หน้าแรกTrade insightข้าว > “ของว่างเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กได้รับความสนใจ”

“ของว่างเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กได้รับความสนใจ”

ของว่างสำหรับเด็กที่ทำจากแป้งข้าวและผลไม้กำลังได้รับความสนใจ มีการพัฒนาสินค้า เช่น ขนมสโคนจากแป้งข้าว ผงโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนาการจากผักและผลไม้ มีผู้ปกคร

องจำนวนมากเป็นห่วงเกี่ยวกับการเลือกของว่าที่เป็นประโยชน์ให้ลูก บริษัทต่างๆจึงพยายามพัฒนาสินค้าของว่างที่ทำจากธรรมชาติและมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคพ่อแม่ที่หวังให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง
บริษัท MiL ผู้ผลิตอาหารสำหรับเด็กอ่อนและเด็กเล็ก ได้ร่วมกับบริษัทขายส่งสินค้าขนม พัฒนาสินค้าของว่างและวางจำหน่ายในวันที่ 4 กันยายน ภายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อประมาณ 1,000 แห่ง โดยสินค้าที่พัฒนาขึ้นไม่มีการแต่งกลิ่นและสี และใช้วัตถุดิบภายในประเทศ สินค้าที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ บัตเตอร์สโคน ที่ทำมาจากนมฮอกไกโดและแป้งข้าว (ราคา 598 เยน ไม่รวมภาษีบริโภค หรือประมาณ 145 บาท) เป็นสินค้า Gluten free ทำให้พ่อแม่ที่มีลูกแพ้อาหารก็สามารถให้รับประทานได้อย่างสบายใจ ขนมริงสแน็กจากข้าวกล้อง (ราคา 498 เยน หรือประมาณ 120 บาท)
เด็กอ่อนและเด็กเล็กรับประทานอาหารแต่ละมื้อได้ปริมาณไม่มากนัก จึงยากที่จะรับสารอาหารได้อย่างครบถ้วน บริษัทจึงคาดการณ์ว่า อาจเกิดความต้องการของว่างที่รับประทานระหว่างมื้อซึ่งสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการได้
บริษัท Kids mob Inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่มีโรงเรียนสอนยิมนาสติกสำหรับเด็ก จำหน่ายโปรตีนผงสำหรับเด็กที่มีส่วนผสมจากผัก 11 ชนิด เช่น มะเขือเทศ แครอท ฯลฯ และผลไม้ 11 ชนิดที่มีคุณค่าทางอาหาร ไม่ผสมน้ำตาล เป็นรสธรรมชาติที่มาจากผลไม้ เช่น สตรอเบอรี่และผักต่างๆ จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์
บริษัท Kanro Inc. ที่เป็นที่รู้จักว่าเป็นผู้ผลิตขนมเยลลี่เจลาติน ได้ทำการสำรวจพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 3 – 6 ปีจำนวน 500 คน พบว่า ร้อยละ 60 ของพ่อแม่เป็นห่วงว่าจะให้ลูกรับประทานของว่างอะไรดี
จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ พบว่า จำนวนเด็กทารกที่คลอดปี 2565 ซึ่งรวมชาวต่างชาติด้วยนั้นต่ำกว่า 8 แสนคน เป็นครั้งแรกนับแต่ปี 2442 ที่มีเด็กเกิดจำนวนต่ำกว่า 8 แสนคน และจำนวนเด็กที่คลอดระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2566 ต่ำกว่า 4 แสนคน แนวโน้มเด็กเกิดใหม่จำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกัน มูลค่าตลาดเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กมีแนวโน้มขยายตัว เป็นเพราะพ่อและแม่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ทำให้เกิดความต้องการที่จะหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเลี้ยงดูลูกมากขึ้น นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กยังมีกระเป๋าสตางค์ของปู่ย่าตายายมาช่วย ทำให้เด็ก 1 คน มีคนช่วยค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู 6 กระเป๋าสตางค์ จากรายงายของบริษัท Yano Research Institute Ltd. พบว่า มูลค่าตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการสำหรับเด็กเล็ก ปี 2566 คาดการณ์เท่ากับ 4.4268 ล้านล้านเยน (ประมาณกว่า 1 ล้านล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 8

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และจำนวนเด็กทีเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2564 อัตราเจริญพันธุ์ของญี่ปุ่น (จำนวนทารกเกิดใหม่ที่รอดชีวิตต่อผู้หญิง 1 คน) เท่ากับ 1.30 ลดลง 6 ปีติดต่อกัน และเมื่อปี 2565 จำนวนการเกิดของเด็กทารกต่ำกว่า 800,000 คนเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อีกทั้งครึ่งปี 2566 ที่ผ่านมา มีจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ไม่ถึง 4 แสนคน จำนวนเด็กเกิดใหม่จึงมีแนวโน้มลดลงอย่างไม่สามารถยับยั้งได้
แม้จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่มูลค่าตลาดเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กมีแนวโน้มขยายตัวสวนทางกับจำนวนเด็กที่ลดลง เพราะนอกจากพ่อแม่แล้ว ปู่ย่าตายายยังช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก ทำให้มูลค่าการใช้จ่ายต่อเด็ก 1 คนเพิ่มขึ้น ตลาดนี้จึงเป็นตลาดที่น่าจับตามองแม้จำนวนกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ฉบับที่ 50 ประจำวันที่ 9 – 15 กันยายน 2566

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

แปลและเรียบเรียงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับวันที่ 4 กันยายน 2566
ภาพประกอบบทความจากเว็บไซต์
https://shokuiku-kikaku.com/
https://piacoco.jp/campaign/campaign-001/

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Login