หน้าแรกTrade insightธุรกิจบริการอื่นๆ > รายได้ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ในไตรมาส 1/2566

รายได้ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ในไตรมาส 1/2566

รายได้จากภาคบริการของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี (y-o-y) ได้แก่ 560,300 ล้านริงกิตมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 จาก 495,500 ล้านริงกิตในไตรมาสเดียวกันของปี (2565) รายงานโดยกรมสถิติมาเลเซีย (DOSM) โดยผลลัพธ์ในครั้งนี้ได้รับแรงสนับสนุนหลักจากด้านการค้าส่งและค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม และที่พัก ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 จากปีก่อน

หัวหน้านักสถิติ Datuk Seri Mohd Uzir Mahidin กล่าวว่าภาคการค้าส่วนอื่นๆ ก็มีส่วนช่วยในการเติบโตเช่นกัน ได้แก่ ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการขนส่งและการจัดเก็บคลังสินค้า ซึ่งเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12 จากปีก่อนเป็น 77,800 ล้านริงกิต เช่นเดียวกัน ด้านผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพอสังหาริมทรัพย์และ
การบริหาร ด้านบริการ สูงขึ้นร้อยละ 16.5 จากปีก่อนเป็น 35,300 ล้านริงกิต เมื่อเปรียบเทียบรายไตรมาสรายได้รวมสำหรับภาคส่วนนี้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 หรือ 5,500 ล้านริงกิตมาเลเซีย
ซึ่งขับเคลื่อนโดยการเพิ่มขึ้นของภาคส่วนย่อยการค้าส่งและค้าปลีก (ร้อยละ0.6) เช่นเดียวกับภาคส่วนย่อยด้านการขนส่งและการจัดเก็บ (ร้อยละ3.6)

ในขณะเดียวกัน Datuk Seri Mohd Uzir Mahidin กล่าวเสริมว่า จำนวนผู้ที่ทำงานในภาคส่วนการบริการนั้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 y-o-y หรือ 89.6 พันคน เป็น 4.4 ล้านคนในไตรมาสนี้ ขณะที่เงินเดือนและค่าจ้างก็เพิ่มขึ้น 1,400 ล้านริงกิต หรือร้อยละ 4.6 y-o-y โดยรายได้อีคอมเมิร์ซขยายตัวร้อยละ 10.4 y-o-y เป็น 3,072 ล้านริงกิตในไตรมาส 1/2566 แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส

ความคิดเห็น สคต.

ภาคบริการคือปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง โดยปัจจุบันภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงสามารถส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ภาคบริการที่สร้างรายได้หลัก อาทิ บริการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์ม การท่องเที่ยว บริการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยสามารถสร้างรายได้มวลรวมประชาชาติมาเลเซียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาคการท่องเที่ยวสามารถเป็นหนึ่งรายได้หลักของประเทศมาเลเซียในการช่วยพยุงเศรษฐกิจในประเทศไว้

อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของบริการที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าเป็นสิ่งสำคัญในการมีอิทธิพลต่อการลงทุนในประเทศ ซึ่งสะท้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการเปิดเสรีด้านนโยบายร่วมกันในด้านการเติบโตใหม่ๆ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ดังนั้น สถิติของภาคบริการจึงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพทางธุรกิจโดยรวม ระดับการลงทุน ผลผลิต และประสิทธิภาพทั่วทั้งเศรษฐกิจ รวมถึงในตลาดส่งออกอีกด้วย

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login