หน้าแรกTrade insightธุรกิจ Logistics > สินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกในครึ่งปีแรกสูงถึง 4.24 แสนตู้

สินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกในครึ่งปีแรกสูงถึง 4.24 แสนตู้

สินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกในครึ่งปีแรกสูงถึง  4.24 แสนตู้

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 14.04 น. ขบวนรถไฟเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกเที่ยว “X9578” ที่ขนส่งสินค้าเยื่อกระดาษของไทยและเคมีภัณฑ์ของสิงคโปร์เคลื่อนออกจากสถานีรถไฟภาคตะวันออกท่าเรือชินโจวไปสู่สถานีรถไฟถวนเจ๋ชุน (Tuanjiecun Railway Station) นครฉงชิ่ง ซึ่งนับเป็นขบวนรถไฟเที่ยวที่ 4,500 เที่ยวของเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกในปี 2566 จากสถิติระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรก สินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกในครึ่งปีแรกมี 4.24 แสนตู้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาเติบโต 10.5%

เส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตก  (New International Land-Sea Trade Corridor) เป็นส่วนหนึ่งในกรอบโครงการสาธิตความเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์จีน(ฉงชิ่ง)-สิงคโปร์ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเป็นข้อเชื่อมต่อสำคัญในเส้นทางดังกล่าว และเป็นประตูเปิดสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศกลุ่มอาเซียนและประเทศสมาชิก RCEP ของประเทศจีน ด้วยช่องทาง โลจิสติกส์ขนส่งสินค้าราบรื่นและความร่วมมือเชิงภูมิภาค ช่วง 5 เดือนแรก การค้าระหว่างเขตฯ กว่างซีจ้วงกับประเทศกลุ่มอาเซียนมีมูลค่า 137, 060 ล้านหยวน เติบโต 117.4% การค้าระหว่างเขตฯ กว่างซีจ้วงและประเทศสมาชิก RCEP รายอื่นมีมูลค่า 155,520 ล้านหยวน เติบโต 104.4%

นาย Zhao Jian รองผู้จัดการของสถานีรถไฟภาคตะวันออกท่าเรือชินโจว ให้ข้อมูลว่า การก่อสร้างเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตก ทำให้มีช่องทางการขนส่งทางใหม่ระหว่างจีนกับประเทศกลุ่มอาเซียนที่ย่นเวลาเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สินค้าที่นำเข้าจากประเทศกลุ่มอาเซียนที่ผ่านการขนส่งทางรางมากที่สุดคือ ข้าว มังคุด เสาวรส แป้งมันสำปะหลัง ฯลฯ สินค้าของจีนที่ส่งออกสำคัญมี รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

เพื่อรองรับสินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานบริหารรถไฟ หน่วยงานบริหารท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ และสำนักงานศุลกากรได้กระชับความร่วมมือระหว่างกัน ยกระดับการวางแผนงานการขนส่ง และยกระดับรูปแบบการขนส่งทางเรือเชื่อมทางรางให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นาย Zhao Jian ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน เวลาการตรวจสอบขบวนรถไฟขนส่งสินค้าธัญญพืชโดยเฉลี่ยจาก 90-120 นาทีต่อขบวนลดเหลือเป็น 40-60 นาทีต่อขบวน ซึ่งกำหนดเวลาการตรวจสอบต่อหนึ่งขบวนสามารถควบคุมได้ภายใน 1 ชั่วโมง ทำให้การขนส่งเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น จากตัวเลข ประเภทสินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกเพิ่มเป็น 940 ประเภท ได้ขนส่งไปยัง 120 สถานีใน 61 เมืองของ 18 มณฑล และมีการกระจายไปยัง 393 ท่าเรือจาก 119 ประเทศของโลก

ความเห็นสคต. เส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับขนส่งสินค้าประเทศกลุ่มอาเซียนไปยังภูมิภาคจีนตอนใน เช่น มณฑลกานซู่ นครฉงชิ่ง มณฑลหูหนาน รวมถึงต่อไปกลุ่มประเทศเอเชียกลาง สามารถเชื่อมไปถึงภูมิภาคยุโรป สำหรับประเภทสินค้าไทยที่ส่งมายังจีนและขนส่งผ่านเส้นทางดังกล่าว อาทิ แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล เยื่อกระดาษ ข้าว ยางพารา สินค้าอาหารแช่แข็ง ฯลฯ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์ใช้บริหารขนส่งผ่านเส้นทางดังกล่าวและต้องการศึกษาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเดิม สามารถติดต่อสคต.หนานหนิงผ่าน E-maill: thaitcnanning@ditp.go.th

แหล่งที่มา: https://mp.weixin.qq.com/s/XoIW5Ic1zcpkvxQ6y7_yHg

https://mp.weixin.qq.com/s/_fFr9x2sBNp70qWzIBOgKg

สำนักงานส่งเสริมการขายในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login