หน้าแรกTrade insightเคมีภัณฑ์และพลาสติก > เครื่องสำอางจีนเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น

เครื่องสำอางจีนเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น

ที่มาภาพ: https://cn.nikkei.com/china/ccompany/40097-2020-06-05-04-42-00.html

ด้วยเทคโนโลยี การออกแบบอันชาญฉลาดและรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่ มีสีสันสดใสและมีบรรจุภัณฑ์สวย ได้ส่งผลให้เครื่องสำอางของจีนมีความน่าสนใจ และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในญี่ปุ่น และได้กลายเป็นที่รักของชาววัยรุ่นญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว

ที่มาภาพ: https://www.facebook.com/Florasis.Official/posts/1163236347425654/

ผลิตภัณฑ์ความงามหลักที่ผลิตในประเทศของจีนที่ส่งออกไปยังต่างประเทศคือผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางจีน แบรนด์ความงามในประเทศ อย่างเช่น Florasis (花西子), Flower Knows (花知晓) และ Perfect Diary (完美日记) ได้กลายเป็นแบรนด์ที่มักอยู่ตามโต๊ะแต่งหน้าของผู้บริโภคในประเทศจีน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นและเกาหลี

ที่มาภาพ: https://www.popdaily.com.tw/forum/beauty/692181

Florasis (花西子) ร่วมมือกับบิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น ได้จัดทำและเผยแพร่วิดีโอการสอนวิธีการลงสีใต้ตาและการแต่งหน้าแบบจีนบน Instagram ของเธอ ซึ่งได้รับยอดไลค์มากกว่า 500,000 ครั้ง โดยในคลิปสอนแต่งหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ของ Florasis (花西子) ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความประณีตและความงามแบบตะวันออกที่ไม่เหมือนใคร และการแต่งหน้าแบบจีน คิ้วเรียว ทาสีใต้ตา และริมฝีปากสีแดงก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การแต่งหน้าแบบจีนนั้นเป็นเหมือน “สาวเท่ที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง” มากกว่าที่จะเน้นความเป็นธรรมชาติและน่ารัก ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและสดใสนี้ทำให้บล็อกเกอร์ YouTube จำนวนมากได้แนะนำการแต่งหน้าแบบจีน และ “การแต่งหน้าแบบจีน” ก็ค่อยๆ กลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมบนโซเชียลมีเดีย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมายอดขายปลีกเครื่องสำอางในประเทศจีนนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากตลาดผู้บริโภคในประเทศแล้ว อิทธิพลของเครื่องสำอางที่ออกไปต่างประเทศก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน ในปี 2565 การส่งออกทั้งหมดสูงถึง 5.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 จากปีก่อนหน้า

มูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางและอุปกรณ์อาบน้ำของจีนเพิ่มขึ้นจาก 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 เป็น 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 โดยมีอัตราการเติบโตทบต้น 5 ปีที่ร้อยละ 8.3 แบรนด์ความงามของจีนกำลังเร่งขยายตลาดในต่างประเทศเพื่อยึดตลาดต่างประเทศด้วยการพัฒนาที่แข็งแกร่ง

เครื่องสำอางและการแต่งหน้าสไตล์ต่างชาติเคยเป็นเป้าหมายของความปรารถนาของผู้หญิงจีน ทุกวันนี้ ภายใต้การเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของกระแส “แฟชั่นประจำชาติ” การแต่งหน้าและเครื่องสำอางสไตล์จีนได้เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในต่างประเทศ แนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมความงามแฟชั่นระดับประเทศมีแนวโน้มสดใส จากข้อมูลของ iiMedia Research ขนาดตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของจีนจะอยู่ที่ 485.81 พันล้านหยวนในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าและตลาดได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างมาก

ที่มาภาพ: https://www.ellemen.com/information/a42358385/perfect-diary-221229/

จากปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้ของชาวจีนในประเทศที่เพิ่มขึ้น และการให้ความสำคัญกับความงามที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การบริโภคเครื่องสำอางภายในประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าขนาดตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของจีนจะเกิน 500 พันล้านหยวนในปี 2566 แบรนด์เครื่องสำอางของจีนควรขยายช่องทางต่างประเทศอย่างจริงจัง ปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการพัฒนาแบรนด์ต่อไป

ข้อคิดเห็นของสคต.เซี่ยงไฮ้

ปัจจุบันเครื่องสำอางจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วและสามารถตีตลาดและสร้างกระแสเพื่อให้ทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติที่เคยมองข้ามให้หันมาสนใจได้ แต่จากข้อมูลสถิติของ Global Trade Atlas แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของเครื่องสำอางไทยที่นำเข้าไปยังประเทศจีนจะลดน้อยลง แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าความต้องการเครื่องสำอางจีนของชาวจีนจะเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณความต้องการของตลาดก็ขยายเพิ่มขึ้นเช่นกัน ปริมาณความต้องการเครื่องสำอางจากไทยยังคงมีแนวโน้มมากขึ้น ตลาดจีนยังคงเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ผู้ประกอบการไทยยังมีโอกาสเข้าไปตีตลาดได้ และเครื่องสำอางของไทยค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือในสายตาของชาวจีน ซึ่งการบุกตลาดเครื่องสำอางที่จีนนั้นต้องศึกษาและปรับปรุงคุณภาพรวมถึงบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถเขาไปแข่งขันกับเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ และเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศของจีนเองเพื่อให้สินค้าของตนสามารถแข่งขันและกลายเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของชาวจีนได้

________________________________________________________________________________

จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้

วันที่ 18 สิงหาคม 2566

https://www.iimedia.cn/c1088/95469.html

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login