หน้าแรกTrade insightไก่ > การจัดทำความตกลงทางการค้าของเปรู และการทบทวนความตกลง TPCEP

การจัดทำความตกลงทางการค้าของเปรู และการทบทวนความตกลง TPCEP

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศและการท่องเที่ยวของเปรู (นาย Juan Carlos Mathew) ได้แถลงถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นทางการค้ากับนานาประเทศ รวมทั้งกับประเทศไทยในที่ประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ระดับผู้นำที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ณ สหรัฐอเมริกา โดยนาย Juan Carlos Mathew ได้พบหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร  ศรีสรรพางค์) เพื่อหารือในการขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้ง การทบทวนความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทยและเปรู (Thailand-Peru Closer Economic Partnership: TPCEP) ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2554

ไทยและเปรูมีการจัดทำพิธีสารระหว่างไทยกับเปรูเพื่อเร่งการเปิดเสรีการค้าสินค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 และล่าสุดทั้ง 2 ประเทศ ได้มีการลงนามในพิธีสารฯ ฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เพื่อรองรับการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ใช้ลายเซ็นและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงข้อบทด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า และปรับโอนพิกัดศุลกากรจาก HS 2007 เป็น HS 2017 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

จากข้อมูลของหน่วยงานศุลกากรของเปรู (National Superintendence of Customs and Tax Administration – Sunat) พบว่า การค้าระหว่างไทยและเปรูในปี 2565 มีมูลค่ารวม 634 ล้านเหรียญสหัรฐ มีอัตราการขยายตัวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเปรูขาดดุลการค้ากับไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 133 ล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกของเปรูไปยังประเทศไทย

เปรูส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทย คิดเป็นมูลค่า 133 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 หรือมีการขยายตัวของการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.9 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเปรูสามารถตอบสนองต่อ non-traditional exports[1] ได้เป็นอย่างดี โดยการส่งออกสินค้าแบบ non-traditional exports ไปยังประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.1 ของการส่งออกทั้งหมดของเปรู หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 80.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.6 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกหลัก เช่น สินค้าประมง (ร้อยละ 5.1) สินค้าเกษตรกรรม (ร้อยละ 15.9) สารเคมี (ร้อยละ 21.2) และเหล็กและเหล็กกล้า (ร้อยละ 86.4) ทั้งนี้ การจัดทำความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทยและเปรู และพิธีสารฯ ที่ส่วนสนับสนุนสำคัญต่อการขยายตัวทางการค้าระหว่างไทยและเปรู โดยการส่งออกสินค้าจากเปรูไปยังไทยมีการขยายตัวเฉลี่ยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.6 ต่อปี ตั้งความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ นอกจากนี้ ที่ผ่านมาในปี 2565 การส่งออกสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการขยายตัวมากที่สุด เช่น บลูเบอร์รี่  องุ่น ปลาหมึกและหมึก Humboldt แช่แข็ง ขั้วทองแดง  ตามลำดับ

การส่งออกของเปรูไปยังภูมิภาคเอเชียในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2566 มีมูลค่ารวม 112 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.2 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีการขยายตัวของการส่งออกสูงที่สุด ได้แก่ องุ่นสด ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 107 (มูลค่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ปลาหมึกและหมึก Humboldt ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.5 (มีมูลค่า 56.5 ล้านเหรียญสหรัฐ )บลูเบอร์รีสด ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.3 (มีมูลค่า 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ

การนำเข้าของเปรูจากประเทศไทย

เปรูนำเข้าสินค้าจากไทยคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2565 หรือมีอัตราการขยายตัวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.6 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยหมวดสินค้าหลักที่เปรูนำเข้าจากไทย เช่น สินค้าทุน คิดเป็นมูลค่า 273 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีการขยายตัวร้อยละ 18.2 สินค้าอุปโภคและบริโภค (มูลค่า 144 ล้านเหรียญสหรัฐ) สินค้าขั้นกลาง (มูลค่า 83.6 ล้านเหรียญสหรัฐ) มีการขยายตัวลดลงคิดเป็นร้อยละ 18.4 และ 7.3 ตามลำดับ

สินค้าสำคัญที่เปรูนำเข้าจากไทย ได้แก่

  • รถตักและรถตักพลั่ว คิดเป็นมูลค่า 50.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า
  • รถกระบะเครื่องยนต์ดีเซล น้ำหนักไม่เกิน 4.5 ตัน มีมูลค่า 42.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 9 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า
  • ส่วนประกอบเครื่องยนต์ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,000 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร มีมูลค่า 38.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 4.1 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า
  • เครื่องซักผ้า ขนาดความจุไม่เกิน 10 กิโลกรัม มีมูลค่า 35.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า
  • เครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องแฟกซ์ และถ่ายสำเนาที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีมูลค่า 34.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.1 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า

ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2566 เปรูนำเข้าสินค้าจากไทยคิดเป็นมูลค่า 347 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยในปีนี้ สินค้าสำคัญที่เปรูนำเข้าลดลง เช่น สินค้าทุน (ลดลงร้อยละ 16.2) สินค้าอุปโภคและบริโภค (ลดลงร้อยละ 9.8) สินค้าขั้นกลาง (ลดลงร้อยละ 5.3) ตามลำดับ[1]

เปรูมีความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ รวมจำนวน 22 ฉบับ ได้แก่ (1) ความตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีกับประเทศสหรัฐอเมริกา คิวบา ชิลี แคนาดา สิงคโปร์ จีน ไทย เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ปานามา คอสตาริกา เวเนซูเอลา ฮอนดูรัส ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร (2) การเป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศ Mercosur, Pacific Alliance และกลุ่ม Andean Community (3) การเป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) และ CPTPP[1] ทั้งนี้ เปรูอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำ  FTA กับอินเดีย อินโดนีเซีย และฮ่องกง (ที่คาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ภายในกลางปี 2567) นอกจากนี้ เปรูและจีนอยู่ระหว่างการทบทวนความตกลงการการค้าที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2553 ให้มีความทันสมัยและครอบคลุมประเด็นใหม่ เช่น เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจดิจิทัล และพิธีการศุลกากร เป็นต้น

บทวิเคราะห์ /ข้อคิดเห็นจาก สคต. ณ กรุงซันติอาโก

เปรูให้ความสำคัญต่อนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยเปิดกว้างต่อการค้าและการลงทุนจากประเทศ มีการจัดทำความตกลงด้านการค้ากับหลายประเทศ เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าเปรูได้ประโยชน์จากการจัดทำความตกลงทางการค้ากับนานาประเทศ สนับสนุนบทบาทของเปรูในห่วงโซ่อุปทานโลก และเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศ  ทั้งนี้ ปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเปรูอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เปรูสามารถลดจำนวนคนยากจน รายได้ต่อหัวของประชาชนในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 2,040 เหรียญสหรัฐ ในปี 2545 เป็น 7,126 เหรียญสหรัฐ ในปี 2565 อย่างไรก็ดี GDP ของเปรูในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปีนี้ หดตัวร้อยละ 0.5 เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งความขัดแข้งทางงการเมืองในประเทศเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในสาขาการเกษตร ประมง และการท่องเที่ยว ที่มีการฟื้นตวค่อนข้างช้าในปีนี้[1] ทั้งนี้ การนำเข้าของเปรูระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 มีมูลค่า 33,949 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหดตัวร้อยละ 16 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ไทยและเปรูมีการจัดทำพิธีสารระหว่างไทยกับเปรูเพื่อเร่งการเปิดเสรีการค้าสินค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 และล่าสุดทั้ง 2 ประเทศ ได้มีการลงนามในพิธีสารฯ ฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เพื่อรองรับการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ใช้ลายเซ็นและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงข้อบทด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า และปรับโอนพิกัดศุลกากรจาก HS 2007 เป็น HS 2017 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ปัจจุบันไทยและเปรูอยู่ระหว่างดำเนินการภายใน เพื่อให้พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่สี่ฯ มีผลใช้บังคับโดยเร็วต่อไป เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าและปรับปรุงข้อบทให้สอดคล้องกับบริบทด้านการค้าในปัจจุบัน ทั้งนี้ ไทยและเปรูได้มีการหารือเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำความตกลง TPCEP ฉบับสมบูรณ์ โดยล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2566ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะผลักดันการมีผลบังคับใช้ของพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่สี่ฯ จากนั้นจึงจะหารือเรื่องความตกลง TPCEP ฉบับสมบูรณ์ต่อไป

ในปี 2566 ระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน สินค้าสำคัญของไทย 10 อันดับแรก ที่ส่งออกไปเปรู และนำเข้าจากเปรู ได้แก่[2]

สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปเปรู: (1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ  (2) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (3) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ  (4) ผลิตภัณฑ์ยาง  (5) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล  (6) ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์  (7) ข้าว (8) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้  (9) ข้าวโพด (10) เม็ดพลาสติก

สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเปรู: (1) สัตว์น้ำสด แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป  (2) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์  (3) ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ (4) เคมีภัณฑ์  (5) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช  (6) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค  (7) ลวดและสายเคเบิล (8) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (9) เสื้อผ้าสำเร็จรูป  (10) พืชสำหรับทำพันธุ์

สินค้าที่มีการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป  เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ  ผลิตภัณฑ์ยาง  ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์  และข้าว ทั้งนี้ เปรูนำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากเปรูประสบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรของเปรู และจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2554 ไทยและเปรูเริ่มลด/ยกเลิกภาษีบางส่วน (Early Harvest Scheme) จนถึงปี 2559 ภาษีสินค้าลดเหลืออัตราร้อยละ 0 แล้วคิดเป็นร้อยละ 70 ของรายการสินค้าทั้งหม โดยรายการสินค้าร้อยละ 70 ของไทยที่ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว อาทิ สินแร่ หัวแร่สังกะสี ปลาหมึก น้ำมันปลา อาหารทะเล โลหะมีค่า และเคมีภัณฑ์ ในส่วนของเปรูรายการสินค้าร้อบละ 70 ที่ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว อาทิ รถปิกอัป เครื่องซักผ้า พลาสติก ท่อเหล็กเชื่อมตะเข็บ และเครื่องจักร เป็นต้น

ไทยถือเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของเปรูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงในราคาที่แข่งขันได้ และการทบทวนความตกลง TPCEP ฉบับสมบูรณ์จะส่งผลดีต่อการค้าของทั้ง 2 ประเทศ เนื่องจากโครงสร้างการค้าระหว่างไทย-เปรู เป็นไปในลักษณะเกื้อกูลกัน สินค้าที่ไทยส่งออกไปเปรูส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าที่เปรูส่งออกไปไทยเป็นสินค้าวัตถุดิบ ซึ่งไทยต้องนำเข้าเพื่อการผลิตในประเทศ โดยสินค้าไทยที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการทบทวนความตกลงฯ จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวของทั้ง 2 ประเทศ เช่น ข้าว น้ำตาล ไก่ ข้าวโพด นมและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ การทบทวนความตกลงฯ จะครอบคลุมประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายสนใจร่วมกันและสาขาความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การค้าการลงทุน SMEs เกษตร ประมง ป่าไม้ อาหาร  บริการ  ท่องเที่ยว พลังงาน เป็นต้น

นอกจากการทบทวนความตกลง TPCEP แล้ว เปรูยังอยู่ระหว่างการเจรจาการค้ากับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น ฮ่องกง และอินโดนีเซีย โดยในส่วนของฮ่องกง หากเปรูสามารถบรรลุการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับฮ่องกงได้ภายในต้นปี 2567 จะเป็นผลดีต่อการขยายตัวทางค้าและการลงทุนของทั้งเปรูและฮ่องกง อย่างไรก็ดี แม้ว่าสินค้าส่งออกสำคัญของฮ่องกงจะความใกล้เคียงกับสินค้าส่งออกของไทย อาทิ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักร อัญมณีและเครื่องประดับ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงซันติอาโก คาดว่าสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังเปรูไม่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสินค้าที่เปรูนำเข้าจากฮ่องกงมิได้เป็นสินค้าหลักที่เปรูนำเข้าจากไทย และการจัดทำความตกลงการค้าเสรีเปรู-ฮ่องกง จะเป็นผลดีต่อสินค้าเกษตรกรรมของเปรูในกลุ่มผลไม้ (เชอร์รี่ กีวี องุ่น) และปลาแซลมอน และในส่วนของอินโดนีเซียเปรูมีการทาบทามอินโดนีเซีย เพื่อหารือและศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ร่วมกันนั้น แม้จะยังมิได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปเปรูในอนาคตอันใกล้ แต่อาจจะส่งผลในอนาคต เนื่องจากสินค้าบางรายการที่เปรูนำเข้าจากอินโดนีเซียในปัจจุบัน เป็นคู่แข่งกับสินค้าไทย เช่น รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน ทูน่า และสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากยางพารา เป็นต้น

________________________

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก

ธันวาคม 2566

[1] An international financial institution that provides loans and grants to the governments of low- and middle-income countries –  https://www.worldbank.org/en/country/peru/overview

[2]สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์  https://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx

ามทันสมัยและครอบคลุมประเด็นใหม่ เช่น เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจดิจิทัล และพิธีการศุลกากร เป็นต้น

[1] https://www.gob.pe/institucion/mincetur/noticias/639128-intercambio-comercial-del-peru-con-paises-con-tlc-supero-los-us-54-000-millones-en-el-primer-semestre

[1] The private association that groups the leading companies involved in foreign trade in Peru. – https://www.comexperu.org.pe/articulo/con-miras-a-concretar-un-tlc-peru-tailandia

[1] The private association that groups the leading companies involved in foreign trade in Peru. – https://www.comexperu.org.pe/articulo/con-miras-a-concretar-un-tlc-peru-tailandia

[2] https://www.gob.pe/institucion/mincetur/noticias/639128-intercambio-comercial-del-peru-con-paises-con-tlc-supero-los-us-54-000-millones-en-el-primer-semestre

[1] Non-traditional exports is used in the literature to describe 3 distinct phenomena. First, an export can be non-traditional because it involves a product that has not been produced in a particular country before, such as snow peas in Guatemala. A second type id a product that was traditionally produced for domestic consumption but is now being exported, like various tropical fruits. Finally, the term refer to the development of a new market for a traditional product, such as exporting bananas to EU.

อ่านข่าวฉบับเต็ม : การจัดทำความตกลงทางการค้าของเปรู และการทบทวนความตกลง TPCEP

Login