หน้าแรกTrade insight > งานวิจัยของ MIDF ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อภาคผู้บริโภคของมาเลเซีย

งานวิจัยของ MIDF ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อภาคผู้บริโภคของมาเลเซีย

รายงานวิจัยของ สำนักวิจัย MIDF รายงานว่ายังคงมีความเชื่อมั่นต่อภาคผู้บริโภคของประเทศมาเลเซีย  โดยมีหลักเกณฑ์ความเชื่อมั่นจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ดีขึ้นในหลายภาคส่วน อาทิ ตลาดแรงงานที่มีความเสถียรภาพยิ่งขึ้น การเดินทางของนักท่องเที่ยวที่สูงขึ้น อัตรากำไรที่ดีขึ้นสำหรับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และแนวโน้มเงินริงกิตที่แข็งแกร่งขึ้น

 

โดยในรายงานเมื่อวันศุกร์ (28 เมษายน) สำนักวิจัยกล่าวว่า คาดว่าผู้บริโภคยังคงเลือกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบหลักเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ เนื่องจากความต้องการที่ยืดหยุ่นสำหรับสิ่งที่จำเป็นแม้จะมีอุปสรรคหลายประการ นอกจากนี้ การวิจัยของ MIDF ยังคาดการณ์ว่าการค้าปลีกจะยังคงเป็นบวกในปี 2566 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะข้ามคืนยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาด แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น

 

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มขาขึ้นเนื่องจากมีการสนับสนุนจากความช่วยเหลือและแรงจูงใจต่างๆ เพื่อกลุ่มรายได้ 40% ล่างสุดและกลาง 40% ภายใต้งบประมาณปี 2566 เพื่อสนับสนุนการบริโภคในครัวเรือน รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวทั้งสำหรับการพักผ่อนและธุรกิจเพื่อจะช่วยเพิ่มการใช้จ่ายด้านการค้าปลีกต่อไป

 

โดยรวมแล้ว สำนักวิจัย MIDF เชื่อว่ายอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งในปี 2566 จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าปลีก ในขณะที่ราคาวัตถุดิบคาดว่าราคาอาหารไก่จะยังคงสูงในอนาคตอันใกล้ แม้ว่าราคาข้าวโพดเฉลี่ยจะลดลงในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม โดยนับจากนี้เป็นต้นไป สำนักวิจัย MIDF คาดว่าอัตรากำไรพื้นฐานที่ลดลงสำหรับผู้ประกอบการสัตว์ปีกจะยังคงทรงตัวในระยะเวลาอันใกล้นี้ อันเนื่องจากต้นทุนการผลิตด้านค่าอาหารสัตว์และค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการจำกัดราคาที่ต่อเนื่องสำหรับไก่และไข่ขายปลีก

 

สำนักวิจัย MIDF เสริมว่าต้นทุนน้ำตาลทรายดิบที่สูงขึ้นคาดว่าจะสามารถจัดการได้โดยผู้ผลิตอาหาร เนื่องจากการบริโภคน้ำตาลที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับข้าวสาลีและน้ำมันปาล์มดิบ เช่นเดียวกับการปรับราคาขึ้นที่ในปี 2565 คาดว่าจะสามารถนำมาชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้

 

ความคิดเห็น สคต.

มาเลเซียมีแนวโน้มเชิงบวกสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย โดยปัจจัยในการสนับสนุนแนวคิดเชิงบวกเนื่องจากเหตุผลประการ อาทิ การผ่อนคลายแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ อัตราการว่างงานที่ลดลง การเปิดประเทศที่ทำให้การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น นโยบายการช่วยเหลือสนับสนุนการบริโภคในครัวเรือน และแนวโน้มค่าเงิน MYR ที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งจะสามารถสนับสนุนการค้าปลีกให้เพิ่มขึ้นภายในปีนี้ โดยการค้าปลีกทำให้มีการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและรวดเร็ว โดยผู้บริโภคมาเลเซียยังคงสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางทะเลและปศุสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มความต้องการเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่เพิ่มขึ้น สคต. เชื่อว่าร้านค้าสินค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตจะยังคงมียอดขายที่แข็งแกร่งในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกสินค้าไปยังผู้นำเข้ามาเลเซียที่จะสามารถกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกที่ยังคงได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคมาเลเซียอย่างสม่ำเสมอ

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login