หน้าแรกTrade insight > ผลกระทบ Covid-19 ต่อตลาดอาหารและเครื่องดื่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลกระทบ Covid-19 ต่อตลาดอาหารและเครื่องดื่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Covid-19 🦠🦠
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Novel Coronavirus 2019 (2019-nCoV) เป็นเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ 7 ที่ระบาดในมนุษย์ โดย Covid-19 แพร่ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลกและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) จึงได้ยกระดับการเตือนภัยความเสี่ยงการระบาดไปทั่วโลกของ COVID 19 อยู่ระดับ “สูงมาก” ซึ่งเป็นระดับสูงสุด เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 และต่อมาในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ได้ประกาศ ให้เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic)
จากจำนวนผู้ติดเชื้อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงผลกระทบของไวรัสในชีวิตประจำวัน และเพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อไวรัส ผู้บริโภคจึงหันไปใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบพื้นฐาน

COVID 19 ได้ย้ำความสำคัญของการมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรง โดยผู้บริโภคจะหันมาบริโภคอาหารที่เสริมสร้างระบบภูมคุ้มกันมากขึ้น โดยผัก ผลไม้ และพืชสมุนไพรจะกลายเป็นวัตถุดิบพื้นฐานต่อการนำมาบริโภค ทั้งการบริโภคสด แปรรูปเป็นอาหาร รวมถึงนำไปผลิตเป็นอาหารเสริม เนื่องจากหาง่าย มีสรรพคุณทางยา และ มีราคาถูก

โดยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกได้แนะนำผัก ผลไม้ สมุนไพร 3 กลุ่ม ได้แก่
.
🧬 กลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน
🍋 กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง
🦠 กลุ่มที่มีสารสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเพื่อเสริมภูมิต้านทานของร่างกายช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังได้แนะนำการบริโภคผัก ผลไม้ และสมุนไพร โดยการนำสมุนไพรมาใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารไทย
.
สำหรับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ให้ความสำคัญกับการบริโภคพืชสมุนไพรเช่นกัน เช่น
.
🇻🇳 ชาวเวียดนามหันมาบริโภคกระเทียมโดยเฉพาะกระเทียมดำกันมากขึ้น
🇲🇨 เริ่มสต็อก Jamu ซึ่งเป็นยาแผนโบราณที่ทำจากส่วนผสมจากธรรมชาติ
🇵🇭 มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์และมะรุม
🇸🇬 มีความต้องการวิตามินซีและวิตามินรวมเพิ่มขึ้น

สั่งซื้อสินค้าออนไลน์เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่สาธารณะ 🛵🍽️🥤
.
การระบาดของ COVID 19 ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการออนไลน์มากขึ้น เป็นผลจากการที่ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านไปในพื้นที่สาธารณะ และการติดต่อสื่อสาร รับข้อมูลข้าวสารผ่านแอพพลิเคชั่นมากขึ้น โดยข้อมูลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีการใช้งาน 4 แอปพลิเคชันยอดนิยม ได้แก่ Facebool Twitter Line และ YouTube รวมถึงการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามากกว่าร้อยละ 80 เช่นเดียวกับเวียดนาม ที่ธุรกิจ e-commerce ขยายตัว จากการที่คนจำนวนมากเลือกที่จะอยู่บ้านและสั่งซื้อของออนไลน์
.
ผู้เล่นในธุรกิจ e-commerce มีกลยุทธ์/มาตรการเพื่อรองรับความต้องการซื้อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น อาทิ
.
🛒 RedMart
(เว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ชั้นนำของสิงคโปร์และเป็นส่วนหนึ่งของ Lazada) เน้นย้ำผู้บริโภคว่ามีสต็อกสินค้าเพียงพอ เพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชน
.
🛒 VinMart
ซึ่งเป็นเครือข่ายค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ส่งเสริมการชอปปิงแบบไม่ใช้เงินสดผ่าน VinID Pay เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ COVID 19 เป็นต้น

รับประทานอาหารที่บ้าน 👩👨🍽️🏠
.
ช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 นอกจากผู้บริโภคจะหันมาซื้อของออนไลน์กันมากขึ้นแล้ว ยังหันมารับประทานอาหารที่บ้านกันมากขึ้นด้วย ทั้งการทำอาหารรับประทานเองและสั่งอาหารมาที่บ้าน โดยจากการที่หลายหน่วยงานมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ประกอบกับรัฐออกมาตรการปิดห้างร้านและสถานที่ต่างๆ รวมถึงให้ร้านอาหารให้บริการได้เพียงการซื้อกลับมารับประทานที่บ้านได้เท่านั้น ส่งผลให้ร้านอาหารหลายร้านต้องการเข้ามาใช้บริการ Food Delivery มากขึ้น
.
ในส่วนของการให้บริการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ปัจจุบันมีแอพลิเคชั่นซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารหลายแอพพลิเคชั่น อาทิ Grab food Lineman และ foodpanda เป็นต้น

ซึ่งมีร้านอาหารที่เข้าร่วมมากมาย ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มจึงมีมาตรการรองรับการส่งอาหาร เช่น Grab food มีมาตรการส่งอาหารด้วยบริการแบบไร้การสัมผัส เช่นเดียวกับร้านอาหารที่มีบริการเดลิเวอรี่อย่าง KFC ก็มีมาตรการส่งอาหารแบบไร้การสัมผัสเช่นกัน สำหรับการทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน การเตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพและรสชาติที่ดีอาจเป็นความท้าทายที่แท้จริงสำหรับหลาย ๆ คน จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตอาหารที่จะเข้ามาช่วยจัดหาอาหารที่สะดวกสบาย อร่อย และดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค

ข้อเสนอแนะ 💡📚📊
.
📌 ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 เป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์สินค้าในการทำการตลาดด้วยความจริงใจ และแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ โดยแบรนด์อาจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีข้อความแสดงความห่วงใยและใส่ใจต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์สินค้า รวมถีงความน่าจดจำในทางที่ดีต่อผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับและตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์ต่อไป หรือตัดสินใจซื้อสินค้าของแบรนด์หลังสถานการณ์คลี่คลาย
.
📌 ธุรกิจอาหารควรเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ online เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรม และอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมาร้านอาหารจะมีการขายอาหารแบบ offline แต่จากการแพร่ระบาดทำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร้าน รวมถึงมาตรการให้ร้านอาหารให้บริการได้เพียงการซื้ออาหารแบบนำกลับบ้าน ทำให้ร้านอาหารได้รับรายได้น้อยลง ดังนั้นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง โดยร้านอาหารอาจจะร่วมมือกับบริการเดลิเวอรี่ต่างๆ เพื่อลดค่าขนส่ง
.
📌 การระบาดของ COVID 19 เป็นโอกาสสำหรับสินค้า/ผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับสุขภาพ อาหารเสริม หรือยาที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยการระบาดของไวรัสจะส่งผลอย่างมากต่อความจริงจังในการดูแลสุขภาพ และให้ความใส่ใจเรื่องคุณภาพในการบริโภคมากขึ้น ซึ่งไทยมีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุณทางยาที่ดี ดังนั้นจึงอาจนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้ และยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรอีกทางหนึ่งด้วย
.
📌 พฤติกรรมของผู้บริโภคและสภาพสังคมที่ผู้คนไม่กล้าออกจากบ้าน จึงหันมาเลือกซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เพราะปลอดภัยกว่าการต้องออกไปซื้อของข้างนอก ดังนั้น การทำธุรกิจ e-Commerce จึงตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในช่วงนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้นแบรนด์ที่เคยขายในช่องทาง offline เน้นการขายหน้าร้านเป็นหลัก ต้องมีการปรับตัว เพิ่มช่องทางการขาย เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวและ
ลดผลกระทบกับธุรกิจให้น้อยที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

Login