หน้าแรกTrade insightการลงทุนระหว่างประเทศ > “ปัญหาเงินเฟ้อหนักกว่าที่หลายคนคิด”

“ปัญหาเงินเฟ้อหนักกว่าที่หลายคนคิด”

Joachim Nagel

นาย Joachim Nagel ประธานธนาคารกลางเยอรมันเห็นว่า “หากต้องการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อในเยอรมนี คงจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้น” โดยนาย Nagel ได้กล่าวในการประชุม Frankfurt Euro Finance Summit ว่า “แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (Euro Zone) จะลดลง แต่ก็ยังสูงเกินไป ซึ่งจากสถานการณ์ล่าสุดได้สะท้อนให้เห็นว่า เราไม่ควรที่จะหวังว่า เสถียรภาพด้านราคา (Price Stability) จะกลับมาอยู่ในระดับเก่าในอนาคตอันใกล้นี้” และเขายังได้กล่าวต่ออีกว่า “ปัญหาเงินเฟ้อหนักกว่าที่หลายคนคิด ซึ่งหมายความว่า นโยบายการเงินจะต้องเข้มขึ้นและมีความสม่ำเสมอกว่าที่ทุกคนคาดไว้”

หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินนโยบายดอกเบี้ยนโยบายแบบ 0% หรือติดลบมาหลายปีติดต่อกัน ในฤดูร้อนที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวอย่างฉับพลันและมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022 เป็นต้นมา ซี่ง ECB ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมาแล้วถึง 8 ครั้ง เพื่อหาทางต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถกู้ยืมจาก ECB อยู่ที่ 4% และในวันที่ 27 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ มีความเป็นไปได้ที่นาง Christine Lagarde ประธาน ECB จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งนาย Nagel ประธานธนาคารกลางเยอรมันและดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการของ ECB ได้กล่าวว่า “เราจะตัดสินใจว่า จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลักอีกหรือไม่ หรือขนาดไหนนั้น ภายหลังจากที่เสร็จสิ้นการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับทิศทางของข้อมูลต่าง ๆที่เกิดขึ้น แต่เท่าที่ผมดูข้อมูลวันนี้ ยังเป็นไปได้ที่เราจะปรับอัตราดอกเบี้นให้สูงขึ้น”

การที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ ECB ตั้งเป้าหมายระยะกลางเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาในเขต Euro Zone และต้องการให้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2% ซึ่งนาย Nagel ออกมาย้ำต่ออีกว่า จะมีเพียงประชาชนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะพูดถึง เสถียรภาพราคา (คือสิ่งที่จะช่วยรักษาสมดุลของราคาเอาไว้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่เปลี่ยนแปลงมากจนเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค เพื่อเอื้อต่อการวางแผนการใช้จ่ายและลงทุน) หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% หรือสูงกว่านี้ จะเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงฝังตัวอยู่อย่างเหนี่ยวแน่น โดยเขากล่าวว่า “ในเวลานี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารมีความผันผวนค่อนข้างมาก และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงแต่อย่างใด และจากการประเมินอัตราเงินเฟ้ออย่างไม่เป็นทางการของเดือนมิถุนายน 2023 อยู่ที่ 5.4% ซึ่งตัวเลขจริงก็คงจะไม่ต่างจากตัวเลขนี้มากนัก ซึ่งหมายความว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนปรับตัวสูงขึ้นอีกเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า” อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความเหนี่ยวแน่นกว่าอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ย ซึ่งลดลงได้อย่างกว่านั้นเอง

ด้านนาง Lagarde กล่าวในการประชุมประธานธนาคารกล่างในเมืองซินตรา โปรตุเกส ว่า นักลงทุนต้องเตรียมพร้อมสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเขต Euro Zone ว่า “เราจะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยให้ขึ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและจะคงอัตราดอกเบี้ยในที่จุดนี้นายที่สุดเท่าที่ทำได้” สิ่งที่นาง Lagarde หมายถึงคือ ECB จะระบุอัตราดอกเบี้ยที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมากพอจนทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างถาวร สู่ค่าเป้าหมายของ ECB ที่ตั้งไว้ที่ 2% ไม่น่าเป็นไปได้ที่เราจะสามารถบอกได้ว่า อัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ใด และหากตัวเลขไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็น่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสิ้นเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตามนางก็ไม่เปิดเผยให้ทราบว่า จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นหลังจากเดือนกรกฎาคมต่ออีกหรือไม่

Handelsblatt und ZDF 21 กรกฎาคม 2566

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน (Thanit Hirungitrungsri)

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login