การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นปี 2566 และจะดำเนินต่อไปในปี 2567 จากข้อมูล Mandiri Institute data แสดงดัชนีมูลค่าการใช้จ่ายสาธารณะ ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ 206.2 เพิ่มขึ้นจาก 181.5 ของวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 รวมทั้งความถี่ของการใช้จ่ายสาธารณะในช่วงปลายปี 2566 เพิ่มขึ้นเช่นกัน หัวหน้าสถาบัน Teguh Yudo Wicaksono กล่าวว่า มูลค่าการใช้จ่ายสาธารณะที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามนักวิจัยไม่สามารถแยกแยะการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากความเพิ่มขึ้นด้านราคาได้
“การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ส่วนใหญ่เกิดจากการจับจ่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน ดูเหมือนว่าผลกระทบด้านราคากำลังผลักดันมูลค่าของการจับจ่ายให้สูงขึ้น”สัญญานที่ดีก็คือการใช้จ่ายของชนชั้นกลางและชนชั้นสูงก็เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่สัดส่วนการออมคงที่ ซึ่งถือเป็นสัญญานบวกต่อการบริโภคในครัวเรือน
“ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเริ่มชะลอการใช้จ่าย และความสามารถในการออมยังจำกัด” เมื่อเทียบกับข้อมูลของธนาคารอินโดนีเซีย สัดส่วนรายได้ของประชาชนที่ใช้เพื่อการบริโภคในเดือนพฤศจิกายนแล้วลดลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 75.3 จากร้อยละ 75.6 ของเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม สัดส่วนรายได้ที่ใช้เพื่อการออมก็ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 15.7 เหลือร้อยละ 15.4
อย่างไรก็ตาม ยูโดะมั่นใจว่าแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐเชิงบวกจะยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากการเลือกตั้ง ตามรูปแบบปกติการเลือกตั้งจะส่งเสริมการบริโภคภาคครัวเรือน นอกจากนี้ รัฐบาลมีแผนจะกระจายความช่วยเหลือทางสังคม (the government plans to distribute social assistance : bansos) ในปีนี้ เพื่อรักษากำลังซื้อของชนชั้นล่าง
Josua Pardede หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Permata กล่าวว่าการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้วได้รับแรงหนุนจากรูปแบบตามฤดูกาล เช่น การเฉลิมฉลองคริสต์มาสและปีใหม่ อัตราเงินเฟ้อที่ควบคุมได้ยังช่วยรักษากำลังซื้อของประชาชน แม้แต่การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปลายปียังกระตุ้นให้มีความต้องการสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและการบริโภคเพิ่มขึ้น โจซัวมั่นใจว่าแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐเชิงบวกจะยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้ควบคู่ไปกับการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังมีช่วงเวลาเดือนรอมฎอนและวันอีดซึ่งจะช่วยกระตุ้นความต้องการของประชาชนในไตรมาสแรกของปี 2567 และไตรมาสที่สองของปี 2567
อย่างไรก็ตาม โจซัวเตือนว่ามีสิ่งที่ต้องระวัง ได้แก่ การเคลื่อนไหวของราคาอาหารอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ (El Nino phenomenon) ไม่เพียงเท่านั้น ฝนที่ตกลงมาหลายพื้นที่ยังเปิดโอกาสให้เกิดปรากฏการณ์ลาเนีย (La Nia phenomenon) ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารอีกด้วย
วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย
จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคอินโดนีเซียในช่วงปลายปี 2566 พบว่าแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะดำเนินต่อไปในปี 2567 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2567
ในไตรมาสแรกจะมีการเลือกตั้ง โดยปกติแล้วช่วงการเลือกตั้งจะส่งผลให้อุปสงค์ของประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น การบริโภคในครัวเรือน นอกจากการเลือกตั้งแล้วยังมีเทศกาลตรุษจีน ในไตรมาสแรกของปี 2567 ด้วย ขณะที่ไตรมาสที่ 2 จะมีเดือนรอมฎอนและวันตรุษอีดิลฟิตรี(Ramadhan and Eid-al Fitr) ซึ่งจะกระตุ้นอุปสงค์และการบริโภคของประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ การเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซยังเอื้อต่อการใช้จ่ายสาธารณะของอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้น ตามข้อมูลของ Lestari บน Bisnis.com (https://ekonomi.bisnis.com/read/20231005/12/1701191/data-membuktikan-shopee-lebih-populer-ketimbang-tiktok-shop) มูลค่าสินค้ารวม (GMV) ของอีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซียมีมูลค่าถึง 51.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 มูลค่านี้เทียบเท่ากับ 52% ของ GMV ทั้งหมดของอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก GMV อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียคือ Shopee ตามมาด้วย Tokopedia Lazada , Bukalapak และ TikTok Shop แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำในอินโดนีเซียเหล่านี้มีส่วนสนับสนุนการใช้จ่ายสาธารณะในอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2567 ซึ่งอินโดนีเซียยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย
อ่านข่าวฉบับเต็ม : อินโดนีเซียมีแนวโน้มการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และต่อเนื่องไปในปี 2567