การบำบัดน้ำเสียในเมืองไอแลตอิสราเอลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เป็นการคลายปัญหาน้ำใช้ในการเกษตร
ในภาวะโลกร้อนทำให้การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ในพื้นที่แห้งแล้งในอิสราเอลมีความสำคัญมาก น้ำดื่มในเมืองไอแลต (Eilat) ซึ่งอยู่ภาคใต้ของอิสราเอลที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง อีกทั้งไม่มีแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ดังนั้น น้ำดื่มจึงต้องนำมาจากน้ำใต้ดินและน้ำทะเลที่กลั่นกรองแล้ว
สำหรับน้ำที่ใช้ในการเกษตรนั้น เกษตรกรชาวอิสราเอลกำลังปรับท่อส่งน้ำชลประทานที่พันรอบต้นปาล์มทางเหนือของเมืองไอแลต ภายใต้ความร้อนที่ร้อนระอุในแถบชายทะเลของอิสราเอลซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทะเลแดงและทะเลทราย น้ำที่ใช้ให้ต้นไม้เป็นน้ำมีแร่ธาตุที่เป็นส่วนผสมของน้ำใต้ดินและน้ำเสียรีไซเคิลจากโรงบำบัดน้ำเสียในท้องถิ่นที่ไหลผ่านท่อพลาสติกบาง ๆ หยดให้ต้นอินทผลัม
นาย Arik Ashkenazi หัวหน้าวิศวกรของ Ein Netafim ซึ่งเป็นโรงงานจัดการน้ำและบำบัดน้ำในท้องถิ่นกล่าวระหว่างการเยี่ยมชมสวนปาล์ม “น้ำเสียทั้งหมดใน Eilat ได้รับการบำบัดแล้ว” น้ำจะผ่านถังและภาชนะที่กำจัดของแข็งและสารพิษ
น้ำดื่มใน ไอแลต ซึ่งไม่มีแหล่งน้ำจืด เป็นน้ำใต้ดินและน้ำทะเลกลั่น นาย Arik Ashkenazi กล่าวว่าน้ำเสียจากครัวเรือนได้รับการบำบัดแล้วส่งต่อให้กับเกษตรกร “จนถึงหยดสุดท้าย” พวกเขาผสมกับน้ำใต้ดินและใช้ใน สวน ต้นไม้ ที่ทอดยาวหลายไมล์ไปทางเหนือ เขากล่าว
สิ่งนี้ช่วยรักษาการเกษตรกรรมให้ได้ผลผลิตดีมากได้ในภูมิภาคที่แห้งแล้งนี้
ในช่วงเวลาที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อการจัดการน้ำทั่วโลก เทคนิคที่ใช้ Eilat นี้ ได้กลายเป็นต้นแบบในอิสราเอลและที่อื่น ๆ
จากข้อมูลของสหประชาชาติ ผู้คนกว่าสองพันล้านคนทั่วโลกไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มได้ และน้ำท่วมและภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
ที่มา : i24 news
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนของอิสราเอลโฆษณาประชาสัมพันธ์ลูกอินทผลัมของอิสราเอลเป็นผลผลิตจากพันธ์อินทผลัมที่ดีที่สุดในโลก และส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ นับว่าผลผลิตทางการเกษตรของอิสราเอลได้ผลผลิตคุณภาพดีและมีปริมาณมากพอบริโภคในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายประเทศต่างๆ สอดรับกับที่อิสราเอลพัฒนาเทคโนโลยีด้านที่เกี่ยวกับการเกษตรมายาวนาน เช่น การปลูกพืชในพื้นที่แห้งแล้ง การจัดการน้ำ การชลประทาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อิสราเอลไม่สามารถปลูกข้าวได้จึงนำเข้าข้าว ส่วนผักผลไม้สดชนิดอื่นที่อิสราเอลไม่สามารถปลูกได้ เช่น มะพร้าว สับปะรด ก็มีขั้นตอนการนำเข้าที่ยุ่งยากทำให้มีราคาปลีกที่แพงมาก ดังนั้น ผักผลไม้กระป๋องและผลไม้แห้งอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ส่งออกไทยที่สนใจตลาดนำเข้าอิสราเอล
——————-
สคต.เทลอาวีฟ
11 ส.ค.66
Disclaimer :ข้อมูลต่างๆที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดใดที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดและโดยทางใด
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)