- ภาพรวมสถานการณ์
1การเพาะปลูกและผลิต “ปาล์มน้ำมัน” ในเมียนมาเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นหลังจากที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้การช่วยเหลือ ประกอบกับได้สร้างความร่วมมือกับประเทศมาเลเซียในการเพิ่มพื้นที่สวนปาล์ม ภาคเกษตรกรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศของเมียนมา หลังจากเปิดประเทศเพื่อการค้าและการลงทุน รัฐบาลเมียนมามีนโยบายให้ “พัฒนาภาคเกษตรกรรมเป็นฐานหลักของการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งประเทศ” โดยให้กระทรวง เกษตรและการชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งรัฐบาลได้ปรับนโยบายการเกษตรในพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ยางพารา อ้อย และฝ้ายเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ตลาดและการผลิตภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ดังนี้
1) เปิดให้มีการลงทุนเสรีในสินค้าเกษตร อาทิ อ้อย ยางพารา และฝ้าย
2) ส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อการส่งออก
3) กำหนดราคาตลาดในสินค้าเกษตร ได้แก่ ฝ้าย อ้อย และยางพารา เพื่อนำมาใช้ในโรงงานของภาครัฐ
4) อนุญาตให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออก สามารถส่งออกยางพาราส่วนเกินได้ หลังจากที่ชำระภาษีแล้ว
5) อนุญาตให้โรงงานภาครัฐตั้งในเขตพื้นที่ขยายการเพาะปลูกฝ้าย น้ำตาล และอ้อย เพื่อตอบสนองการบริโภค แม้เมียนมามีการผลิตปาล์มน้ำมัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงมีการขยายพื้นที่การปลูกปาล์มขึ้น ซึ่งสภาพอากาศและลักษณะดินของประเทศเมียนมาเหมาะแก่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยังมีพื้นที่ที่สามารถขยายเพื่อการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันอีกมาก ประเทศเมียนมานำเข้าน้ำมันปาล์มเป็นหลักจากประเทศอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์
ปัจจุบัน การบริโภคน้ำมันปาล์มภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี การผลิตน้ำมันปรุงอาหารในท้องถิ่นอยู่ที่ ประมาณ 400,000 ตัน จึงมีการนำเข้าน้ำมันปรุงอาหาร ประมาณ 700,000 ตัน ทุกๆปี จากประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซียเพื่อให้เพียงพอกับปริมาณน้ำมันในตลาด ในตลาดขายส่งเมียนมา ราคาปาล์มน้ำมันสูงถึง 6,000 จ๊าด ต่อ Viss
2ภาครัฐจึงให้การสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเต็มที่โดยจัดสรรพื้นที่ให้นักลงทุนทั้งในและ ต่างประเทศมาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้เป็นระยะเวลา 30 ปี หรือนานกว่านั้น ประกอบกับเมียนมามีอัตราจ้างค่าแรงที่ไม่สูงมากเป็นปัจจัยดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ รัฐยังเห็นโอกาสจากการที่นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนและได้พันธุ์ที่เหมาะสมเข้ามาปลูก และได้แลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจรของประเทศเมียนมาในอนาคต
ที่มา : 1(BOI) และ 2เส้นทางอาชีพ : เมียนมาดูงานวิจัยปาล์มน้ำมัน : โดย สุรัตน์ อัตตะ.
- พื้นที่เพาะปลูกหรือพื้นที่เก็บเกี่ยว
พื้นที่ที่ต้นปาล์มน้ำมันสามารถเติบโตได้ดีในเมียนมาอยู่ที่บริเวณเขตตะนาวศรี โดยเฉพาะในจังหวัดมะริด และ จังหวัดเกาะสอง โดยประเทศเมียนมามีพื้นที่ราบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 11.67 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนั้น เมียนมา ยังมีแผนจะขยายพื้นที่เพาะปลูกอีก 5.7 ล้านเฮกตาร์ หรือร้อยละ 8.4 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งภาพรวมพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศเมียนมา สามารถแบ่งเป็น 6 เขต ตามสภาพภูมิประเทศ ดังนี้
ภาพรวมพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศเมียนมา
พื้นที่ | ลักษณะทางกายภาพ | เขตการปกครอง | พืชเพาะปลูกหลัก |
พะโค, คะฉิ่น พื้นที่ริมน้ำ | พื้นที่ปากแม่น้ำตอนบน, ที่ราบ คะฉิ่น,ที่ราบบริเวณริมฝั่ง แม่น้ำ อิระวดีและสิตต่วย (ปริมาณน้ำฝน 1,000-2,500 มม.) | เขตอิระวดี,รัฐคะฉิ่น, เขตซาไก, เขตมัณฑะเลย์, เขตพะโค | ข้าว,พืชให้เมล็ด, ปาล์มน้ำมัน, อ้อย, ยาสูบ |
พื้นที่แห้งแล้ง ส่วนกลาง | ฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 1000 มม. อุณหภูมิสูงในฤดูร้อน, ที่ราบ กว้างและพื้นที่มีสภาพไม่แน่นอน | เขตมากวี, เขตมัณฑะเลย์, เขตซาเกียง | พืชพื้นที่สูง, ปาล์มน้ำมัน, พืชให้เมล็ด, ข้าว, ฝ้าย |
ปากแม่น้ำ และชายฝั่งพื้นที่ราบต่ำ | พื้นที่ปากแม่น้ำบริเวณชายฝั่ง, พื้นที่ต่ำ, ฝนตกหนัก
(มากกว่า 2,500 มม.) |
เขตอิระวดี, เขตย่างกุ้ง, เขตบาโก,รัฐมอญ, รัฐกะเหรี่ยง, เขตตะนาวศรี, รัฐยะไข่ | ข้าว,พืชให้เมล็ด, ปาล์มน้ำมัน และปาล์ม |
คะฉิ่น และพื้นที่ชายฝั่ง พื้นที่ราบสูง | เขตภูเขา, พื้นที่ชัน และมีฝนตกหนัก
(มากกว่า 2,500 มม.) |
รัฐคะฉิ่น, ยะไข่, บาโก ตะนาวศรี, รัฐมอญ, รัฐกะเหรี่ยง, รัฐคะยา, ย่างกุ้ง | ปาล์มน้ำมัน, สวนผลไม้, และ
พืชพื้นที่สูง |
เนินเขาภาคเหนือ ตะวันออกและ ตะวันตก | พื้นที่เนินเขา, สภาพื้นที่ ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณฝน และมีพื้นที่ชัน | รัฐคะฉิ่น, รัฐชิน และรัฐฉาน | พืชบนพื้นที่สูง, พืชไร่หมุนเวียน และผลไม้ |
พื้นที่ราบต่ำและที่ราบสูงของเมียนมาและที่ราบรัฐฉาน | ที่ราบสูงและที่ราบต่ำ
นอกเขตพื้นที่แห้งแล้งส่วนกลาง และพื้นที่ราบกว้าง |
เขตซาเกียง, รัฐคะฉิ่น, รัฐฉาน,เขตพะโค, เขตมากวี, เขตมัณฑะเลย์, และเขตย่างกุ้ง | พืชพื้นที่สูง, ผัก, ข้าวสาลี, พืชให้เมล็ด, และปาล์มน้ำมัน |
ที่มา : BOI
- การผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศเมียนมา
ปี |
ปริมาณ (เมตริกตัน) |
อัตราการขยายตัว |
2020 |
1,136,000 |
-0.70% |
2021 |
1,135,000 |
-0.09 % |
2022 |
1,159,000 |
2.11 % |
2023 |
1,158,000
(คาดการณ์) |
-0.09% |
Source: United States Department of Agriculture
ในปี 2022 เมียนมาสามารถการผลิตปาล์มน้ำมันได้ 1,159,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.11 จากปี 2021 และ คาดการณ์ปริมาณการผลิตในปี 2023 อยู่ที่ 1,158,000 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 0.09 จากปี 2022
- การนำเข้าปาล์มน้ำมัน
ปี |
ปริมาณ (เมตริกตัน) |
อัตราการขยายตัว |
2019 |
938,000 |
-0.53 % |
2020 |
865,000 |
-7.78% |
2021 |
642,000 |
-25.78% |
2022 |
950,000 |
47.98% |
Source: United States Department of Agriculture
การนำเข้าปาล์มน้ำมันของเมียนมาในปี 2022 มีปริมาณการนำเข้าอยู่ที่ 950,000 เมตริกตัน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 47.98 ปาล์มน้ำมันจากไทยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านชายแดนเป็นหลัก ขณะที่ปาล์มน้ำมันที่ส่งไปยังภาคกลางนั้นจะเป็นปาล์มน้ำมันที่รัฐบาลสั่งซื้อจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย
5.การส่งออกปาล์มน้ำมัน
จากสถิติ Global Trade Atlas สำหรับการส่งออกปาล์มน้ำมันจากเมียนมาไปต่างประเทศ ในปี 2022 เป็นการส่งออกไปยังประเทศจีนมากสูงสุดเป็นอันดับ 1 มีมูลค่ากว่า 859,695 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 322.56 เมื่อเทียบกับปี 2021
- การบริโภคปาล์มน้ำมันในประเทศเมียนมาต่อปี
ปี |
ปริมาณการบริโภคภายในประเทศ (เมตริกตัน) |
อัตราการขยายตัว |
2019 |
870,000 |
2.35% |
2020 |
900,000 |
3.45% |
2021 |
838,000 |
-6.89% |
2022 |
910,000 |
8.59% |
Source: United States Department of Agriculture
การบริโภคปาล์มน้ำมันในประเทศเมียนมาในปี 2022 มีปริมาณการบริโภคอยู่ที่ 910,000 เมตริกตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.59 เมื่อเทียบกับปี 2021 ทั้งนี้ ในปี 2020-2021 มีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นที่ 900,000 เมตริกตันและ 838,000 เมตริกตัน ตามลำดับ
กฎระเบียบการนำเข้าสินค้า
– การนำเข้าสินค้าต้องใช้เงินที่ได้จากการส่งออกเท่านั้น (Export First, Import Later System) ดังนั้นผู้นำเข้าในเมียนมาที่ไม่มีรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออก จึงต้องซื้อบัญชีเงินเหรียญสหรัฐฯ จากผู้ส่งออกที่มีรายได้เงินตราต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับใช้ประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้าจากรัฐบาลเมียนมา ทั้งนี้ผู้นำเข้าต้องซื้อเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออก (Export Earning) ในอัตราที่สูงกว่าอัตราตลาดเล็กน้อย โดยปกติการนำเข้าและส่งออกนิยมใช้รูปแบบการขนส่งเพียง 2 ประเภท คือ ทางเรือกับทางบก (ชายแดน)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
มิถุนายน 2566
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)