Tuticorin, Mundra, Chennai Sea และ Tuticorin ตามลำดับ สำหรับท่าเรือที่นำเข้าจากไทย ได้แก่ ท่าเรือ Krishnapatnam ในรัฐทมิฬนาฑู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ด้วยปริมาณ 2.27 แสนตัน ตามด้วยท่าเรือ Kandla Sea ในรัฐคุชราต ปริมาณ 1.88 แสนตัน ท่าเรือ Kolkata 1.87 แสนตัน ท่าเรือ Nhava Sheva Sea ที่เมืองมุมไบ 5.41 หมื่นตัน ท่าเรือ Kakinada 4.79 หมื่นตัน ท่าเรือ Newmangalore 4.15 หมื่นตัน ท่าเรือ Mundra 3.47 หมื่นตัน ท่าเรือเชนไน 3.35 หมื่นตัน ท่าเรือ Tuticorin 2.14 หมื่นตัน และ ท่าเรือ Nagapattinam 1.96 หมื่นตัน ตามลำดับ

นอกเหนือจากการส่งออกแล้ว ผู้ประกอบการไทยที่มีความพร้อมอาจพิจารณาเข้าไปลงทุนเพาะปลูกและ
ผลิตน้ำมันปาล์มในอินเดีย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ห่างออกไปจากท่าเรือที่มีการนำเข้าน้ำมันปาล์ม แต่มีศักยภาพในการเพาะปลูก อาทิ รัฐ Odisha และกลุ่มรัฐเจ็ดสาวน้อย โดยท่าเรือที่มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ ได้แก่ ท่าเรือ Kandla, Kolkata, Krishnapatnam, Kolkata, Kakinada, Nhava Sheva, Tuticorin, Mundra, Chennai Sea และ Tuticorin ตามลำดับ สำหรับท่าเรือที่นำเข้าจากไทย ได้แก่ ท่าเรือ Krishnapatnam ในรัฐทมิฬนาฑู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ด้วยปริมาณ 2.27 แสนตัน ตามด้วยท่าเรือ Kandla Sea ในรัฐคุชราต ปริมาณ 1.88 แสนตัน ท่าเรือ Kolkata 1.87 แสนตัน ท่าเรือ Nhava Sheva Sea ที่เมืองมุมไบ 5.41 หมื่นตัน ท่าเรือ Kakinada 4.79 หมื่นตัน ท่าเรือ Newmangalore 4.15 หมื่นตัน ท่าเรือ Mundra 3.47 หมื่นตัน ท่าเรือเชนไน 3.35 หมื่นตัน ท่าเรือ Tuticorin 2.14 หมื่นตัน และ ท่าเรือ Nagapattinam 1.96 หมื่นตัน ตามลำดับ

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login