หน้าแรกTrade insightยานยนต์เเละส่วนประกอบ > สหรัฐฯ เร่งกระตุ้นการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ EV

สหรัฐฯ เร่งกระตุ้นการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ EV

ในปัจจุบัน สหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลไบเดน ได้พยายามที่จะผลักดันการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงกว้าง เพื่อลดมลภาวะและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฏหมาย Inflation Reduction Act (IRA) ซึ่งให้เครดิตภาษี                (tax credit) กับผู้เสียภาษีที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฮบริดภายในปีพ.ศ. 2566 จนถึงปี 2575 สูงถึง 7,500 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ และ 4,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใช้แล้ว อนึ่ง รถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตใหม่ที่กำหนดให้แบตเตอรี่และแร่ธาตุที่สำคัญ              ต้องมีแหล่งที่มาบางส่วนจากสหรัฐฯ

******************************

Disclaimer: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฎ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหลข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

นอกจากนี้ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ หรือ The Environmental Protection Agency (EPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เสนอกฎระเบียบใหม่ (ยังไม่ผ่านการรับรอง) ซึ่งไม่เพียงจะผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในหมู่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่เป็นการปรับเปลี่ยนการผลิตรถยนต์ของอุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ ทั้งหมด โดยเป้าหมายใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯ       นั้นจะมุ่งผลักดันให้ภายในปี 2575 กว่า 67% ของรถยนต์ผลิตใหม่ที่ขายในสหรัฐฯ   และ 25% ของรถบรรทุกผลิตใหม่จะต้องเป็นระบบไฟฟ้า อนึ่ง ในปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ มีสัดส่วนเพียง 5.8% ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตใหม่ในสหรัฐฯ               และเพียง 2% สำหรับรถบรรทุกไฟฟ้า

ข้อกำหนดใหม่ที่เสนอโดย EPA นั้น จะจำกัดปริมาณมลพิษจากรถยนต์ที่ผู้ผลิตแต่ละรายจำหน่ายในแต่ละปี ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องเพิ่มปรับเปลี่ยนการผลิต และเพิ่มปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งไม่ปล่อยมลภาวะ เพื่อให้ปริมาณมลพิษรวมลดลงและสอดคล้องกับข้อกำหนดใหม่ ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวอาจถูกลงโทษในรูปแบบต่างๆ รวมถึงถูกปรับหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดใหม่ที่เสนอโดย EPA นั้น ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา และเปิดให้ประชาชนและผู้ผลิตรถยนต์แสดงความคิดเห็น ก่อนที่จะเสนอสภาเพื่อผ่านเป็นร่างกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อเสนอใหม่โดย EPA จะผ่านเป็นร่างกฏหมายหรือไม่ จะเห็นได้ว่าอุตสกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ นั้น มุ่งเน้นที่จะเพิ่มการผลิตและส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในฝั่งรัฐบาลเท่านั้น แต่ผู้ผลิตรถยนต์หลาย               แบรนด์ก็ได้วางแผนและกำลังดำเนินการที่จะเปลี่ยนการผลิตรถยนต์ในปัจจุบันสู่รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยลงทุนในโรงงานแบตเตอรี่และสายการผลิตใหม่เป็นจำนวนมาก เช่น บริษัท Ford ซึ่งจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 61,575 คันในปีที่ผ่านมา             ได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าถึง 600,000 คันต่อปีภายในสิ้นปี 2566 และเพิ่มการลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่เพิ่มอีกสามแห่งในรัฐ Kentucky และ Tennesseeเช่นเดียวกับบริษัท General Motors ก็วางแผนที่จะเพิ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งล้านคันต่อปีภายในปี 2568

อย่างไรก็ตาม ในการผลักดันการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐฯ นั้น รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ภายในประเทศ และหลีกเลี่ยงการนำเข้าชิ้นส่วนและวัสดุจากจีน โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตแบตเตอรี่ ในปัจจุบัน จีนเป็นแหล่งนำเข้าวัตดุสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (lithium-ion battery)             ซึ่งใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ ในการผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้านั้น จะต้องใช้แร่ธาตุหายากมากกว่ารถยนต์ทั่วไปถึงหกเท่า และจีนเป็นผู้ควบคุมห่วงโซ่อุปทานของแร่ธาตุดังกล่าวในปัจจุบัน โดยเฉพาะโคบอลต์ และลิเธียมซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ในส่วนของการผลิตนั้น โดยเฉพาะขั้นตอนการผลิต cathodes และ anodes              ก็มีแหล่งผลิตอยู่ที่จีนกว่า 74%

ในความพยายามที่จะเพิ่มอำนาจเหนือห่วงโซ่อุปทานนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เริ่มเจรจาข้อตกลงกับประเทศอื่นๆ            เพื่อขยายการเข้าถึงแร่ธาตุที่สำคัญของอเมริกา เช่น ลิเธียม โคบอลต์ นิกเกิล และกราไฟต์ ดังจะเห็นได้จากการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ จี 7 ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้นำของกลุ่มทั้ง 7 ประเทศได้ยืนยันถึงความจำเป็นในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุที่เปราะบาง และสร้างแหล่งที่ยืดหยุ่นมากขึ้น สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียประกาศความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลและประสานงานด้านมาตรฐานและการลงทุนเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนมากขึ้น ญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงด้านแร่ธาตุที่สำคัญกับสหรัฐอเมริกา และยุโรปก็กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน

ในส่วนของประเทศไทย ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นตลาดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ในเอเชีย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งทรัพยากร โดยเฉพาะสังกะสี (Zinc) อยู่มาก ซึ่งเป็นส่วนประกอบในแบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้งขนาดเล็ก ซึ่งนับว่าเป็นแร่ธาตุทางเลือกที่มีศักยภาพในการทดแทนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้ การผลักดันการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐฯ                   ในปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นโอกาสสำคัญของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของประเทศไทย และอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย

Bloomberg, New York Times, Financial Times

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

พฤษภาคม 2566

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login