กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน (EPF) มีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจมาเลเซีย กองทุนบำเหน็จบำนาญมักจะมีส่วนสำคัญในโครงการพัฒนาต่างๆ รวมถึงในการพัฒนาเมือง Kwasa Damansara เมืองใหม่ที่มาเลเซียกำลังผลักดันให้เป็นเมืองเศรษฐกิจใหม่ อีกทั้งกองทุน EPF ยังสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มที่ และช่วยกำหนดความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวมาเลเซีย จากการรวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2022 สินทรัพย์รวมภายใต้การจัดการของ EPF มีจำนวนถึง 1 ล้านล้านริงกิต ซึ่งสินทรัพย์เหล่าดังกล่าวประกอบด้วยการลงทุนหลายประเภท ได้แก่ ตราสารทุน 30.54 พันล้านริงกิต หลักทรัพย์รัฐบาลมาเลเซีย 18.19 พันล้านริงกิตใน อสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน 5.56 พันล้าน ริงกิต และตลาดเงิน 1.04 พันล้านริงกิต
นาย Ahmad Badri กล่าวว่า ในฐานะนักลงทุนสถาบันและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและในภูมิภาคนี้ EPF มั่นใจว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงเมืองใหม่ Kwasa Damansara อย่างทั่วถึงมากขึ้น อีกทั้ง เมือง Kwasa Damansara ได้แสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันที่เพิ่มขึ้นเมื่อโครงการพัฒนาหลายโครงการโดยนักพัฒนาชั้นนำได้เริ่มเร่งการก่อสร้าง และเมืองใหม่นี้จะเห็นการเปิดที่ดินที่กว้างขึ้นให้กับนักพัฒนาเอกชนและบริษัทที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล (GLCs)
การร่วมทุนเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงได้ลงนามกับ Permodalan Negeri Selangor Bhd (PNSB) เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาประหยัดแห่งแรกในเมือง Kwasa Damansara บนพื้นที่หกเฮกตาร์มากกว่า 5,000 ยูนิต ซึ่งการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองมากถึง 20,000 คน ซึ่งจะกระตุ้นความตระหนักเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เขากล่าวว่า EPF Tower ได้รับรางวัลสถานะ Platinum Green Building Index ซึ่งเป็นการยกย่องความมุ่งมั่นของ EPF ต่อคุณค่าของแนวคิดสีเขียวและแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการใช้พลังงานและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร และการจัดการสถานที่อย่างยั่งยืน วัสดุและทรัพยากร
ความเห็น สคต.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน (EPF) เป็นกองทุนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจมาเลเซียอย่างมาก ซึ่งประชากรร้อยละ 87 ของประเทศมาเลเซียเป็นสมาชิกกองทุนดังกล่าว กองทุนดังกล่าวสร้างความมั่นคงด้านการเงินให้กับชาวมาเลเซียเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ตลาดมาเลเซียมีความแข็งแกร่ง มีกำลังซื้อที่สูง ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ตลาดมาเลเซียถือว่ามีความน่าสนใจต่อผู้ประกอบการชาวไทยที่มีความสนใจในการส่งออกสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคชาวมาเลเซียมีกำลังซื้อค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มในการขยายตัวของตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่มีความสนใจในการเข้ามาทำตลาดในประเทศมาเลเซียผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขายที่จะจัดในโอกาสต่างๆ ตลอดทั้งปี
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)