หน้าแรกTrade insight > จับตามองโอกาสในตลาดไวท์เทนนิ่งของจีน

จับตามองโอกาสในตลาดไวท์เทนนิ่งของจีน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความแนวคิดของการดูแลผิวแบบต้องมีประสิทธิผลได้เผยแพร่ในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนอย่างลึกซึม โดยเฉพาะความต้องการต่อผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชั่นด้านการลดฝ้ากระและไวท์เทนนิ่งมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดจนกลายเป็น “ความต้องการ” ที่จำเป็นในเรื่องการดูแลผิวของผู้บริโภคชาวจีน

“รายงานแนวโน้มตลาดไวท์เทนนิ่งปี พ.ศ. 2565” ที่เผยแพร่โดย APP Meilixiuxing ซึ่งเป็นแอพที่ให้บริการแก้ผู้ใช้แอพฯ ในด้านโซลูชั่นการดูแลผิวและการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ระบุว่า จากการสำรวจแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,240 คน ปรากฏว่าผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 90 มีความต้องการด้านไวท์เทนนิ่ง และเกือบร้อยละ 70 ของพวกเขามีความต้องการด้านไวท์เทนนิ่งอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ความสนใจของผู้บริโภคชาวจีนที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มสูงถึงร้อยละ 82 ในช่วงสามปีที่ผ่านมา

สิ่งที่น่าสังเกตคือ ในตลาดไวท์เทนนิ่งที่ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องและได้มีการพัฒนาค่อยๆ เป็นมาตรฐาน ยังพบว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์หมวดเอสเซนส์ไวท์เทนนิ่งจะมีแนวโน้มสูงกว่าผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งประเภทอื่นๆ เช่น มาสก์หน้า ครีม และครีมกันแดดอย่างชัดเจน จากข้อมูลของ iResearch ระบุว่า ในปี 2564 มูลค่าคลาดเอสเซนส์ไวท์เทนนิ่งของจีนสูงถึง 28,510 ล้านหยวน คาดการณ์ว่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2567 ตลาดดังกล่าวจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ร้อยละ 12.7 และจะขยายตัวเกินกว่า 35,000 ล้านหยวนภายในปี 2567

เมื่อเปรียบเทียบกับผิวหนังของชาวยุโรปแล้ว ชาวเอเชียมีการหลั่งเมลานินที่เข้มข้นกว่า ผิวชั้นนอกบางกว่า และเกราะป้องกันเซลล์ผิวที่อ่อนแอกว่า ซึ่งทำให้ชาวเอเชียจึงมีความต้องการความขาวใสมากกว่าชาวยุโรป ขณะที่ผิวของชาวเอเชียยังอ่อนแอต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกและอาจส่งผลต่อสุขภาพผิวอีกด้วย ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งที่มีลักษณะ “ไม่ระคายเคือง + มีประสิทธิภาพ” ได้กลายเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาของผู้บริโภคชาวจีนในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์ไวท์เทนนิ่ง ในบรรดาส่วนผสมไวท์เทนนิ่งที่ได้รับความนิยมในตลาดจีนของปัจจุบันนี้ ส่วนผสมยอดนิยม เช่น กรดผลไม้/กรดซาลิไซลิก, VC, และนิโคตินาไมด์ต่างก็ได้รับการยอมรับในด้านประสิทธิภาพและมีความคุ้นเคยในระดับสูงจากผู้บริโภคชาวจีน

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ไวท์เทนนิ่งที่จำหน่ายในตลาดจีนมีทั้งแบรนด์จีนท้องถิ่นและแบรนด์ต่างชาติด้วย แบรนด์ต่างชาติที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค อย่างเช่น Clinique, Elizabeth Arden, Kiehl’s จากสหรัฐอเมริกา Dr.Ci:Labo, SK-II จากญี่ปุ่นและ CLARINS จากฝรั่งเศส ส่วนผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งของไทยก็มีการเข้ามาจำหน่ายในตลาดจีนและมีประเภทที่หลากหลายด้วย เช่น สเปรย์ฉีดกันแดดไวท์เทนนิ่ง Mistine, ครีมไข่มุก Promina, และครีมบำรุงผิวร่างกาย Nakiz นอกจากผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งร่างกายแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งฟันที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในตลาดด้วย เช่น ยาสีฟันทั้งเป็นที่ครีมและเป็นผงจากแบรนด์ Rasyan และ Green herb

ข้อมูลเพิ่มเติม/ผลกระทบ/ความเห็นของ สคต.

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ไวท์เทนนิ่งยอดนิยมที่จำหน่ายในตลาดจีนมีประมาณร้อยละ 48.1 อยู่ในช่วงราคาที่ต่ำกว่า 200 หยวน และมีเพียงร้อยละ 3 ที่มีราคามากกว่า 2,000 หยวน แต่ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ผลิตภัณฑ์ระดับไฮเอนด์ที่มีราคา 500 – 999 หยวนเริ่มก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.2 เป็นร้อยละ 19.6 ซึ่งมีการขยายตัวเกือบสองเท่า ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่ในตลาดระดับไฮเอนด์ดังกล่าวยังค่อนข้างน้อย แสดงว่าการแข่งขันยังไม่อิ่มตัว ซึ่งอาจนับเป็นโอกาสที่แบรนด์ต่างๆ สามารถพิจารณาโฟกัสในกิจการด้านนี้ได้ในอนาคต

ตลาดไวท์เทนนิ่งของจีนจะมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้ามุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนเจนเนอเรชั่น Z และคนทำงานปกขาวในเมือง ในขณะเดียวกัน ด้วยกลุ่มผู้บริโภคแพศชายที่มีอายุ 25 – 34 ปีค่อยๆ เพิ่มความตระหนักในการบริโภคผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและแสดงความสนใจในผลิตภัณฑ์ลดฝ้ากระและไวท์เทนนิ่ง ทำให้ผู้บริโภคเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งก็ได้รับการขยายเพิ่มเติมอย่างเรื่อยๆ ซึ่งอาจกลายเป็นตลาด Blue Ocean แห่งใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลผิวได้

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ดูแลผิวไวท์เทนนิ่งยังได้เห็นแนวโน้มด้านการขยายประเภทของผลิตภัณฑ์ นอกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวไวท์เทนนิ่งบนใบหน้าในชีวิตประจำวันแล้ว ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับการไวท์เทนนิ่งตามร่างกายทั้งตัว ซึ่งจะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งผิวร่างกาย ไวท์เทนนิ่งมือ ไวท์เทนนิ่งฟัน และผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ มีการเกิดขึ้นและพัฒนาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

————————————————–

https://mp.weixin.qq.com/s/24sQHEU4jhsZWzHBESpsTg

https://business.sohu.com/a/670766812_121488179

https://www.163.com/dy/article/HQ7V2RE70514A7NB.html

แปลและเรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login