หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > กาแฟเวียดนามมุ่งเน้นคุณภาพเพื่อการส่งออกที่ยั่งยืน

กาแฟเวียดนามมุ่งเน้นคุณภาพเพื่อการส่งออกที่ยั่งยืน

ในปี 2566 การส่งออกอุตสาหกรรมกาแฟของเวียดนามกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก โดยได้รับแรงหนุนจากราคาที่สูงขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อุตสาหกรรมกาแฟจะต้องมุ่งเน้นไปที่คุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มและการส่งออกอย่างยั่งยืนมากขึ้น

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามคาดว่า ในปี 2566 การส่งออกกาแฟของเวียดนามจะมีปริมาณ 1.7 ล้านตัน มีรายได้ 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสร้างฐานที่มั่นคงสำหรับ เป้าหมายการส่งออก 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573

นาย ฝ่าม กวาง อั๊ญ (Pham Quang Anh) ผู้อำนวยการการศูนย์ข้อมูลการแลกเปลี่ยนทางการค้าของเวียดนามกล่าวว่า  การส่งออกกาแฟของเวียดนามอาจจะอยู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2566 เนื่องจากราคาในประเทศและทั่วโลกอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอุปทานที่ขาดแคลน กาแฟสำรองต่ำ และความต้องการโรบัสต้าทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

สถิติจากกรมศุลกากรแสดงให้เห็นว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกกาแฟของเวียดนามมีมูลค่า 1.266 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 7.3 มูลค่า 3,160 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วงเวลาดังกล่าว ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 2,499 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.9

แม้จะมีการส่งออกที่แข็งแกร่ง แต่อุตสาหกรรมกาแฟของเวียดนามยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการรักษาการส่งออกให้อยู่ในระดับสูงในระยะยาว เนื่องจากการส่งออกยังคงขึ้นอยู่กับราคาที่สูงขึ้นและจากการขาดแคลนอุปทาน ที่ไม่ขึ้นอยู่ที่มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์กาแฟ ซึ่งจะกระตุ้นให้อุตสาหกรรมกาแฟเปลี่ยนไปที่การปรับคุณภาพผลิตภัณฑ์และสอดคล้องกับแนวโน้มรสชาติของตลาด โดยเฉพาะในตลาดการบริโภคกาแฟหลักๆ เช่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

สถิติของศุลกากรแสดงให้เห็นว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 เวียดนามจัดส่งกาแฟไปยังสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจำนวน 600,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณการส่งออกกาแฟทั้งหมดของประเทศ ในปัจจุบัน ตลาดนำเข้ากาแฟหลักๆ กำลังเปลี่ยนจากการนำเข้าเมล็ดกาแฟโรบัสต้าไปเป็นกาแฟแปรรูป

ศุลกากรของเวียดนามระบุว่า การส่งออกเมล็ดกาแฟโรบัสต้าของเวียดนามไปยังสหรัฐอเมริกาลดลงจาก 130,200 ตันในปี 2561 เหลือ 90,500 ตันในปี 2566 เวียดนามส่งออกถั่วดิบไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ยังคงไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เวียดนามปรับตัวช้าตามรสนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาดหลักๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกาแฟ

สมาคมโกโก้และกาแฟเวียดนามระบุว่า ในปี 2565 ฝนและพายุในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวกาแฟในพื้นที่ราบสูงตอนกลาง ทำให้ผลผลิตลดลงประมาณร้อยละ 10-15 ในปี 2566 เอลนิโญ (El Nino) ยังทำให้เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่ปลูกที่สำคัญของเวียดนาม โดยคาดว่า ผลผลิตอาจลดลงเพิ่มร้อยละ 10-15 หรืออยู่ที่ประมาณ 1.47 ล้านตัน แม้ว่าราคากาแฟยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ปัจจุบันเวียดนามยังขาดกาแฟเพื่อการส่งออก

กรมนำเข้าและส่งออกภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade: MoIT) กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 การส่งออกกาแฟของเวียดนามลดลง เนื่องจากอุปทานมีจำกัด อุปทานกาแฟคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2566 เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวปี 2566 – 2567 เริ่มต้นขึ้น

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกาแฟจำเป็นให้ความสำคัญกับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์กาแฟผ่านการแปรรูปเพื่อเพิ่มการส่งออก ผู้ประกอบการและเกษตรกรจำเป็นร่วมมือกัน เพื่อสร้างห่วงโซ่การผลิต นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ และส่งเสริมการเปลี่ยนจากกาแฟดิบไปเป็นกาแฟแปรรูป การเพิ่มกาแฟแปรรูปอาจเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับเวียดนามในการกระตุ้นการส่งออก โดยได้รับประโยชน์จากการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีที่เสนออัตราภาษีพิเศษร้อยละ 0-5 สำหรับผลิตภัณฑ์กาแฟแปรรูป คาดการณ์ว่าผู้ประกอบการต่างๆ จะส่งเสริมการค้า เพื่อขยายตลาดโดยมุ่งเน้นที่การเพิ่มคุณภาพและการแปรรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดนำเข้า และสร้างแบรนด์เพื่อการส่งออกที่ยั่งยืน

                                         (จาก https://vietnamnews.vn/)

ข้อคิดเห็น สคต

กาแฟเป็นสินค้าเกษตรที่ทำรายได้เข้าประเทศเวียดนามมากเป็นอันดับ 2 รองจากข้าวและเป็นประเทศที่ส่งออกกาแฟมาเป็นอันดับที่ 2 ของโลก เวียดนามส่งออกกาแฟไปยังกว่า 80 ประเทศ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญและเป็นตลาดที่ต้องการกาแฟคุณภาพสูง เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี่ และเบลเยี่ยม อีกทั้งผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าของเวียดนามได้รับความนิยมมากขึ้นจากหลายประเทศเพราะมีคุณภาพดีซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของกาแฟเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแบรนด์กาแฟเวียดนามใดที่ติดอยู่ในรายชื่อ 10 แบรนด์กาแฟที่แพงที่สุดในโลก เพื่อให้กาแฟเวียดนามมีคุณภาพเพื่อการส่งออกที่ยั่งยืน ผู้ประกอบการจำเป็นต้องร่วมมือกับเกษตรกรเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของกาแฟเวียดนามต้องเน้นลงทุน ตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดที่มีมาตรฐานที่เข้มงวด อีกทั้งต้องลงทุนสร้างแบรนด์กาแฟเวียดนามเพราะปัจจุบัน

นอกจากการยกระดับคุณภาพกาแฟที่ส่งออกแล้ว หน่วยงานส่งออกกาแฟยังผลักดันความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจากทั่วโลก สมาคมกาแฟและโกโก้เวียดนามกำลังเน้นลงทุนเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อทำการผลิตและส่งออกกาแฟตามแนวทางที่ยั่งยืน โดยเฉพาะ เพิ่มปริมาณกาแฟที่ได้มาตรฐาน GAP และพื้นที่ปลูกกาแฟที่ได้รับหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดให้มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด กาแฟแปรรูป กาแฟผงพร้อมชง และกาแฟคั่วบดเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20  สร้างเครื่องหมายการค้าและแสวงหาตลาดรองรับกาแฟ

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login