หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแอฟริกา

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแอฟริกา

จากสถานการณ์การโจมตีประเทศอิสราเอลบริเวณฉนวนกาซาโดยกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ที่ไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดลงนั้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในแอฟริกาที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอีกครั้งจากสงครามที่ตนไม่ได้เป็นผู้เริ่มต้น แม้ประชากรในแอฟริกาจะไม่ได้เป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีนี้ แต่แน่นอนว่า ภาระที่เกิดขึ้นตามมาคือความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ต้นทุนการนำเข้าที่มากขึ้น และความกดดันด้านการเมืองในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาทางกลุ่มอัลชาบับและกลุ่มติดอาวุธโซมาเลียได้เผยแพร่ข้อมูลต่อนักข่าวโดยยกย่องการกระทำของกลุ่มฮามาส และแน่นอนว่าทั้งอัลชาบับและฮามาสมีศัตรูร่วมกันมายาวนานหลายปีคือประเทศอิสราเอลนั่นเอง แม้ว่ากลุ่มอัลชาบับซึ่งมีฐานที่มั่นในโซมาเลียในแอฟริกาตะวันออก และกลุ่มฮามาสนั้น จะไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อกัน แต่ยังคงสามารถกำหนดเป้าหมายไปยังฐานปฏิบัติงานนอกชายฝั่งในแอฟริกาตะวันออกเพื่อโจมตีแบบฉวยโอกาสเพื่อแสดงตัวตนดังที่เกิดการก่อการร้ายหลายครั้งในเคนยาในอตีดที่ผ่านมา

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า แม้กลุ่มประเทศในแอฟริกาจะไม่ได้เป็นผู้เริ่มสงครามแต่ความเสี่ยงก็ยังตกมาถึงภูมิภาคนี้อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก อันนึงก็คือในด้านความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย เหตุเพราะฮามาสเป็นกลุ่มติดอาวุธที่สร้างความแตกแยก แต่เรียกตนเองว่าเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพในฉนวนกาซาจนถูกมองว่า เป็นกลุ่มก่อการร้ายสำหรับประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ แม้กลุ่มฮามาสจะแย้งว่าการตัดสินใจโจมตีอิสราเอลครั้งนี้คือการตอบโต้ที่อิสราเอลละเมิดสิทธิชาวปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง แต่ทางผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมองว่า การก่อการร้ายนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ผู้ที่ต้องการเสรีภาพในปาเลสไตน์นั้น ที่ชื่นชมการกระทำของกลุ่มฮามาสแต่หากว่า เมื่อใดที่เห็นว่าใครก็ตาม ประเทศใดก็ตามที่สนับสนุนอิสราเอลอย่างเปิดเผยอาจถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมายในการโจมตีด้วยเช่นกัน และสำหรับแอฟริกาตะวันออกอาจมีกลุ่มที่หันไปเข้าร่วมกับกลุ่มติดอาวุธเพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคี ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศเคนยา คือควรเป็นผู้เห็นแก่สันติภาพความสงบโดยไม่แสดงความเห็นด้วยกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และเคนยาเองเคยมีบทเรียนจากอดีตที่เคยต้องเผชิญกับความโกรธแค้นของกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ที่เคนยาให้การสนับสนุนอิสราเอลจนเป็นเหตุให้โรงแรมของชาวอิสราเองในเคนยาถูกโจมตีเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทางกลุ่มอัลกออิดะห์ได้ยิงจรวจใส่เครื่องบินโดยสารของสายการบินอิสราเอลใกล้กับเมืองท่ามอมบาซา แม้ว่าการโจมตีจะพลาดเป้าและไม่สำเร็จแต่สายการบินอิสราเอลแอร์ไลน์ได้ยุติเส้นทางบินมายังเคนยาจนถึงปัจจุบัน โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญ

เมื่อเกิดการโจมตีอิสราเอลขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาทางเคนยาออกมาเรียกร้องให้ลดความรุนแรงลง และมองว่าการก่อความรุนแรงไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตามเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้อย่างสิ้นเชิง ส่วนประเทศอื่นๆ ในแอฟริกาอย่าง จิบูติ ซูดาน และแอฟริกาใต้ ได้ตำหนิอิสราเองที่เป็นผู้จุดชนวนความไม่พอใจในหมู่ชาวปาเลสไตน์ โดยมองว่าการละเมิดสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มหัวรุนแรงยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าประเทศซูดานจะเป็นประเทศล่าสุดในแอฟริกาที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเมื่อ พ.ศ. 2564 แต่ก็ยังแสดงความเห็นเพื่อปกป้องสิทธิของปาเลสไตน์ในการป้องกันตัวเอง ทางนักวิเคราะห์ด้านการเมืองของซูดานกล่าวว่าความรู้สึกของประชาชนในเมืองคาร์ทูม (เมืองหลวงของประเทศซูดาน) อาจไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล

อย่างไรก็ตามความรุนแรงในฉนวนกาซาครั้งนี้ มีแนวโน้มจะทำให้เกิดผลทางด้านลบตามมาทางด้านเศรษฐกิจตามมาอย่างแน่นอน ผลกระทบจากโควิด-19 ยังคงทำให้เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แล้วยังมีความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ ความขัดแข้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น จนนำมาซึ่งราคาสินค้าที่สูงขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของแอฟริกา ด้านนักเศรษฐศาสตร์ของเคนยามองว่า ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอีกประการหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกาจะลดเม็ดเงิน US Dollar ที่ผ่านไปทางกลุ่มประเทศอาหรับซึ่งจะส่งผลทางอ้อมต่อประเทศในกลุ่มแอฟริกาตะวันออกที่ต้องพึ่งพาประเทศเหล่านี้ในการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ

ด้านสหภาพแอฟริกา (African Union: ประกอบด้วย 55 ประเทศในแอฟริกา) คาดหวังว่า จะมีการใช้ระบบสกุลเงินเดียวกันทั้งหมดอย่างสหภาพยุโรป และต้องการพัฒนาระบบการปกครอง สิทธิมนุษยชน และเศรษฐกิจในแอฟริกา) มีความพยายามดิ้นรนเพื่อสร้างสมดุลภายใต้ความขัดแข้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ในขณะที่อิสราเอลขยายอิทธิพลในทวีปนี้จนได้รับการยอมรับจาก 46 ประเทศ จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 55 ประเทศในกลุ่มสหภาพแอฟริกา มีสถานทูต 17 แห่ง และสถานกงสุล 12 แห่ง ในแอฟริกา

ด้วยอัตราเงินเฟ้อระลอกใหม่และอัตราดอกเบี้ยที่สูงในภูมิภาคแอฟริกาส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานไม่น้อย แม่ว่าเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาธนาคารกลางประเทศยูกันดา และเคนยา ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 9.5 และ 10.5 ตามลำดับ เพื่อรักษาระดับเงินเฟ้อท่ามกลางราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตามผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือการเมืองที่เกิดขึ้นจริงจะขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน

ความเห็นของ สคต.

เคนยาเป็นประเทศหนึ่งที่ออกมาประนามการโจมตีของอามาสที่มีต่ออิสราเอล ซึ่งเป็นท่าทีที่แตกต่างกับประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกา นั่นทำให้เคนยาถือเป็นประเทศหนึ่งในแอฟริกาที่เป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นพันธมิตรกับกลุ่มฮามาสเช่น กลุ่มอาซาบับในโซมาเลียที่เคยเข้ามาก่อการร้ายหลายครั้งในอดีต ซึ่งแม้รัฐบาลเคนยาจะไม่ได้กล่าวโดยตรงว่าเข้าข้างอิสราเอลแต่ด้วยท่าที่ที่ผ่านมาในอตีดทำให้ประเทศตกอยู่ในความเสี่ยงด้านความปลอดภัยดังกล่าวข้างต้น

ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากทำให้เคนยามีความเสี่ยงด้านความมั่นคงนั้น ยังทำให้แนวโน้มของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่น่าจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต และการที่เคนยาต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางทำให้ เศรษฐกิจของเคนยาและประเทศในแอฟริกาตกอยู่ในความเสี่ยง และน่าจะทำให้เกิดปัญหาของค่าครองชีพที่สูงขึ้น และเงินเฟ้อสูง เป็นผลให้กำลังชื้อของผู้บริโภคและความสามารถในการนำเข้าลดลงตามลำดับ นอกจากนั้น ภาวะดังกล่าวยังส่งผลลบต่อค่าเงินเคนยาชิลลิ่งที่อ่อนค่าลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนอยู่ในระดับมากกว่า 150.00 KES ต่อ 1.00 USD ในปัจจุบัน และอาจจะอ่อนค่าลงอีกหากยังไม่มีปัจจัยบวกมาในระยะสั้นนี้ ซึ่งผลกระทบโดยตรงในเรื่องดังกล่าวก็คือ การที่ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่กำลังชื้อที่ลดลงของภาคธุรกิจและประขาชน ซึ่งคงต้องดูนโยบายของรัฐบาลว่าจะมีแนวทางการแก้ไขหรือลดผลกระทบเรื่องนี้อย่างไร สคต. มีความเห็นว่า แนวโน้มการนำเข้าสินค้าของเคนยาซึ่งรวมถึงนำเข้าจากไทยในช่วง 3 เดือนในปี 2566 นี้ น่าจะไม่สามารถขยายตัวมากขึ้นได้มากนัก และอาจทำให้เคนยามีการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง หลังจากที่ช่วง 7 เดือนแรกยังขยายตัวได้ดี แต่มีการลดลงและติดลบมากขึ้นในเดือน ก.ค. และส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้มีมูลค่าลดลงถึงกว่า -33% จากปีก่อน ซึ่ง สคต. จะได้ติดตามสถานการณ์การค้าต่อไป

อย่างไรก็ดี การลงทุนในการพัฒนาจากรัฐบาลเคนยา ยังถือว่ายังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไม่ให้ติดลบและคาดว่ายังขยายตัวได้ร้อยละ 5.0 ในปี 2023 นี้ และร้อยละ 5.2 ในปีหน้า ซึ่ง สคต.มองว่า น่าจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 4.8 ในปี 2566 และร้อยละ 5.0 ในปี 2023 เพราะมีปัจจัยลบหลายด้านทำให้ไม่สามารถขยายตัวได้อย่างที่ควรตามที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke

ที่มา :

The EastAfrican

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login