กรมศุลกากรเวียดนามระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 การส่งออกทุเรียนของเวียดนามมีมูลค่า 876 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 19 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศจีนมีมูลค่า 835 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นาย Dang Phuc Nguyen เลขาธิการสมาคมผักและผลไม้เวียดนามกล่าวว่า ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนทุเรียนเก็บเกี่ยวในจังหวัดทางภาคใต้ และเดือนสิงหาคม-ธันวาคมที่ราบสูงตอนกลาง
รัฐบาลได้ลงนามในระเบียบการและข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับที่ส่งเสริมการพัฒนาตลาดผักและผลไม้ในท้องถิ่น
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 การส่งออกผักและผลไม้มีมูลค่า 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทุเรียนเวียดนามได้บริษัทจีนซึ้อในราคาที่สูง เนื่องจากการขนส่งจากเวียดนามไปยังจีนใช้เวลาไม่นาน ผลไม้จึงยังคงสด ทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันกว่าสินค้าส่งออกของไทย ในปัจจุบัน ทุเรียนเกรด 1 ขายที่หน้าฟาร์มในราคา 85,000-100,000 ด่งเวียดนาม (3.59-4.22 เหรียญสหรัฐฯ) ต่อกิโลกรัม
ผู้ส่งออกกล่าวว่า คุณภาพทุเรียนในปีนี้สูงกว่าปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 ในช่วงครึ่งปีแรก
กรมการผลิตพืชระบุว่า ในปัจจุบัน พื้นที่ปลูกทุเรียนอยู่ที่ 110,300 เฮกตาร์ ในขณะนี้ ในปี 2560 เพียง 37,000 เฮกตาร์
ในปี 2566 ผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตัน สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 15.9 และคาดว่าจะส่งออก 400,000-500,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีที่ก่อน ไทยส่งออกมากกว่า 800,000 ตัน ทำรายได้ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพื่อส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดต่างๆ ผู้ส่งออกและเกษตรกรจำเป็นต้องปรับอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพ การทดสอบ การบรรจุหีบห่อ และ การตรวจสอบย้อนกลับของตลาดจีน
การส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 และตลอดทั้งปี โดย คาดการว่า เวียดนามมีแนวโน้มที่จะทำรายได้ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการส่งออกทุเรียนในปี 2566
(จาก https://vietnamnews.vn/)
ข้อคิดเห็น สคต
จีนเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีกำลังซื้อสูง การขยายส่วนแบ่งทางการตลาดของทุเรียนเวียดนามในประเทศจีน โดยเริ่มจากการสร้างแบรนด์ทุเรียนเวียดนามให้มากขึ้น ซึ่งการส่งออกทุเรียนมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นหลังข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ช่วยให้จีนนำเข้าผลไม้ได้ทุกชนิดจากประเทศในอาเซียนได้มากขึ้น ดังนั้น ไม่เพียงแต่ไทยหรือเวียดนามเท่านั้น ทุเรียนจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หรือกัมพูชา เพื่อช่วยให้ทุเรียนเวียดนามเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคปลายทางในจีน ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคชาวจีน จำเป็นต้องใช้ e-Commerce ในการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในจีน เพื่อให้ผู้บริโภคชาวจีนมีโอกาสได้ลิ้มลองรสชาติที่สดใหม่ของทุเรียนเวียดนามเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความได้เปรียบของทุเรียนเวียดนาม คือ เวียดนามมีฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนยาว ได้ผลผลิตต่อปีค่อนข้างสูง ที่สำคัญการที่เวียดนามเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับจีน การขนส่งมีระยะทางสั้น ช่วยให้ผลทุเรียนยังคงความสดใหม่ และมีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะ การส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนได้รับการส่งเสริมหลายประการ โดยเฉพาะในเดือนเมษายน 2566 ด่านชายแดนหลายแห่งระหว่างเวียดนามและจีนได้เพิ่มชั่วโมงการทำงานเป็น 22 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน 2566 สำนักงานศุลกากรจีนได้อนุมัติและออกรหัสสำหรับพื้นที่เพาะปลูก 70 แห่งที่มีสิทธิ์ส่งออกอย่างเป็นทางการ หลังจากที่จีนเปิดการนำเข้าทุเรียนอย่างเป็นทางการ ชาวสวนทุเรียนเวียดนามมีโอกาสในการส่งออกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นตลาดนำเข้าที่สินค้าเกษตรมากที่สุดของเวียดนาม แต่จีนมีข้อกำหนดที่เข้มงวดอย่างมากเกี่ยวกับการตรวจสอบแหล่งกำเนิด และสถานที่บรรจุ ดังนั้นทั้งผู้ส่งออกและเกษตรกรต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด หากมีการฉ้อฉลในเอกสารทางกฎหมายสำหรับการส่งออก กรมคุ้มครองพันธุ์พืชจะระงับกิจกรรมการจัดซื้อและการส่งออก เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าชาวจีน ข้อได้เปรียบข้างต้นจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนของไทย โดยเฉพาะโครงสร้างราคาทุเรียนในตลาดจีน
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)