หน้าแรกTrade insightเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า > อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนียังคงอยู่ในระดับสูง

อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนียังคงอยู่ในระดับสูง

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งเยอรมนีได้เผยแพร่สถิติที่เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีของเดือนกันยายน 2566 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัว
ปี 2565 นับเป็นปีที่การดำเนินชีวิตในเยอรมนีมีราคาแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นอาหารพลังงาน เสื้อผ้า หรือน้ำมันเบนซิน ตามที่สำนักงานสถิติฯ ได้เคยเผยแพร่อัตราเงินเฟ้อของปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานและอาหารที่สูงขึ้น และในปี 2565 ที่ผ่านมานั้น อัตราเงินเฟ้อยังเคยพุ่งสูงสุดที่ร้อยละ 8.8 ในเดือนตุลาคม โดยผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามที่ส่งผลให้ราคาพลังงานที่เป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับปัญหาคอขวดในการจัดส่งทำให้มีการขึ้นราคาอย่างมีนัยสำคัญในระดับเศรษฐกิจต้นน้ำตลอดทั ้งปี Dr. Ruth Brand ผู้บริหารสำนักงานสถิติฯ ได้อธิบายว่า “แม้ว่าการขึ้นราคาเหล่านี้จะไม่ส่งต่อไปยังผู้บริโภคอย่างเต็มที่ แต่พลังงานและอาหารก็มีราคาแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดสำหรับพวกเขา” ตัวเลขล่าสุดของเดือนกันยายน 2566 ยังแสดงให้เห็นว่า: เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาอาหารยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5

ความหมายของอัตราเงินเฟ้อ
ความหมายที่แท้จริงของเงินเฟ้อหมายถึงราคาที่ “เพิ่มขึ้น” และหมายความว่าผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าน้อยลงด้วยเงินเท่าเดิม สิ่งนี้จะปรากฏให้เห็นในชีวิตประจำวันเมื่อเราสังเกตเห็น เช่น ตั๋วรถไฟมีราคาเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันสูงขึ้น หรือขนมปังก้อนไม่ได้มีราคา 2 ยูโรอีกต่อไป แต่ทางตรงกันข้าม การลดราของสินค้านั้นหมายถึงภาวะเงินฝืด สำหรับผู้บริโภค อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันหมายความว่าสำหรับการบริโภคเท่าเดิมพวกเขาต้องจ่ายค่าอาหารและพลังงานมากกว่าปีที่แล้ว

ปัจจุบันธนาคารกลางยุโรปกำหนดอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ประมาณร้อยละ 2 เป็นเป้าหมาย ในทางทฤษฎีราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆนั้น จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการใช้จ่ายเงินในปัจจุบัน แทนที่จะเลื่อนการลงทุนออกไป ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อที่สูงมากในปี 2565 ที่ร้อยละ 6.9 หมายถึงการลดลงของการใช้จ่ายจำนวนมาก ส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคและการลงทุนลดลง โดยนักเศรษฐศาสตร์ได้ประมาณการว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5

อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จะสูงแค่ไหน?
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จะลดลงกว่าปีก่อน นาย Michael Hüther หัวหน้าสถาบันเศรษฐกิจเยอรมัน อธิบาย “จุดสูงสุดของอัตราเงินเฟ้อดูเหมือนจะผ่านไปแล้ว ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะน้อยกว่าร้อยละ 6 ในปีนี้”

ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งเยอรมนี อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในเดือนกันยายน 2566 โดยลดลงจากร้อยละ 6.2 ในเดือนสิงหาคม และร้อยละ 6.1 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งอัตราในเดือนกันยายนนี้นับเป็นอัตราที่น้อยที่สุดตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยก่อนหน้านี้ สถาบันเศรษฐกิจชั้นนำในเยอรมนีคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของทั้งปี 2566 จะอยู่อยู่ที่ร้อยละ 6.1
ราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในเดือนกันยายน 2566 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (สิงหาคม 2566: ร้อยละ 9.1) ตามมาด้วยพลังงานสำหรับครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 (สิงหาคม 2566: 11.4) สินค้าจำเป็นอย่างพลังงานที่ใช้ในครัวเรือนมีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 47.1 ในเดือนตุลาคม 2565 และราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ยังได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ในเดือนมีนาคม 2566 เนื่องจากส่วนแบ่งของอาหารและพลังงานในครัวเรือนในการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่านั้นสูงเป็นพิเศษทำครอบครัวเหล่านี้ได้ผลกระทบมากกว่าใคร เห็นได้จากส่วนต่างของอัตราเงินเฟ้อเฉพาะครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ร้อยละ 3.1 และยังคงอยู่ในระดับสูงในเดือนมีนาคม 2566 ที่ร้อยละ 2.4 และขณะนี้กลับได้หดตัวลงเหลือร้อยละ 0.4 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกันยายน 2566 โดยครอบครัวผู้มีรายได้น้อยที่มีลูก 2 คน อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 11 ในเดือนตุลาคม 2565 เหลือเพียงร้อยละ 4.1 สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ตามลำพังอัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 10.7 ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เหลือเพียงร้อยละ 4.3 และครอบครัวคู่รักที่ไม่มีลูกที่มีรายได้ปานกลางมีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดที่ร้อยละ 4.5

การคำนวณอัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยการคำนวณการเพิ่มขึ้น/ลดลงของราคาสินค้าที่อยู่ในตระกร้าผลิตภัณฑ์ซึ่งจะประกอบด้วยสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน อาทิ อาหาร เสื้อผ้า ค่าเช่าที่พักอาศัย ค่าไฟฟ้า ค่าโทรคมนาคม ค่าพักผ่อน น้ำมันเบนซิน และรวมถึงค่าธรรมเนียมและภาษีของรัฐบาล โดยสินค้าเหล่าจะถูกกำหนดให้เหมือนกันทุกเดือนและอัตราเงินเฟ้อจะถูกคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินค้าในตระกร้าใบนี้

ที่มา:

www.Handelsblatt.com

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login