หนังสือพิมพ์เช็ก”Právo” ได้นำเสนอข้อมูลว่า ประเทศเพื่อนบ้านของสาธารณรัฐเช็กมีสินค้าราคาถูกกว่า โดยมีราคาแตกต่างกันไป บางครั้งราคาแตกต่างกันสูงถึง 10,000 เช็กกคราวน์ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวเช็กพยายามหาสินค้าในราคาที่สามารถจับจ่ายได้ โดยไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องเป็นการซื้อสินค้าภายในประเทศตนเองเท่านั้น
บริษัทบางแห่ง ได้ประโยชน์จากการที่ชาวเช็กต้องจับจ่ายซื้อสินค้าราคาแพงกว่า ท่ามกลางความหวั่นวิตกในเรื่องภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งตรงกันข้ามกับทัศนคติของชาวโปแลนด์ สโลวาเกีย และเยอรมนี ที่เน้นในเรื่องราคามากกว่า ตัวอย่างเช่น การประหยัดเงินได้จำนวนมากโดยการซื้อ Skoda Octavia ในโปแลนด์ เช่นเดียวกันกับเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ที่บ่อยครั้งมีราคาต่ำกว่าในโปแลนด์
นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ Právo ยังได้ดำเนินการวิเคราะห์เปรียบเทียบราคาของสินค้าประเภทเดียวกันจาก Skoda Auto, IKEA และร้านขายยา/เวชสำอางค์ของ DM ทั้งในสาธารณรัฐเช็กและประเทศเพื่อนบ้าน ตัวอย่างเช่น รถ Skoda Fabia in Ambition trim แบบ 1.0 MPI engine ในสาธารณรัฐเช็ก มีราคา 369,900 เช็กคราวน์ แต่ในสโลวาเกีย มีส่วนลด 15,000 เช็กคราวน์ ขณะที่ Octavia Ambition with a 1.5 TSI engine มีราคาในสาธารณรัฐเช็ก 679,900 เช็กคราวน์ แต่รถยนต์ที่คล้ายกันในประเทศโปแลนด์ มีราคาถูกกว่า 50,000 เช็กคราวน์ เป็นต้น
ในช่วงครึ่งปีแรก ราคาที่แตกต่างกันมาจากสาเหตุในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินสล็อตตี้ของโปแลนด์และค่าเงินเช็กคราวน์ ดังนั้น การหาซื้อยานพาหนะจากโปแลนด์ทำให้ประหยัดเงินได้ถึง 100,000 เช็กคราวน์ อย่างไรก็ดี การซื้อ new Octavia Combi จากบัลแกเรียก็ทำให้ประหยัดเงินไปได้ในระดับเดียวกัน
แม้ว่าราคาสินค้ากลุ่มรถยนต์จะมีราคาที่แตกต่างกัน แต่การขายรถยนต์ในเช็กยังคงมีอยู่มาก นายฟานต้า ผู้เชี่ยวชาญจาก EY ระบุว่า ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคมีส่วนทำให้ราคายังคงอยู่ในระดับเดิม แม้ว่าจะมีการ
พิจารณาในเรื่องการท่องเที่ยวแบบช็อปปิ้งในประเทศโปแลนด์ และเขตชายแดนของเยอรมนีก็ตาม นายฟานต้าเห็นว่าปัจจัยต่าง ๆ อาทิ อัตราการแลกเปลี่ยน และต้นทุนที่เกี่ยวข้องของการบริหารจัดการสกุลเงิน ล้วนแต่ส่งผลให้ราคาแตกต่างกัน และพบว่าเมื่อเทียบกับตลาดใหญ่ ๆ อย่างเยอรมนี ออสเตรีย และโปแลนด์ ตลาดเช็กที่มีขนาดเล็กกว่า สินค้าเฉพาะเจาะจงบางประเภทจะมีการแข่งขันที่น้อยกว่าและมีต้นทุนคงที่สูงกว่า
ทางด้านนายยีรี เพรูทกา ผู้จัดการฝ่ายการสื่อสารของร้านค้าปลีก DM กล่าวเสริมว่า การดำเนินธุรกิจเครือข่ายร้านค้าปลีกที่เล็กกว่า ทำให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์ การเช่า และค่าดำเนินการต่าง ๆ ราคาสินค้าที่ปรากฏจึงสะท้อนให้เห็นถึงค่าธรรมเนียมและภาษีที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจคือ สโลวาเกียที่แม้จะมีประชากรเพียงครึ่งหนึ่งของสาธารณรัฐเช็ก ราคาสินค้าในทุกกลุ่มกลับมีราคาต่ำกว่า โดยมีราคาแตกต่างกันไปนับแต่หลักหน่วยจนถึงระดับเกือบร้อยละ 40 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับประเด็นที่ว่า ตลาดขนาดเล็กกว่า สินค้าจะมีราคาสูงกว่า ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก J&T ให้ความเห็นว่า บริษัท
ต่าง ๆ ยังคงเชื่อว่าดีมานด์ภายในประเทศจะกลับคืนมาเหมือนเดิม ด้วยการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงมีอยู่
ข้อเสนอแนะ/โอกาส/แนวทาง
จากรายงานข้อมูลที่ว่าผู้บริโภคสนใจสินค้าที่ราคาถูกกว่าในต่างประเทศ ทำให้เริ่มเห็นแนวโน้มความต้องการสินค้าของผู้บริโภคในตลาดเช็กเริ่มขยับขยายและมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางบวก ทั้งนี้ แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความสนใจสินค้าราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง และรถยนต์ แต่สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับกลุ่มสินค้าที่มิใช่อาหาร ที่ผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยกลุ่มนี้มากขึ้น แม้จะมองหาสินค้าราคาถูกกว่าจะประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม
สินค้าในกลุ่ม Non-Food น่าจะเริ่มมีโอกาสทางการตลาดมากขึ้นในช่วงปลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเทศกาลที่ต้องมีการให้ของขวัญ อาทิ ช่วงคริสต์มาส ทั้งนี้ ราคายังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า หากผู้ผลิต/ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิต แต่ยังคงเน้นในเรื่องคุณภาพของสินค้า รวมถึงสร้างจุดขายการลดราคาหรือการมีโปรโมชั่นสินค้าในช่วงจังหวะที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคา จะช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดได้ดีขึ้น
***************************************
Prague Morning
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปราก
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)