หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > “บริษัทหลักทรัพย์ ขานรับนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นการปรับขึ้นค่าจ้างในปี 2567”

“บริษัทหลักทรัพย์ ขานรับนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นการปรับขึ้นค่าจ้างในปี 2567”

ในปี 2567 นี้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงนโยบายผ่อนคลายการเงินและยกเลิกนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี ส่งผลให้ราคาตลาดเงินเยนลดลงชั่วคราวที่ระดับ 143 เยน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ผลกระทบมาจากทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐอเมริกา และเหตุการณ์แผ่นดินไหวบนคาบสมุทรโนโตะ ในการนี้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงกว่าควรจะเป็น เป็นเหตุให้จะมีการตัดสินใจเชิงนโยบายทางการเงินในอนาคต ได้แก่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในสหภาพแรงงานฤดูใบไม้ผลิปี 2567นี้ (เมษายน) และผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในอดีต ทั้งนี้การเติบโตของค่าจ้างเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ครัวเรือนต่างๆ หลุดพ้นจากวิกฤติค่าครองชีพและภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คิชิดะ ขอให้ภาคเอกชนบริษัทต่างๆ พิจารณาการขึ้นเงินค่าจ้างมากขึ้นในปี 2567 นี้ โดยรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น มองว่าการขึ้นค่าจ้างจะเป็นสิ่งสำคัญในการผ่านพ้นวิกฤตค่าครองชีพไปได้ ต่อมาในการประชุมที่จัดโดยสหพันธ์ธุรกิจแห่งญี่ปุ่นเป็นกลุ่มธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดของญี่ปุ่น หรือที่รู้จักกันในชื่อ Keidanren (เคดันเร็น) พร้อมด้วยตัวแทนบริษัทหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ได้มีการเจรจาค่าจ้างประจำปี ระหว่างผู้บริหารและสหภาพแรงงานที่จะเริ่มมีผลในต้นปี 2567 โดยจะเพิ่มค่าจ้าง สำหรับบริษัทใหญ่ เฉลี่ย 3.99% และ บริษัทขนาดเล็ก เฉลี่ย 3% ผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การลดภาษีการลงทุนและการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการประหยัดแรงงานและการประหยัดพลังงานโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใหม่ที่เริ่มต้นในปีนี้จะระดมทุนได้ 2,000 ล้านล้านเยน ซึ่งจะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการเพิ่มค่าจ้าง ทั้งนี้ การขานรับของภาคเอกชนต่อนโยบายทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น ก็จะเป็นแรงผลักดันให้ญี่ปุ่นพ้นจากภาวะเงินฝืด ซึ่งญี่ปุ่นอยู่กลุ่มประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
การที่ ราคาเงินเยนอ่อนค่า มีผลทำให้การท่องเที่ยวญี่ปุ่นเฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก ถือว่าเป็นโอกาสเหมาะ สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น อัตราที่พัก และสินค้าจะมีราคาถูกลง สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นับเป็นโอกาสดีของนักลงทุน และนักเก็งกำไรค่าเงินเยน เหมาะที่จะช้อนซื้อเงินเยนในช่วงนี้ เพื่อทำกำไรเมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวและราคาเงินเยนแข็งค่าขึ้น หรือหากเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงสภาพนี้ สินค้านำเข้าไทยจากญี่ปุ่น จะมีราคาถูกลง สามารถนำเข้าสินค้าที่เป็นต้นทุน เช่นเครื่องจักร หรือนวัตกรรมสมัยใหม่ จากญี่ปุ่นมาในไทยได้ในราคาที่เหมาะสม และแก่การพัฒนาสินค้าในทางที่ดีขึ้น

ข้อคิดเห็น/เสนอแนะของ สคต.
จากการที่ ผู้ประกอบการญี่ปุ่นและบริษัทต่างๆ ขานรับนโยบายการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่น จะขึ้นเงินค่าจ้างด้านแรงงานและด้านบริการมากขึ้นในปี 2567 ส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นและเพิ่มโอกาสในการนำเข้าสินค้าไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคจะสูงมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยควรติดตามภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการเงินของญี่ปุ่น และการขยับตัวด้านต้นทุนราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามสถานการณ์ปัจจุบัน

*******************************************************************************

ฉบับที่ 15 ประจำวันที่ 6 มกราคม 2567 – 12 มกราคม 2567
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แปลและเรียบเรียงจาก
NHK NEWS 9 มกราคม 2567 : https://www3.nhk.or.jp/news/html/20240109/k10014313841000.html
Nikkei Asia 9 มกราคม 2567 : https://asia.nikkei.com/Economy/Japan-PM-Kishida-asks-companies-for-larger-pay-hikes-in-2024

อ่านข่าวฉบับเต็ม : “บริษัทหลักทรัพย์ ขานรับนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นการปรับขึ้นค่าจ้างในปี 2567”

Login