หน้าแรกTrade insightปาล์มน้ำมัน > ข้อมูลสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในเมียนมา

ข้อมูลสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในเมียนมา

  1. ภาพรวมสถานการณ์

      1การเพาะปลูกและผลิต “ปาล์มน้ำมัน” ในเมียนมาเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นหลังจากที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้การช่วยเหลือ ประกอบกับได้สร้างความร่วมมือกับประเทศมาเลเซียในการเพิ่มพื้นที่สวนปาล์ม ภาคเกษตรกรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศของเมียนมา หลังจากเปิดประเทศเพื่อการค้าและการลงทุน รัฐบาลเมียนมามีนโยบายให้ “พัฒนาภาคเกษตรกรรมเป็นฐานหลักของการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งประเทศ”  โดยให้กระทรวง เกษตรและการชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งรัฐบาลได้ปรับนโยบายการเกษตรในพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ยางพารา อ้อย และฝ้ายเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ตลาดและการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ดังนี้

1) เปิดให้มีการลงทุนเสรีในสินค้าเกษตร อาทิ อ้อย ยางพารา และฝ้าย

2) ส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อการส่งออก

3) กำหนดราคาตลาดในสินค้าเกษตร ได้แก่ ฝ้าย อ้อย และยางพารา เพื่อนำมาใช้ในโรงงานของภาครัฐ

4) อนุญาตให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออก สามารถส่งออกยางพาราส่วนเกินได้ หลังจากที่ชำระภาษีแล้ว

5)  อนุญาตให้โรงงานภาครัฐตั้งในเขตพื้นที่ขยายการเพาะปลูกฝ้าย น้ำตาล และอ้อย เพื่อตอบสนองการบริโภค    แม้เมียนมามีการผลิตปาล์มน้ำมัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงมีการขยายพื้นที่การปลูกปาล์มขึ้น ซึ่งสภาพอากาศและลักษณะดินของประเทศเมียนมาเหมาะแก่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยังมีพื้นที่ที่สามารถขยายเพื่อการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันอีกมาก ประเทศเมียนมานำเข้าน้ำมันปาล์มเป็นหลักจากประเทศอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

ปัจจุบัน การบริโภคน้ำมันปาล์มภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี การผลิตน้ำมันปรุงอาหารในท้องถิ่นอยู่ที่ ประมาณ 400,000 ตัน จึงมีการนำเข้าน้ำมันปรุงอาหาร ประมาณ 700,000 ตัน ทุกๆปี จากประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซียเพื่อให้เพียงพอกับปริมาณน้ำมันในตลาด ในตลาดขายส่งเมียนมา ราคาปาล์มน้ำมันสูงถึง 6,000 จ๊าด ต่อ Viss

2ภาครัฐจึงให้การสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเต็มที่โดยจัดสรรพื้นที่ให้นักลงทุนทั้งในและ ต่างประเทศมาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้เป็นระยะเวลา 30 ปี หรือนานกว่านั้น ประกอบกับเมียนมามีอัตราจ้างค่าแรงที่ไม่สูงมากเป็นปัจจัยดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ รัฐยังเห็นโอกาสจากการที่นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนและได้พันธุ์ที่เหมาะสมเข้ามาปลูก และได้แลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจรของประเทศเมียนมาในอนาคต

ที่มา : 1(BOI) และ 2เส้นทางอาชีพ : เมียนมาดูงานวิจัยปาล์มน้ำมัน : โดย สุรัตน์ อัตตะ.

  1. พื้นที่เพาะปลูกหรือพื้นที่เก็บเกี่ยว

พื้นที่ที่ต้นปาล์มน้ำมันสามารถเติบโตได้ดีในเมียนมาอยู่ที่บริเวณเขตตะนาวศรี โดยเฉพาะในจังหวัดมะริด และ จังหวัดเกาะสอง โดยประเทศเมียนมามีพื้นที่ราบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 11.67 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนั้น เมียนมา ยังมีแผนจะขยายพื้นที่เพาะปลูกอีก 5.7 ล้านเฮกตาร์ หรือร้อยละ 8.4 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งภาพรวมพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศเมียนมา สามารถแบ่งเป็น 6 เขต ตามสภาพภูมิประเทศ ดังนี้

ภาพรวมพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศเมียนมา

 

พื้นที่ ลักษณะทางกายภาพ เขตการปกครอง พืชเพาะปลูกหลัก
พะโค, คะฉิ่น พื้นที่ริมน้ำ พื้นที่ปากแม่น้ำตอนบน, ที่ราบ     คะฉิ่น,ที่ราบบริเวณริมฝั่ง แม่น้ำ     อิระวดีและสิตต่วย (ปริมาณน้ำฝน 1,000-2,500 มม.) เขตอิระวดี,รัฐคะฉิ่น,        เขตซาไก, เขตมัณฑะเลย์, เขตพะโค ข้าว,พืชให้เมล็ด, ปาล์มน้ำมัน, อ้อย, ยาสูบ
พื้นที่แห้งแล้ง ส่วนกลาง ฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 1000 มม. อุณหภูมิสูงในฤดูร้อน, ที่ราบ กว้างและพื้นที่มีสภาพไม่แน่นอน เขตมากวี, เขตมัณฑะเลย์, เขตซาเกียง พืชพื้นที่สูง, ปาล์มน้ำมัน, พืชให้เมล็ด, ข้าว, ฝ้าย
ปากแม่น้ำ และชายฝั่งพื้นที่ราบต่ำ พื้นที่ปากแม่น้ำบริเวณชายฝั่ง,    พื้นที่ต่ำ, ฝนตกหนัก

(มากกว่า 2,500 มม.)

เขตอิระวดี, เขตย่างกุ้ง, เขตบาโก,รัฐมอญ, รัฐกะเหรี่ยง, เขตตะนาวศรี, รัฐยะไข่ ข้าว,พืชให้เมล็ด, ปาล์มน้ำมัน และปาล์ม
คะฉิ่น และพื้นที่ชายฝั่ง พื้นที่ราบสูง เขตภูเขา, พื้นที่ชัน และมีฝนตกหนัก

(มากกว่า 2,500 มม.)

รัฐคะฉิ่น, ยะไข่, บาโก ตะนาวศรี, รัฐมอญ, รัฐกะเหรี่ยง, รัฐคะยา, ย่างกุ้ง ปาล์มน้ำมัน, สวนผลไม้, และ

พืชพื้นที่สูง

เนินเขาภาคเหนือ ตะวันออกและ ตะวันตก พื้นที่เนินเขา, สภาพื้นที่ ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณฝน และมีพื้นที่ชัน รัฐคะฉิ่น, รัฐชิน และรัฐฉาน พืชบนพื้นที่สูง, พืชไร่หมุนเวียน และผลไม้
พื้นที่ราบต่ำและที่ราบสูงของเมียนมาและที่ราบรัฐฉาน ที่ราบสูงและที่ราบต่ำ

นอกเขตพื้นที่แห้งแล้งส่วนกลาง และพื้นที่ราบกว้าง

เขตซาเกียง, รัฐคะฉิ่น, รัฐฉาน,เขตพะโค, เขตมากวี, เขตมัณฑะเลย์, และเขตย่างกุ้ง พืชพื้นที่สูง, ผัก, ข้าวสาลี, พืชให้เมล็ด, และปาล์มน้ำมัน

ที่มา : BOI

  1. การผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศเมียนมา

ปี

ปริมาณ (เมตริกตัน)

อัตราการขยายตัว

2020

1,136,000

-0.70%

2021

1,135,000

-0.09 %

2022

1,159,000

2.11 %

2023

1,158,000

(คาดการณ์)

-0.09%

     Source: United States Department of Agriculture

ในปี 2022 เมียนมาสามารถการผลิตปาล์มน้ำมันได้ 1,159,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.11 จากปี 2021 และ คาดการณ์ปริมาณการผลิตในปี 2023 อยู่ที่ 1,158,000 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 0.09 จากปี 2022

  1. การนำเข้าปาล์มน้ำมัน

ปี

ปริมาณ (เมตริกตัน)

อัตราการขยายตัว

2019

938,000

-0.53 %

2020

865,000

-7.78%

2021

642,000

 -25.78%

2022

950,000

47.98%

Source: United States Department of Agriculture

การนำเข้าปาล์มน้ำมันของเมียนมาในปี 2022 มีปริมาณการนำเข้าอยู่ที่ 950,000 เมตริกตัน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 47.98 ปาล์มน้ำมันจากไทยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านชายแดนเป็นหลัก ขณะที่ปาล์มน้ำมันที่ส่งไปยังภาคกลางนั้นจะเป็นปาล์มน้ำมันที่รัฐบาลสั่งซื้อจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย

 5.การส่งออกปาล์มน้ำมัน

          จากสถิติ Global Trade Atlas สำหรับการส่งออกปาล์มน้ำมันจากเมียนมาไปต่างประเทศ ในปี 2022 เป็นการส่งออกไปยังประเทศจีนมากสูงสุดเป็นอันดับ 1 มีมูลค่ากว่า 859,695 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 322.56 เมื่อเทียบกับปี 2021

  1. การบริโภคปาล์มน้ำมันในประเทศเมียนมาต่อปี

ปี

ปริมาณการบริโภคภายในประเทศ (เมตริกตัน)

อัตราการขยายตัว

2019

870,000

2.35%

2020

900,000

3.45%

2021

838,000

-6.89%

2022

910,000

8.59%

Source: United States Department of Agriculture

การบริโภคปาล์มน้ำมันในประเทศเมียนมาในปี 2022 มีปริมาณการบริโภคอยู่ที่ 910,000 เมตริกตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.59 เมื่อเทียบกับปี 2021 ทั้งนี้ ในปี 2020-2021 มีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นที่ 900,000 เมตริกตันและ 838,000 เมตริกตัน ตามลำดับ

 กฎระเบียบการนำเข้าสินค้า

– การนำเข้าสินค้าต้องใช้เงินที่ได้จากการส่งออกเท่านั้น (Export First, Import Later System) ดังนั้นผู้นำเข้าในเมียนมาที่ไม่มีรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออก จึงต้องซื้อบัญชีเงินเหรียญสหรัฐฯ จากผู้ส่งออกที่มีรายได้เงินตราต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับใช้ประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้าจากรัฐบาลเมียนมา ทั้งนี้ผู้นำเข้าต้องซื้อเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออก (Export Earning) ในอัตราที่สูงกว่าอัตราตลาดเล็กน้อย โดยปกติการนำเข้าและส่งออกนิยมใช้รูปแบบการขนส่งเพียง 2 ประเภท คือ ทางเรือกับทางบก (ชายแดน)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

มิถุนายน 2566

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login