หน้าแรกTrade insight > ประเทศมาเลเซียมีค่า CPI ประจำเดือนพฤษภาคมลดลงเหลือร้อยละ 2.8

ประเทศมาเลเซียมีค่า CPI ประจำเดือนพฤษภาคมลดลงเหลือร้อยละ 2.8

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) คือการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ
ที่ครัวเรือนในเขตเมืองจับจ่ายโดยเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา โดยในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากปีก่อนหน้า ซึ่งดัชนี CPI เพิ่มขึ้นด้วยสาเหตุราคาจากร้านอาหารและโรงแรมที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและการบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคนำมาบริโภคเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์นี้ได้น้อยกว่าการคาดการณ์จากการสำรวจความคิดเห็นโดยนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าว Reuters ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่า ดัชนีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และต่ำกว่าการเติบโตร้อยละ 3.3 จากการรายงานในเดือนเมษายน 2566

 

จากข้อมูลของกรมสถิติแห่งชาติประเทศมาเลเซีย การวัด CPI เพื่อคำนวณอัตราเงินเฟ้อ โดยในเดือนพฤษภาคมมีการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ อันเนื่องจากร้านอาหารและการโรงแรม (ร้อยละ 6.7) และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและการบริการเบ็ดเตล็ด (ร้อยละ 2.9) เครื่องตกแต่ง อุปกรณ์ภายในครัวเรือน และกลุ่มการบำรุงรักษาบ้านประจำ (ร้อยละ 2.7) สุขภาพ (ร้อยละ 1.9) และการศึกษา (ร้อยละ 1.95) ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า ก๊าซและเชื้อเพลิงอื่น ๆ และบริการนันทนาการและวัฒนธรรม เพิ่มขึ้นเช่นกันที่ร้อยละ 1.8

 

โดยกรมสถิติแห่งชาติประเทศมาเลเซียรายงานว่า การเพิ่มขึ้นของ CPI ในบางกลุ่มการค้ามีจำนวนช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อาทิ อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 5.9) การขนส่ง (ร้อยละ 1) อีกทั้ง อัตราเงินเฟ้อท่ามกลางปัจจัยที่ส่งผลให้ค่า CPI เพิ่มขึ้นช้าลงคือราคาน้ำมันไร้สารตะกั่ว RON97 ที่ลดลง (พฤษภาคม 2566: 3.35 ริงกิตมาเลเซียต่อลิตร) เมื่อเทียบกับ 4.26 ริงกิตมาเลเซียต่อลิตรในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว (พฤษภาคม 2565: 4.26 ริงกิตมาเลเซีย) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปรายเดือนในเดือนพฤษภาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับร้อยละ 0.1 ในเดือนเมษายน 2566 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการทั้งหมด ยกเว้นราคาอาหารสดที่ผันผวนและราคาสินค้าที่รัฐบาลกำหนด เพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อนหน้า

 

 

ความคิดเห็น สคต.

ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นเครื่องมือทางสถิติที่ประมาณค่าดัชนีค่าครองชีพในด้านการบริโภค โดยคำนวณการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของสินค้าและการบริการ ซึ่งวิเคราะห์ราคาสินค้าส่วนใหญ่ที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อาทิ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การขนส่ง และการบันเทิง เมื่อมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคมีความสำคัญในการวัดค่าครองชีพของประชากรในประเทศทุกระดับ อีกทั้ง ยังวัดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ ค่า CPI เพิ่มขึ้น อาทิ เนื่องจากราคาของต้นทุนในการผลิตสินค้าเพื่อขึ้น ความต้องการเพิ่มขึ้นและไม่สมดุลกับการบริการหรือสินค้า และอัตราการเรียกเก็บภาษี ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบให้โครงสร้างของการลงทุนธุรกิจเปลี่ยนไป นอกจากนี้ โดยประเทศมาเลเซียมีค่า CPI เพิ่มขึ้น ซึ่งภาวะเงินเฟ้อส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและค่าสกุลเงินของแต่ละประเทศด้วย

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login