- ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมกราคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,167.373 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,496.294 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.16 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 106 โครงการ
1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานล่าสุด (ข้อมูล ต.ค. 67) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 67 ขยายตัวร้อยละ 1 อัตราเงินเฟ้อ ปี 67 อยู่ที่ร้อยละ 22 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 67 อยู่ที่ระดับ 1,179 เหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งคาดการณ์ ปี 68 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 68 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.08 อัตราเงินเฟ้อ ปี 68 คาดว่าร้อยละ 14.20 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 68 คาดว่า 1,187 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง
ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา
ตัวชี้วัดทาง
เศรษฐกิจที่สำคัญ |
ปี 2561
|
ปี 2562
|
ปี 2563
|
ปี 2564
|
ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567
|
ปี 2568
(คาดการณ์) |
GDP Growth (%) | 6.4 | 6.8 | 3.2 | -10.49 | -3.96% | 2.54% | 1.02% | 1.08% |
GDP (billions of US$) | 66.7 | 68.8 | 81.26 | 68.05 | 61.77 | 64.51 | 64.28 | 65.01 |
GDP per Capita (US$) | 1,270 | 1,300 | 1,530 | 1,271 | 1,146 | 1,190 | 1,179 | 1,187 |
Inflation (%) | 5.94 | 8.63 | 5.73 | 3.64 | 18.39 | 27.10 | 22.00 | 14.20 |
ที่มา: IMF https://www.imf.org/en/Publications/WEO/weo-database/2024/October
1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ก.พ. 67 และ ก.พ. 68
ประเทศ/สหภาพ | สกุลเงิน | อัตราทางการ
สิ้นเดือน ก.พ. 67 |
อัตราทางการ
สิ้นเดือน ก.พ. 68 |
อัตราตลาดออนไลน์
สิ้นเดือน ก.พ. 68 |
อัตราตลาด
สิ้นเดือน ก.พ. 68 |
USA | 1 USD | 2,100.0 MMK | 2,100.0 MMK | 3,595.00 MMK | 4,400.0 MMK |
Euro | 1 EUR | 2,280.20 MMK | 2,199.23 MMK | 3,764.86 MMK | 4,550.0 MMK |
Singapore | 1 SGD | 1,563.30 MMK | 1,565.47 MMK | 2,679.94 MMK | 3,275.0 MMK |
Thailand | 1 THB | 58.68 MMK | 61.89 MMK | 105.95 MMK | 128.2 MMK |
ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate,
Myanmar Market Price Application
1.3 ภาวะการลงทุน
1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ
ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน – มกราคม 2568 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 656.151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง
ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – มกราคม 2568
อันดับ | ประเทศ | มูลค่าการลงทุน
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เม.ย. – ม.ค. 68 |
สัดส่วน (%) |
1 | สิงคโปร์ | 446.658 | 68% |
2 | ไทย | 46.155 | 7.03% |
3 | จีน | 83.192 | 12.67% |
4 | อินโดนีเซีย | 20.892 | 3.18% |
5 | ฮ่องกง | 21.683 | 3.30% |
6 | อินเดีย | 7.088 | 1.08% |
7 | ไต้หวัน | 8.059 | 1.22% |
8 | อังกฤษ | 2.519 | 0.38% |
9 | เกาหลีใต้ | 10.582 | 1.61% |
10 | ญี่ปุ่น | 1.673 | 0.25% |
รวม | 656.151 | 100% |
ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมกราคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 96,013.316 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,680.828 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.46 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 157 โครงการ
ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมกราคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,167.373 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,496.294 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.16 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 106 โครงการ
1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 – 2025 ในเดือนเมษายน – มกราคม 2568 รายละเอียดดังตาราง
ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา
ปีงบประมาณ 2024-2025 (เม.ย. – ม.ค. 68)
อันดับ | ประเภทธุรกิจ | มูลค่า
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เม.ย.– ม.ค. 68 |
สัดส่วน (%) |
1 | Transport& Communication | 87.715 | 29.32% |
2 | Manufacturing | 148.645 | 49.69% |
3 | Services | 51.068 | 17.07% |
4 | Power | 8.501 | 2.84% |
5 | Livestock&Fisheries | 2.657 | 0.88% |
6 | Agriculture | 0.525 | 0.17% |
รวม | 299.111 | 100% |
ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
- สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา
1) สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (ข้อมูล GTA: ม.ค. – ธ.ค. 67)
ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (มกราคม – ธันวาคม 2567)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Export | Import | Trade Volume | ||||||
2024 | 2023 | % | 2024 | 2023 | % | 2024 | 2023 | % |
Jan to Dec | Jan to Dec | change | Jan to Dec | Jan to Dec | change | Jan to Dec | Jan to Dec | change |
17,843 | 24,388 | -27% | 18,536 | 25,232 | -26% | 36,379 | 49,620 | -27% |
GTA: Global Trade Atalas
ในเดือนมกราคม -ธันวาคม 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 36,379 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 17,843 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 24,388 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27 ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม – ธันวาคม 2567 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 693 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ก๊าซธรรมชาติ พืชพันธุ์ ผักต่างๆ สินแร่ รองเท้า ยางพารา ปลา สัตว์น้ำ ไม้ เมล็ดน้ำมัน อัญมณี เป็นต้น
สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล ผ้าทอ เส้นด้าย ยานพาหนะ พลาสติก เหล็ก ปุ๋ย เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น
2) ข้อมูลล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา (เม.ย. – มิ.ย. 67)
* กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เปิดเผยข้อมูลล่าสุดเดือน มิ.ย. 67 โดยข้อมูลหลังจากนั้นไม่มีการเผยแพร่เพิ่มเติม*
สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | MANUFACTURING GOODS | 1,896.82 | 53.06% |
2 | AGRICULTURAL PRODUCTS | 1,405.20 | 39.31% |
3 | MARINE PRODUCTS | 144.973 | 4.05% |
4 | MINERALS | 46.838 | 1.31% |
5 | FOREST PRODUCTS | 15.521 | 0.43% |
6 | ANIMAL PRODUCTS | 1.851 | 0.05% |
7 | OTHER PRODUCTS | 63.302 | 1.77% |
รวม | 3,574.520 | 100.0% |
สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | สินค้า Commercial Raw material | 1,985.968 | 59.60% |
2 | สินค้า Investment Goods | 519.433 | 15.58% |
3 | สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) | 826.467 | 24.80% |
รวม | 3,331.868 | 100% |
ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 6,906.388ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกของเมียนมามี 3,574.520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าของเมียนมามี 3,331.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 242.652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเกษตร ประมง สินแร่ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น
สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
3) สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา (ข้อมูลกรมศุลกากรไทย: ม.ค. 68)
ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา
รายการ | มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ | อัตราขยายตัว (%) | สัดส่วน (%) / โลก | |||
2567
ม.ค. |
2568
ม.ค. |
2567
ม.ค. |
2568
ม.ค. |
2567
ม.ค. |
2568
ม.ค. |
|
มูลค่าการค้า | 575.1 | 635.32 | -10.48 | 9.47 | 1.21 | 1.22 |
การส่งออกของไทย | 367.60 | 421.49 | 0.52 | 12.78 | 1.65 | 1.66 |
การนำเข้าของไทย | 207.50 | 213.83 | -25 | 2.96 | 0.82 | 0.78 |
ดุลการค้าของไทย | 160.1 | 207.66 | 44 | 22 |
ที่มา : Thailand’s Trade Statistic (moc.go.th)
ปี 2568 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 635.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.47 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 421.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.78 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 213.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.96 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 207.66 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เม็ดพลาสติก ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก กาแฟ ชา เครื่องเทศ ลวดและสายเคเบิล เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เป็นต้น
- สถานการณ์สำคัญ
3.1 เมียนมาได้อนุมัติโครงการลงทุน ปี 2567 รวม 60 โครงการ สร้างงาน 29,000 ตำแหน่ง ในพื้นที่ย่างกุ้ง
ในปี 2567 (ม.ค. – ธ.ค. 67) คณะกรรมการการลงทุนภาคย่างกุ้ง (Yangon Region Investment Committee) ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่รวม 60 โครงการ สร้างงานรวม 29,290 ตำแหน่ง โดยใน 60 โครงการลงทุนดังกล่าว ประกอบด้วย 17 โครงการเป็นการลงทุนของนักลงทุนเมียนมา และ 43 โครงการเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ โดยการลงทุนจากต่างประเทศ รวมมูลค่ากว่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลกระทบ/โอกาส การลงทุนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศ ยังคงมีความเชื่อมั่นและตัดสินใจลงทุนในเมียนมา แม้จะมีความท้าทายหลายประการในเมียนมา เนื่องจากเมียนมามีศักยภาพการผลิตและโอกาสทางธุรกิจ ทั้งนี้ ในเมียนมามีธุรกิจการผลิตที่น่าสนใจ เช่น การผลิตหรือแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม การผลิตเครื่องสำอาง การผลิตสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งไทยมีศักยภาพในการผลิตดังกล่าว สามารถพิจารณาเป็นโอกาสทางธุรกิจ ทั้งการค้าหรือการลงทุนที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนไทยพิจารณาปรับแผนธุรกิจเป็นผลิตในเมียนมามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและการส่งเสริมของเมียนมา และช่วยลดข้อจำกัดเรื่องการขอ Import License นำเข้าสินค้าสำเร็จรูป โดยการปรับเป็นการผลิตในเมียนมามากขึ้นมีหลายรูปแบบ ทั้งการจ้างผลิตในเมียนมา (OEM) การเป็นหุ้นส่วนร่วมกับธุรกิจกับเมียนมา (Joint Venture) หรือการลงทุนเองในเมียนมา สิ่งสำคัญคือประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit) ทั้งไทยและเมียนมา เพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจและได้รับประโยชน์ร่วมกันในตลาดเมียนมาต่อไป
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.2 ปี 2567 ท่าเรือย่างกุ้งรองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ รวม 633 ลำ
การท่าเรือเมียนมา รายงานว่าปี 2567 ท่าเรือย่างกุ้งรองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ รวม 633 ลำ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า (ปี 2566 จำนวน 629 ลำ) โดยท่าเรือย่างกุ้งมีเรือบรรทุกตู้คอนเนอร์ ประมาณ 50-60 ลำ/เดือน
พร้อมรองรับการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศของเมียนมา
ผลกระทบ/โอกาส ท่าเรือย่างกุ้งและการขนส่งทางเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เป็นอีกหนึ่ง “ทางเลือกการขนส่ง” ช่วยขยายโอกาสรองรับการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา ซึ่งครอบคลุมการค้าระหว่างไทยและเมียนมาด้วย โดยมีความเชื่อมโยงกับการค้าไทย เช่น ท่าเรือย่างกุ้ง-ท่าเรือระนอง ท่าเรือย่างกุ้ง-ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น สำหรับเส้นทางย่างกุ้ง-ระนอง และระนอง-ย่างกุ้ง นอกจากเรือสินค้าเทกองที่มีอยู่เดิมแล้ว ตั้งแต่กลางปี 2567 ได้มีเรือตู้คอนเทนเนอร์ให้บริการเส้นทางดังกล่าว จึงเป็นอีกทางเลือกในการขนส่งสินค้าของไทยและเมียนมา
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการพิจารณา “ทางเลือกการขนส่ง” เปรียบเทียบการขนส่งทางบก เช่น ด่านแม่สาย จ.เชียงราย ด่านแม่สอด จ.ตาก หรือการขนส่งทางเรือ เช่น ท่าเรือระนอง ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อพิจารณาเลือกใช้เส้นทางและรูปแบบการขนส่งที่คุ้มค่าเหมาะสมต่อไป ซึ่งการขนส่งทางเรือ โดยเฉพาะ เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เป็นทางเลือกการขนส่งที่น่าสนใจ เพราะการขนส่งทางเรือปลอดภัยจากการปะทะกัน ป้องกันสินค้าลักลอบ รองรับบางสถานการณ์ของด่านชายแดนทางบกที่อาจมีข้อจำกัดทางการค้าหรือการขนส่ง รวมทั้งตู้คอนเทนเนอร์ช่วยป้องกันสินค้าไม่ให้เสียหายระหว่างการขนส่งและรองรับฤดูฝน ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของเมียนมาที่ส่งเสริมการใช้ท่าเรือย่างกุ้ง สนับสนุนการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศของเมียนมากับประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุมการค้าระหว่างเมียนมาและไทยด้วย
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.3 จีนพบหารือเมียนมา หารือความร่วมมือปราบปรามแก๊ง Call Center หลอกลวงออนไลน์ในเมียนมา
วันที่ 14 ก.พ. 68 ท่านหลิว จงอี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีความมั่นคงและสาธารณะของจีน พร้อมเอกอัครราชทูตจีนประจำเมียนมา เข้าพบท่าน Tun Tun Naung รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเมียนมา หารือแนวทางความร่วมมือในการปราบปราม แก๊ง Call Center, Scammers การหลอกลวงออนไลน์ และการช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ในเมียนมา
ผลกระทบ/โอกาส เป็น “สัญญาณที่ดี” ที่ “เมียนมาและจีน” ได้พบหารือเรื่องความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งจะมีการดำเนินการร่วมกันต่อไป เพื่อช่วยกันปราบปรามกำจัดแก๊ง Call Center, Scammers การหลอกลวงออนไลน์ และช่วยเหลือเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ในเมียนมา สอดคล้องกับการดำเนินการของไทย ในการสกัดกั้นแก๊ง Call Center, Scammers กลุ่มมิจฉาชีพและขบวนการค้ามนุษย์ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ได้แก่ เมียวดี ท่าขี้เหล็ก พญาตองซู โดยการตัดไฟฟ้า ตัดน้ำมันเชื้อเพลิง ตัดอินเตอร์เน็ตของไทยให้กับพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. 68
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ ด่านแม่สอด-เมียวดี จ.ตาก ด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก จ.เชียงราย และด่านเจดีย์สามองค์-พญาตองซู จ.กาญจนบุรี ติดตามสถานการณ์และปรับแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รองรับความท้าทายหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้น เช่น การระงับส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยในพื้นที่ดังกล่าว ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวของเมียนมา รวมทั้ง ขอให้ผู้ประกอบการพิจารณาการขนส่งเส้นทางอื่นๆ เป็นทางเลือกเพิ่มเติม เช่น ท่าเรือระนอง ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น เพื่อพิจารณาใช้ทดแทนด่านทางบก 3 ด่านดังกล่าว ที่มีความท้าทายและข้อจำกัดในยามนี้
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.4 “เมียนมา-ไทย-จีน” ร่วมมือปราบปรามแก๊ง Call Center ในเมียนมา ส่งตัวชาวจีนกลับประเทศ
วันที่ 20 ก.พ. 68 “เมียนมา-ไทย-จีน” ร่วมมือปราบปรามแก๊ง Call Center ในเมียนมา ส่งตัวชาวจีนกลับประเทศ จำนวน 200 คน โดยผ่านกระบวนการคัดกรองและขึ้นเครื่องบินที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งมี “ผู้นำตัวแทนของ 3 ประเทศ ร่วมส่งตัว” ได้แก่ 1. ประเทศไทย ท่านภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย 2. ประเทศจีน ท่านหลิว จงอี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและสาธารณะของจีน และ 3. ประเทศเมียนมา พลเอกอ่อง ซอ ซอ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของเมียนมาผลกระทบ/โอกาส เป็น “สัญญาณที่ดี” ที่สะท้อนว่าเมียนมา (รัฐบาลกลาง) ร่วมมือกับไทยและจีน ช่วยกันสนับสนุนและปราบปรามแก๊ง Call Center การหลอกลวงออนไลน์ และกระบวนการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา รวมทั้ง สอดคล้องกับแนวทาง “กลไกไตรภาคี” (เมียนมา ไทย จีน) ที่จะจัดตั้งเป็นรูปธรรมในระยะต่อไป เพื่อเป็นกลไกกำหนดแนวทางและขับเคลื่อนการป้องกัน ปราบปราม และแก้ปัญหาแก๊ง Call Center, Scammer การหลอกลวงออนไลน์ การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติต่อไป ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ การร่วมมือกันของทั้ง “เมียนมา-ไทย-จีน” และมีกลไกหารือเพื่อขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะช่วย “สร้างความเชื่อมั่น” และ “คลี่คลายผลกระทบที่เกิดขึ้น” ให้กับประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจและการค้าชายแดนที่เกี่ยวข้อง ขอให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าวหรือที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์หรือปรับแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รองรับความท้าทายหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น เช่น พิจารณาการขนส่งเส้นทางอื่นๆ เป็นทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อใช้ทดแทน 3 ด่านที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ด่านแม่สอด ด่านแม่สาย ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งมีความท้าทายและข้อจำกัดในยามนี้ โดยหวังว่า “ผลกระทบต่างๆ จะคลี่คลายมากขึ้นในอนาคต” หากสามารถกวาดล้างแก๊ง Call Center หลอกลวงออนไลน์ และการค้ามนุษย์ในพื้นที่ดังกล่าวได้
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.5 เมียนมาส่งเสริมการพัฒนาสินค้า MSME
พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้นำเมียนมา ได้พบกับนักธุรกิจ MSME (Micro-, Small- and Medium-sized Enterprise) เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของธุรกิจและหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาสินค้า MSME โดยสนับสนุนให้พัฒนาธุรกิจ ยกระดับศักยภาพ พัฒนาสินค้า พัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ปรับปรุงกระบวนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม มีราคาที่เหมาะสม รวมทั้ง ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ทดแทนสินค้านำเข้า ส่งเสริมการส่งออกของเมียนมา ทั้งนี้ เมียนมาได้จัดงาน MSME Product Exhibition and Competition วันที่ 10-14 ก.พ. 68 ณ กรุงเนปยีดอเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ MSME รวมทั้งมีการมอบรางวัลผลิตภัณฑ์ MSME และสร้างเครือข่ายธุรกิจ MSME ในเมียนมา
ผลกระทบ/โอกาส เป็น “โอกาสอันดี” ที่เมียนมามีนโยบายสนับสนุน และการดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสินค้า MSME ของเมียนมา ทั้งการจัดงานแสดงสินค้า การมอบรางวัล รวมทั้ง มีกลไกภาครัฐสนับสนุน คือ กรม MSME กระทรวงอุตสาหกรรมเมียนมา มีแหล่งข้อมูล https://msmewebportal.gov.mm/ โดยเว็บไซต์ มีภาษาอังกฤษให้เลือก แม้บางข้อมูลเป็นภาษาเมียนมา และมีข้อมูลให้เลือก เช่น การได้รับรางวัล ขนาดธุรกิจ ที่ตั้ง โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าสมุนไพร แชมพู สบู่ กาแฟ ชา ไม้ ผ้า เป็นต้น
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ธุรกิจไทยพิจารณาใช้ประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมพัฒนาสินค้า MSME ของเมียนมา ได้แก่ การเป็นคู่ค้ากัน การเป็นพันธมิตรธุรกิจกัน เช่น การพัฒนาศักยภาพ พัฒนาสินค้าหรือกระบวนการผลิต รองรับสอดคล้องกับความต้องการตลาดเป้าหมาย หรือการจับคู่กับ Export Earning ของผู้ส่งออกสินค้า MSME กับผู้นำเข้าสินค้าไทย เพื่อประกอบการขอ Import License เป็นต้น
3.6 รมว.ต่างประเทศของไทย เยือนเมียนมา เห็นพ้องร่วมมือแก้ปัญหาปราบอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊ง Call Center
เมื่อวันที่ 21-22 ก.พ.68 ท่านมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เดินทางเยือนเมียนมา ตามคำเชิญของท่าน อู ตาน ส่วย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา โดยเป็นการเยือนเมียนมาครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเสนาธิการทหารบกเข้าร่วมคณะ รวมทั้งได้เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกอาวุโส มิน ออง ไลง์ ผู้นำเมียนมาด้วย โดยทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับมิตรภาพและความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีความผูกพันกันมานาน และเห็นพ้องที่จะเพิ่มความร่วมมือมากยิ่งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันในหลายด้าน เช่น การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ การหลอกลวงออนไลน์ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดความสงบสุขบริเวณชายแดนไทย–เมียนมา และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเมียนมา
ผลกระทบ/โอกาส เป็น “โอกาสอันดี” ที่ทางการไทย โดยผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการทหารบก มาเยือนเมียนมา โดยได้พบเยี่ยมคารวะและหารือกับผู้บริหารระดับสูงเมียนมา ได้แก่ ผู้นำเมียนมา รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของของเมียนมา ประการสำคัญ ได้เห็นพ้องความร่วมมือต่างๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ การหลอกลวงออนไลน์ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เช่น ปัญหาหมอกควันข้ามแดน การบริหารจัดการแม่น้ำสายป้องกันน้ำท่วม ความร่วมมือเรื่องความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยการเยี่ยมเยือนและร่วมมือกันของไทยและเมียนมาดังกล่าว สะท้อนความสัมพันธ์อันดีและส่งผลดีต่อความร่วมมือกันในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนติดตามสถานการณ์และการดำเนินการร่วมกันของไทยและเมียนมาต่อไป โดยเฉพาะ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊ง Call Center ขบวนการค้ามนุษย์ ที่จะมีกลไกไตรภาคี “เมียนมา-ไทย-จีน” เพื่อช่วยกันปราบปรามและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันต่อไป
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
มีนาคม 2568
อ่านข่าวฉบับเต็ม : รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568