หน้าแรกTrade insightเครื่องดื่ม > 5 เทรนด์ ที่เป็นตัวกำหนดวัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหาร

5 เทรนด์ ที่เป็นตัวกำหนดวัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหาร

ในปี 2566 ที่ผ่านมา เป็นปีที่ท้าทายอีกปีสำหรับผลิตภัณฑ์วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร ปัจจัยหลักมาจากอัตราเงินเฟ้อและราคาสินค้าที่สูงขึ้น และยังคงส่งผลต่อไปในปี 2567 นี้ อย่างไรก็ตาม ยอดขายผลิตภัณฑ์วัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในแง่ของมูลค่า และร้อยละ 1.4 ในแง่ของปริมาณ โดยราคาต่อหน่วยที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น

ผู้บริโภคในตลาดต่างๆ มีการใช้จ่ายอย่างประหยัดมากขึ้นเมื่อซื้อสินค้าจำเป็น และลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น บางคนหันมาเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูปแทนการรับประทานอาหารนอกบ้านเพื่อประหยัดเงิน ในขณะที่บางคนเลือกใช้โปรโมชั่น ร้านค้าลดราคา และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จาก private label เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำอาหารเองที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริโภคจะมีแนวโน้มการใช้จ่ายที่ประหยัด แต่กลับพบว่าผลิตภัณฑ์พรีเมียมกำลังเป็นที่นิยมและประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดอาหารสำเร็จรูปและซอสปรุงรสต่างๆ แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่าย

ร้านอาหารแต่ต้องการผลิตภัณฑ์พรีเมียม ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ ก็ยังคงแสวงหาผลิตภัณฑ์ ที่มีราคาไม่แพงด้วยเช่นกัน

อีกทั้ง ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพกำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตัวเลือกที่มีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย ไฟเบอร์สูง โปรตีนสูง และไม่มีแลคโตส ซึ่งกำลังเติบโตอย่างมากในหมวดซอสและเครื่องปรุงต่างๆ คาดว่าการฟื้นตัวของผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในอนาคต แต่ความไม่มั่นคงในห่วงโซ่อุปทานอาหารและแรงกดดันจากค่าครองชีพที่ยังคงมีอยู่จะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของยอดขาย

Euromonitor ได้สรุป 5 เทรนด์ ที่เป็นตัวกำหนดวัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหาร ไว้ดังนี้       

  1. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหลักมาจากพืช ในอดีต อาหารทางเลือกจากพืชพบได้น้อยในหมวด

วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางเลือกเหล่านี้ได้ขยายตัวในวงกว้าง เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากที่ระบุว่า “มังสวิรัติ” เพิ่มขึ้นอย่างมาก และผู้บริโภคมีการรับรู้มากขึ้น โดยพบว่าในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ในหมวดซอสและเครื่องปรุง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุว่าเป็นมังสวิรัติหรือทำมาจากพืชมากที่สุด

  1. ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพกำลังเพิ่มขึ้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์

เหล่านั้นจะอยู่ในหมวดที่มักถูกมองมีราคาแพง แต่ผู้บริโภคต้องการตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ แต่ยังสามารถสัมผัสถึงรสชาติและความพิเศษได้อยู่เสมอ ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์นี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญในตลาด ผู้บริโภคยังคงมีความต้องการวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่มีส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์ความนิยมในด้านสุขภาพเกี่ยวกับการลดน้ำตาล ตัวเลือกปราศจากกลูเตน และไม่มีแลคโตสกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ความต้องการในการลดน้ำตาลและเพิ่มไฟเบอร์หรือโปรตีนในอาหารที่ผู้บริโภคต้องการรับประทานก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2566 จำนวนผู้บริโภคที่เรียกร้องให้ลดน้ำตาลในอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ทั่วโลก และคาดว่าแนวโน้มนี้จะยังคงต่อไปในอนาคต ผู้บริโภคต้องการบริโภคอาหารที่อร่อย ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีสูตรและส่วนผสมที่ดีขึ้น เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

  1. ผลิตภัณฑ์พรีเมียม

ในช่วงปี 2565-2566 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้หลายครัวเรือนไม่สามารถใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นได้มากนัก เช่น การซื้อของฟุ่มเฟือยหรือสินค้าราคาแพง แต่ในขณะเดียวกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์พรีเมียมกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงผู้บริโภคยังคงมองหาสินค้าที่มีคุณภาพสูง แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะไม่ดี แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีคุณภาพสูง แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

  1. ผลิตภัณฑ์ที่มาจากแหล่งที่ยั่งยืนหรือสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พวกเขาต้องการผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแค่ดีต่อสุขภาพ แต่ต้องดีต่อโลกด้วย  ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ที่ผู้บริโภคมักเลือกซื้อเพราะเชื่อว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อย่างเช่น ซอส น้ำจิ้ม และเครื่องปรุง ที่ผลิตโดยคำนึงถึงการจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น จากแหล่งผลิตที่การประมงมีการควบคุมหรือการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีอันตราย เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อนั้นดีต่อสุขภาพและไม่ทำร้ายธรรมชาติ กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ฉลากมีการระบุว่า “มาจากการประมงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดยตั้งแต่ปี  2562-2566 มีการวางจำหน่ายสินค้าในหมวดนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนแบรนด์ที่มีแนวทางในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและลดขยะ เหล่านี้จึงเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับธุรกิจในการพัฒนาและปรับกลยุทธ์การผลิตให้เข้ากับความต้องการนี้

  1. โซลูชันการค้าปลีก แนวทางการค้าปลีกใหม่ ๆ กำลังยกระดับความสะดวกสบายในการซื้ออาหารสำเร็จรูป หลังจากที่ยอดขายออนไลน์พุ่งสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาด ผู้บริโภคเริ่มกลับมาช้อปปิ้งตามร้านค้าอีกคั้ง เพราะต้องการเห็นสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ และไม่อยากรอการจัดส่งหรือจ่ายค่าบริการจัดส่ง และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงต้องการที่จะได้รับคำแนะนำจากพนักงานภายในร้าน ทำให้ร้านค้าปลีกที่ยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ และยังสามารถเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากลูกค้าได้โดยตรง เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้นต่อไป

ความคิดเห็นของสคต. นิวยอร์ก

แนวโน้มของวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารและอาหารของผู้บริโภคนั้น มักจะเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้บริโภค ผู้บริโภคเริ่มมองหาสินค้าที่มีราคาย่อมเยาและต้องการตัวเลือกจากหลากหลายแบรนด์ ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ ดีต่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้การรับประทานอาหารที่บ้านน่าสนใจมากขึ้น และมีกรรมวิธีที่ง่ายต่อการรับประทาน

ผู้ประกอบการไทย ควรติดตามแนวโน้มและความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ปรับกลยุทธ์การตลาดและการผลิตให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ใช้ช่องทางการขายที่หลากหลาย เช่น ออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในหลายรูปแบบ และเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากลูกค้าเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก:

https://www.euromonitor.com/article/five-trends-shaping-cooking-ingredients-and-mealsสคต. นิวยอร์ก เดือนตุลาคม 2567

 

อ่านข่าวฉบับเต็ม : 5 เทรนด์ ที่เป็นตัวกำหนดวัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหาร

Login