หน้าแรกTrade insight > อุตุเตือนออสซี่เตรียมรับมือกับคลื่นความร้อนที่มาเร็วกว่ากำหนด

อุตุเตือนออสซี่เตรียมรับมือกับคลื่นความร้อนที่มาเร็วกว่ากำหนด

PublishAdd title

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียแถลงข่าวแจ้งเตือนชาวออสเตรเลียให้เตรียมรับมือกับคลื่นความร้อน (จากปรากฏการณ์เอลนีโญและปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรอินเดีย Indian Ocean Dipole (IOD) ขั้วบวกที่เกิดขึ้นพร้อมกัน) รวมถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate change) ทำให้อุณหภูมิในออสเตรเลียสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่ง  จะทำให้ในช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงมีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเขตพื้นที่ตะวันออก

ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้อุหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยปกติในเขตพื้นที่ทางตอนใต้ของออสเตรเลียโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง ความถี่ในการเกิดสภาพอากาศร้อนรุนแรงมีมากขึ้น ปริมาณหิมะลดลง พายุไซโคลน และจะทำให้สภาพอากาศร้อนแห้งแล้งเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย รัฐ Queensland (QLD) และรัฐ New South Wales (NSW)

ผลกระทบของปรากฏการณ์ IOD ขั้วบวก จะก่อให้เกิดสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งในออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวของปี ผลกระทบของปรากฏการณ์ IOD จะส่งผลต่อพื้นที่อื่นๆของออสเตรเลีย ได้แก่ รัฐ South Australia (SA) เขตปกครองตอนเหนือ Northern Territory (NT) รัฐ Victoria (VIC) รัฐTasmania (TAS) และพื้นที่บางส่วนของรัฐ Western Australia (WA)

เมื่อปรากฏการณ์เอลนีโญและปรากฏการณ์ IOD เกิดขึ้นพร้อมกันจะส่งผลให้ออสเตรเลียมีฝนตกน้อยมากและมีอุณหภูมิสูงขึ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดคลื่นความร้อนสูงและไฟป่าที่รุนแรง สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งในออสเตรเลียจะยาวนานขึ้นโดยสภาพอากาศจะเริ่มร้อนเร็วขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

ล่าสุดรัฐ NSW ประกาศแจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมรับมือกับอันตรายจากไฟไหม้ที่มีความรุนแรงในระดับภัยพิบัติ (Catastrophic) จากกระแสลมพัดที่รุนแรงซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่ร้อนผิดปกติบริเวณเขตพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงฤดูร้อนปี 2562-2563 ที่ผ่านมา รัฐ NSW เคยประสบกับไฟป่ารุนแรงที่สุด (Black Summer) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 33 คน บ้านเรือนถูกไฟป่าเผาเสียหายรวม 3,000 หลังคาเรือน ภาครัฐสูญเสียเงินเยียวยามูลค่าสูงกว่า 4,400 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

ในระยะยาวออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจยาวนานขึ้นระหว่าง 9 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ จะทำให้เกิดความแห้งแล้ง ไฟป่าและคลื่นความร้อนโดยเฉพาะในรัฐ QLD และรัฐ NSW จะประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรงมากกว่ารัฐอื่นๆ

นาย Rob Webb ผู้บริหารระดับสูงของ Australasian Fire Authorities Council (AFAC) คาดว่า ความแห้งแล้งที่ยาวนานจะมีผลให้อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสในช่วงสั้นๆและกระแสลมที่พัดแรงจะก่อให้เกิดการติดไฟและไฟป่า แต่คาดว่าอันตรายและความรุนแรงอาจไม่เท่ากับเหตุการณ์ไฟป่า Black Summer ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ชุมชื้นจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นก่อนหน้า อย่างไรก็ตามชาวออสเตรเลียที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดจากสภาพอากาศในช่วงฤดูร้อนและเตรียมความพร้อมในการรับมือ ซึ่ง AFAC จะแจ้งคาดการณ์การเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน (Summer bushfire outlook) ให้ทราบในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 ต่อไป

……………………………………………………………………………

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์

www.abc.net.au

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)



ตัวเลือก Taxonomy

Toggle panel: ตัวเลือก TaxonomyTaxonomy list

Post SEO Settings

Toggle panel: Post SEO SettingsGeneralSocialVisibilityMeta Title[?]Characters: 74 – Too long Remove the site title? [?]Meta Description[?]Characters: 93 – Good

WPCode Page Scripts

Toggle panel: WPCode Page Scripts

  • Pos

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียแถลงข่าวแจ้งเตือนชาวออสเตรเลียให้เตรียมรับมือกับคลื่นความร้อน (จากปรากฏการณ์เอลนีโญและปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรอินเดีย Indian Ocean Dipole (IOD) ขั้วบวกที่เกิดขึ้นพร้อมกัน) รวมถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate change) ทำให้อุณหภูมิในออสเตรเลียสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่ง  จะทำให้ในช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงมีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเขตพื้นที่ตะวันออก

ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้อุหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยปกติในเขตพื้นที่ทางตอนใต้ของออสเตรเลียโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง ความถี่ในการเกิดสภาพอากาศร้อนรุนแรงมีมากขึ้น ปริมาณหิมะลดลง พายุไซโคลน และจะทำให้สภาพอากาศร้อนแห้งแล้งเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย รัฐ Queensland (QLD) และรัฐ New South Wales (NSW)

ผลกระทบของปรากฏการณ์ IOD ขั้วบวก จะก่อให้เกิดสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งในออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวของปี ผลกระทบของปรากฏการณ์ IOD จะส่งผลต่อพื้นที่อื่นๆของออสเตรเลีย ได้แก่ รัฐ South Australia (SA) เขตปกครองตอนเหนือ Northern Territory (NT) รัฐ Victoria (VIC) รัฐTasmania (TAS) และพื้นที่บางส่วนของรัฐ Western Australia (WA)

เมื่อปรากฏการณ์เอลนีโญและปรากฏการณ์ IOD เกิดขึ้นพร้อมกันจะส่งผลให้ออสเตรเลียมีฝนตกน้อยมากและมีอุณหภูมิสูงขึ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดคลื่นความร้อนสูงและไฟป่าที่รุนแรง สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งในออสเตรเลียจะยาวนานขึ้นโดยสภาพอากาศจะเริ่มร้อนเร็วขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

ล่าสุดรัฐ NSW ประกาศแจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมรับมือกับอันตรายจากไฟไหม้ที่มีความรุนแรงในระดับภัยพิบัติ (Catastrophic) จากกระแสลมพัดที่รุนแรงซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่ร้อนผิดปกติบริเวณเขตพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงฤดูร้อนปี 2562-2563 ที่ผ่านมา รัฐ NSW เคยประสบกับไฟป่ารุนแรงที่สุด (Black Summer) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 33 คน บ้านเรือนถูกไฟป่าเผาเสียหายรวม 3,000 หลังคาเรือน ภาครัฐสูญเสียเงินเยียวยามูลค่าสูงกว่า 4,400 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

ในระยะยาวออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจยาวนานขึ้นระหว่าง 9 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ จะทำให้เกิดความแห้งแล้ง ไฟป่าและคลื่นความร้อนโดยเฉพาะในรัฐ QLD และรัฐ NSW จะประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรงมากกว่ารัฐอื่นๆ

นาย Rob Webb ผู้บริหารระดับสูงของ Australasian Fire Authorities Council (AFAC) คาดว่า ความแห้งแล้งที่ยาวนานจะมีผลให้อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสในช่วงสั้นๆและกระแสลมที่พัดแรงจะก่อให้เกิดการติดไฟและไฟป่า แต่คาดว่าอันตรายและความรุนแรงอาจไม่เท่ากับเหตุการณ์ไฟป่า Black Summer ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ชุมชื้นจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นก่อนหน้า อย่างไรก็ตามชาวออสเตรเลียที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดจากสภาพอากาศในช่วงฤดูร้อนและเตรียมความพร้อมในการรับมือ ซึ่ง AFAC จะแจ้งคาดการณ์การเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน (Summer bushfire outlook) ให้ทราบในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 ต่อไป

……………………………………………………………………………

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์

www.abc.net.au

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login