จาการ์ตา ซีเอ็นเอ็น อินโดนีเซีย — รัฐบาลมีแผนนำเข้ากระเทียม 504,088 ตันจากจีนตั้งแต่ปัจจุบันถึงธันวาคม 2566
หัวหน้าสำนักงานอาหารแห่งชาติ Arief Prasetyo Adi กล่าวว่ามีแผนการนำเข้ากระเทียมซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันมีกระเทียมในประเทศที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ (ติดลบ) 617,000 ตันตามข้อมูลจาก BPS กระทรวงเกษตร และสำนักงานอาหารแห่งชาติ
Arief กล่าวว่า สถิติการนำเข้ากระเทียมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2566 มีจำนวนถึง 103,414 ตัน โดยมีผลผลิตในประเทศประมาณ 23,337 ตัน โดยคาดว่าอุปทานกระเทียมทั้งปี 2566 จะสูงถึง 774,460 ตัน โดยคาดว่า พฤษภาคม – ธันวาคม 2566 มีความต้องการกระเทียมอีก 669,354 ตัน
Arief หวังว่าเมื่อนำเข้ากระเทียมจะช่วยให้ราคากระเทียมในประเทศลดลงต่ำกว่า IDR 36,000 ต่อกิโลกรัม (กก.) ปัจจุบันจากการสำรวจของสำนักงานอาหารแห่งชาติ ณ วันที่ 13 มิ.ย.2566 ราคาราคากระเทียมอยู่ที่ IDR 39,350 ต่อ กก. เพิ่มขึ้นจาก 39,250 IDR ต่อ กก. ในวันที่ 6 มิ.ย.2566 ราคากระเทียมต่ำสุดอยู่ที่
เมืองลัมปุง ที่ราคา IDR 32,500 ต่อ กก. และ แพงที่สุดในมาลูกูเหนือ IDR 51,250 ต่อกก.
ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติกลาง (BPS) ระบุว่าหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2566 คือกระเทียม Bawang Putih บันทึกอัตราเงินเฟ้อที่ 7.07 เปอร์เซ็นต์โดยมีส่วนแบ่ง 0.02 เปอร์เซ็นต์
วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย
รัฐบาลมีแผนนำเข้ากระเทียม 504,088 ตันจากจีน ในช่วงตั้งแต่ปัจจุบัน – ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ตั้งแต่เริ่มปี 2566 ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในอินโดนีเซียปรับตัวสูงขึ้นหลายรายการ โดยเฉพาะสินค้าจำเป็นที่อินโดนีเซียผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ เช่น ข้าวสาร กระเทียม มีราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผลผลิตในประเทศไม่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือมีผลผลิตลดลง แต่เกิดจากความต้องการบริโภคมีสูงขึ้นจากเศรษฐกิจและภาคแรงงานที่ขยายตัว ซึ่งความต้องการอาหารของชาวอินโดนีเซีย ที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลดีต่อสินค้าผู้ประกอบการสินค้าอาหารของไทยที่ส่งมายังอินโดนีเซีย นอกจากนี้ด้วยรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ชนชั้นกลางของอินโดนีเซียมีกำลังซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องสำอางค์ ซึ่ง สคต.จะจัดกิจกรรมส่งเสริมต่อไป
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)