กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade: MoIT) ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตราส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดในอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านตัวกลางการชำระเงินหรือแอปพลิเคชันคิดเป็นร้อยละ 50 ภายในปี 2568
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการดำเนินการตามแผนระดับชาติเกี่ยวกับการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ กระทรวงฯ ได้กำหนดเป้าหมายสำหรับ การชำระเงินที่ไร้เงินสดในกิจกรรมอีคอมเมิร์ซ โดยมีเป้าหมายคือ การเพิ่มอัตราการชำระเงินที่ดำเนินการผ่านผู้ให้บริการตัวกลางเป็นร้อยละ 80 ของการชำระเงินที่ไร้เงินสดในกิจกรรมอีคอมเมิร์ซภายในปี 2568
ศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล (Centre for Information and Digital Technology: CID) ภายใต้สำนักงานอีคอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัล (MoIT’s E-commerce and Digital Economy Agency: iDEA) ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งได้ดำเนินการใช้โซลูชันต่างๆ และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการชำระเงินแบบไร้เงินสด ซึ่งรวมถึงระบบการชำระเงินอีคอมเมิร์ซแห่งชาติ (National E-commerce Payment System: Keypay) นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาระบบการชำระเงินที่ปลอดภัยสำหรับกิจกรรมอีคอมเมิร์ซ เพื่อปกป้องทั้งผู้บริโภคและผู้ขายในธุรกรรมการชำระเงินแบบไร้เงินสด เพื่อสนับสนุนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์อย่างปลอดภัย นอกจากนี้วางแผนที่จะเปิดตัวระบบที่จะรับประกันความปลอดภัยของธุรกรรมในกิจกรรมอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภคในสภาพแวดล้อมดิจิทัล และปกป้องผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในโลกออนไลน์ คาดว่าอัตราส่วนการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน ESCRO จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการชำระด้วยเงินสดเก็บเงินปลายทาง (COD) คาดว่าจะลดลง
การทำธุรกรรมที่ดำเนินการโดยไม่มีส่วนร่วมของผู้ให้บริการชำระเงินที่เป็นตัวกลาง เช่น การโอนเงิน การฝากเงินสดที่เคาน์เตอร์ และการโอนเงินทางไปรษณีย์ ปัจจุบันถือเป็นส่วนสำคัญของธุรกรรมการชำระเงินไร้เงินสด ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระหว่างการทำธุรกรรม เนื่องจากเมื่อได้รับสินค้า/บริการไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ผู้ขายอาจไม่ยอมรับการคืนเงิน และผู้บริโภคอาจไม่สามารถร้องเรียนหรือได้รับการคุ้มครองในการทำธุรกรรมดังกล่าว สาเหตุหลักคือพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงใช้เงินสด ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ำในโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่รองรับกิจกรรม อีคอมเมิร์ซ และสอดคล้องกันในการปกป้องผู้บริโภคและผู้ขายในการชำระเงินที่ไม่ใช่เงินสด
(จาก https://vietnamnews.vn/)
ข้อคิดเห็น สคต
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้คลี่คลายไป ชีวิตชาวเวียดนามกลับสู่ปกติ แต่การจ่ายเงินแบบไร้เงินสดในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 ยังคงอยู่ และกลายเป็นแนวโน้มการพัฒนาในเวียดนาม ซึ่งแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการชำระเงินของคนเวียดนามอย่างชัดเจน โดยร้อยละ 65 ของผู้บริโภคเวียดนามใช้เงินสดน้อยลง และร้อยละ 32 คนจะหยุดใช้เงินสด การชำระเงินแบบไร้เงินสดมีการเติบโตในทุกด้านและมีอัตราการเติบโตที่มั่นคงในทุกที่ ไม่ใช่แค่ในมืองใหญ่เท่านั้น แต่ในต่างจังหวัดอีกด้วย นอกจากนี้เวียดนามยังขยายรูปแบบการชำระเงินด้วย VietQR code บนพอร์ทัลบริการสาธารณะแห่งชาติกับธนาคาร 17 แห่ง และยังได้ดำเนินโครงการเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างองค์กรและบริษัทจากไทย เกาหลีใต้ กัมพูชา และรัสเซีย ซึ่งเป็นช่องทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงผู้บริโภคเวียดนามในวงกว้าง ผู้ประกอบการไทยที่เข้ามาทำตลาดสินค้าในเวียดนามทั้งการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ จึงควรพิจารณาใช้ประโยชน์จากช่องทางการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีแนวโน้มโตอย่างรวดเร็วในเวียดนาม
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)