จากข้อมูลของสมาพันธ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความร้อนเยอรมัน (BDH – Bundesverband der Deutschen Heizungsindustrie) และสมาคมสมาพันธ์ผู้ผลิตระบบปั๊มความร้อนไฟฟ้า (BWP – Bundesverband Wärmepumpe) ได้ออกมาเปิดเผยว่า “ยอดขายปั๊มความร้อนไฟฟ้า (Heat Pump) ในไตรมาสแรกของปีนี้ ของตลาดเยอรมนีขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรือเพิ่มถึง 110% โดยพบว่า มีการขาย Heat Pump สูงถึง 91,500 เครื่อง เพิ่มจากที่เคยขายได้ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 43,500 เครื่อง จากตัวเลขดังกล่าว BWP เชื่อกันว่า น่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการติดตั้ง Heat Pump กว่า 500,000 เครื่อง/ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป ตามธรรมชาติของตลาดจะพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของทุก ๆ ปี จะถือเป็นไตรมาสที่ยอดขายสูงสุดของปี สำหรับปีนี้ มีการคาดการณ์ว่า จะมีการติดตั้ง Heat Pump มากถึง 400,000 เครื่อง
จากข้อมูลของเว็บไซต์ที่รวบรวมลิงก์ DAA ได้ดูการเคลื่อนไหวของเว็บ heizungsfinder.de (แปลว่า หาเครื่องทำความร้อน) พบว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้มีการค้นหาคำว่า Heat Pump สูงกว่าการค้นหาเครื่องทำความร้อนประเภทอื่นมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากการที่ภาครัฐออกกฎหมายห้ามติดตั้งเครื่องทำความร้อน ที่ใช้แก๊สหรือน้ำมัน นับตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป สำหรับ Heat Pump ในเยอรมนีมีสัดส่วนในตลาดเครื่องทำความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนใหญ่มักจะมีการเลือกที่จะติดตั้ง Heat Pump เป็นหลัก แต่ช่วงที่ BOOM จริง ๆ นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่รัสเซียเข้าบุกยูเครน ซึ่งทำให้วิกฤติการณ์แก๊สในยุโรป ในช่วงเวลานี้รัฐบาลเยอรมันได้ออกกฎหมายว่า นับตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไปเครื่องทำความร้อนที่นำมาติดตั้งใหม่จะต้องใช้พลังงานทางเลือกขั้นต่ำ 65% สิ่งนี้ก็ทำให้เทรนด์ความต้องการ Heat Pump ขยายตัวขึ้นไปอีก จนทำให้ความต้องการ Heat Pump ขยายตัวนำหน้าเครื่องทำความร้อนจากแก๊สไปจนตามไม่ติดในช่วงเวลาพริบตา จนทำให้บริษัทผู้ติดตั้งเครื่องทำความร้อนแทบจะติดตั้งไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เองก็ทำให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องทำความร้อนแบบเก่าในยุโรปประสบปัญหาไปตาม ๆ กัน จนล่าสุดบริษัทผลิตเครื่องทำความร้อนสัญชาติเยอรมัน Viessmann ต้องขยายธุรกิจเครื่องทำความร้อนให้กับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ Carrier จากสหรัฐอเมริกาเพราะไม่น่าจะสามารถเติบโตทันตลาด และไม่มีเงินทุนมากพอที่จะสามารถแข่งขันในตลาดพันล้านนนี้ได้ อย่างไรก็ตามครอบครัว Viessmann ได้ที่ตัดสินใจขายธุรกิจดังกล่าวก็ได้เงินกว่า 12 พันล้าน และกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Carrier เตรียมพร้อมรับมือคู่แข่งรายใหญ่จากเอเชียที่เตรียมบุกตลาดเยอรมันได้ดี
Handelsblatt 22 พฤษภาคม 2566
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน (Thanit Hirungitrungsri)
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)