หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > ตลาดลำไยในเยอรมนี

ตลาดลำไยในเยอรมนี

  1. ข้อมูลทั่วไปของลำไยในเยอรมนี

    • การเพาะปลูกลำไย
      แหล่งเพาะปลูกลำไยที่สำคัญของโลกส่วนใหญ่มักอยู่ในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย อาทิ ไทย จีน และเวียดนาม เนื่องจากลําไยเป็นผลไม้เมืองร้อน เติบโตได้ดีโดยเฉพาะในดินร่วนปนทราย และดินตะกอน อีกทั้งต้องการน้ำและความชื้นของนํ้าในการเติบโต รวมถึงควรมีปริมาณน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 1,250 มิลลิเมตรต่อปี โดยการปลูกต้องทำในที่โล่งแจ้งและมีแสงแดดส่องตลอดเวลา[1] ดังนั้น เยอรมนีจึงไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกลำไย จึงต้องพึ่งพิงการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นสำคัญ
    • ราคาจำหน่ายในตลาดเยอรมนี
      ในปี 2567 ช่วงราคาขายปลีกลำไยในตลาดเยอรมนีอยู่ระหว่าง 4.45 – 6.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม (หรือประมาณ 4.13 – 5.97 ยูโร) สำหรับราคาขายส่งลำไยในเยอรมนีโดยประมาณอยู่ระหว่าง 3.12 – 4.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม (หรือประมาณ 3 ยูโร ถึง 4.18 ยูโร[2])
    • ช่องทางการจัดจำหน่าย
      ลำไยเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ดังนั้น การขายลำไยสดในเยอรมนีจึงค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ซึ่งลำไยส่วนใหญ่ที่วางจัดจำหน่ายในตลาดเยอรมนีมักขายในร้านค้าเอเชีย[3] หรือร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ที่มีแผนกสินค้าต่างประเทศ เช่น เว็บไซต์ Amazon.de และ asia-foodstore.de. เป็นต้น นอกจากนี้ ปัจจุบันยังพบการขายในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้นำเข้าส่วนใหญ่เป็นคนเอเชีย อาทิ คนเวียดนาม คนจีน และคนไทย ที่พำนักในเยอรมนี
  1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลำไย

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลำไย มีความหลากหลายพบได้ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อาทิ เครื่องสำอาง ภายใต้เครื่องหมายการค้า “P80 ไพโต พราม” (Phyto Prime) ซึ่งออกวางขายที่ตลาดประเทศเยอรมนีเป็นแห่งแรกในเดือนตุลาคม 2565[4] นอกจากนี้ ยังพบว่า ในตลาดเยอรมนีมีลำไยแปรรูปอื่น ๆ เช่น ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ลำไยกระป๋องและลำไยแช่แข็ง แยมลำไย เครื่องดื่มน้ำลำไย คุ้กกี้ลำไย เค้กลำไย ข้าวเหนียวเปียกลำไย ขนมปังลำไย และมัฟฟินลำไย เป็นต้น

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลำไยที่วางขายในเยอรมนี

ลำไยกระป๋อง : แบรนด์ Thai Pride จำหน่ายลำไยกระป๋องในน้ำเชื่อม ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยลำไย 40% และนำเข้าโดย Kreyenhop & Kluge GmbH & Co. KG มีจำหน่ายในราคา 5.49 ยูโร สำหรับกระป๋องขนาด 565 กรัม (น้ำหนักเนื้อ 230 กรัม)

 

สารสกัดลำไย : สารสกัดลำไยเข้มข้นจาก Maienfelser Naturkosmetik สารสกัดนี้ผลิตจากผลลำไยที่มาจากประเทศไทย บรรจุในขวดแก้วสีม่วงขนาด 10 มล. บรรยายว่ามีความเข้มข้นมากและสกัดด้วยแอลกอฮอล์

ซอสไทยกับลำไย : TD Thai Spice เสนอซอสที่มีลำไยเป็นส่วนผสม ผลิตภัณฑ์นี้ผสมผสานรสชาติของลำไยเข้ากับเครื่องเทศไทยอื่นๆ

  1. ทิศทางการนำเข้าลำไย

ที่มา : “Import of Fresh Longan To Germany: Overview of Imports,” Tridge, https://www.tridge.com/intelligences/longan/DE/import

จากรูปภาพข้างต้นแสดงมูลค่าและปริมาณการนำเข้าลำไยสดในตลาดเยอรมนี ตลอดจนแนวโน้มในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยจะพบว่า ทิศทางการนำเข้าลำไยมายังตลาดเยอรมนีทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2566 มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 260.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 16.66 จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าในช่วง 3 -5 ปี ลดลงร้อยละ 13.26 และ 11.77 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณนำเข้ารวมในปี 2566 อยู่ที่ 143.3 ล้านกิโลกรัม ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 8.64 โดยในระยะเวลา 3 – 5 ปี ลดลงร้อยละ 15.23 และ 20.11 ตามลำดับ

ความท้าทายการส่งออกลำไยของไทยมายังตลาดเยอรมนี

สภาพตลาดเยอรมนี :

    • สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
      เศรษฐกิจของเยอรมนีในปัจจุบันกำลังอยู่ในภาวะซบเซาและเผชิญกับการถดถอย ซึ่งจากการคาดการณ์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2024 โดยสถาบัน ifo ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ปรับตามราคาจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในปี 2024 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า[5] เศรษฐกิจอยู่ในสถานการณ์อัมพาต โดยมีคำสั่งซื้อที่ย่ำแย่ลง มีงานค้างคำสั่งซื้อต่ำ อัตราการเจ็บป่วยสูง และการนัดหยุดงานอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะไม่ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดจนกว่าจะถึงครึ่งหลังของปี 2567[6] สถาบันคีลคาดการณ์การเติบโตของ GDP เพียง 0.2% ในปี 2567[7]
    • อัตราเงินเฟ้อ
      อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีคาดว่า จะลดลงอย่างต่อเนื่องจากค่าเฉลี่ย 5.9% ในปี 2566 เหลือ 2.3% ในปี 2567 และ 1.6% ในปี 2568 ตามข้อมูลของสถาบัน ifo อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมพลังงาน) จะลดลงอย่างช้าๆ เป็น 2.8% ในปี 2567 และ 2.2% ในปี 2568[8] อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.4% ในเดือนพฤษภาคม 2024 โดยได้แรงหนุนจากปัจจัยต่างๆ เช่น การสิ้นสุดของผลกระทบด้านราคาของ Deutschlandticket และภาษีเที่ยวบินที่สูงขึ้น[9]
    • รสนิยมของผู้บริโภค
      เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อาจจผ่อนคลายลง รายได้ที่แท้จริงของครัวเรือนจึงคาดว่าน่าจะฟื้นตัวได้ เมื่อรวมกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้น อาจสามารถผลักดันให้การบริโภคภาคเอกชนกลับขึ้นมาสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดในปี 2568[10] อย่างไรก็ดี บรรยากาศของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ และยอดค้าปลีกลดลงอย่างรวดเร็วอย่างไม่คาดคิดในเดือนเมษายน 2024 โดยเฉพาะในภาคอาหาร[11]
  • คุณภาพ/มาตรฐานของลำไยไทย

ลำไยเป็นผลไม้ที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในปริมาณสูง เช่น กรดฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ ดังนั้น ก่อนการเก็บรักษาผลลำไยจะต้องผ่านกระบวนการไฮโดรคูลลิ่ง ซึ่งสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้เมื่อรวมกับอุณหภูมิการเก็บรักษาต่ำ แต่การเน่าเปื่อยและการสูญเสียน้ำหลังการเก็บเกี่ยวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อายุการเก็บหรือ Shelf Life สั้นลงและจำกัดการส่งออกผลลำไยไปยังตลาดระยะไกล ประเทศไทยจึงใช้วิธีรมสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพื่อการช่วยยืดอายุของลำไย[12] ซึ่งในบางครั้งโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลำไยสดบางแห่งมักใช้สารรมเกินปริมาณที่กำหนด เพราะต้องการให้ลำไยผิวสวยและมีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น โดยไม่คำนึงถึงการตกค้างของสารพิษหลังการรม[13] ซึ่งอาจขัดต่อมาตรฐานการนำเข้าของสหภาพยุโรป เนื่องจากการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) เกินกำหนดมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น โรคหอบหืด(Asthma) โดย 5-10% ของผู้เป็นโรคหอบหืดเรื้อรังในผู้ใหญ่ในเยอรมนีอาจทำปฏิกิริยากับสารซัลไฟต์ได้[14] นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังกำหนดให้ต้องมีการระบุสารตกค้างที่ตรวจพบได้บนฉลาก และกำหนดระดับสารตกค้างสูงสุด (MRL) สำหรับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอาหารต่างๆ ภายใต้กฎระเบียบ (EC) หมายเลข 396/2005 สำหรับลำไยสดหรือแช่แข็ง MRL คือ 10 มก./กก.[15] ดังนั้นแม้ว่ามาตรฐานการตลาดจะไม่ได้กล่าวถึงข้อจำกัดที่เฉพาะเจาะจง แต่ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ตกค้างในลำไยเกินกว่า 10 มก./กก. ก็มีแนวโน้มที่จะถือว่าไม่เป็นไปตามข้อกำหนดสำหรับการขายในสหภาพยุโรป

  • ศักยภาพในการแข่งขันของลำไยไทยในตลาดเยอรมนี

แม้ว่าไทยจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกลำไยสดรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2565 ไทยส่งออกลำไยประมาณ 274,064 ตัน แต่หากพิจารณาเฉพาะในตลาดยุโรปแล้ว จะพบว่า เยอรมนีเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญลำดับที่ 1[16] อย่างไรก็ดีปัจจุบันผู้ส่งออกของไทยกำลังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่ง อาทิ เวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกลำไยรายใหญ่โดยมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวนานกว่าประเทศไทย จึงทำให้เวียดนามสามารถจัดหาลำไยให้กับตลาดได้เมื่อประเทศไทยอยู่นอกฤดูกาล ฤดูเก็บเกี่ยวลำไยในประเทศไทยมักเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน ในขณะที่ เวียดนามอาจขยายฤดุการเก็บเกี่ยวครอบคลุม เดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกของเวียดนามได้เปรียบเพราะสามารถตอบสนองความต้องการในตลาดสำคัญๆ ได้เป็นระยะเวลานานขึ้น[17]

  • ศักยภาพในการแข่งขันของลำไยไทยในตลาดเยอรมนี

ทิศทางการนำเข้าที่ลดลงได้สะท้อนให้เห็นว่า สถานการณ์การบริโภคลำไยของเยอรมนีในปัจจุบันมิสู้ดีนัก เนื่องด้วยกำลังซื้อขาดหายไป ลูกค้าในตลาดเยอรมนีโดยเฉพาะชาวเยอรมันให้ความสำคัญกับการจับจ่ายใช้สอยเป็นอย่างมาก นอกจากปัจจัยด้านตลาดแล้ว ประเด็นปัญหาอื่น ๆ ก็มีผลทำให้การนำเข้าลำไยในหลายปีที่ผ่านมาลดลง ทั้งเป็นผลมาจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานและนโยบายการค้าต่าง ๆ

ดังนั้นจึงพอสรุปคร่าว ๆ ได้ว่า ขณะนี้ตลาดลำไยในตลาอเยอรมนีกำลังอยู่ในช่วงหดตัว โดยการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งมูลค่าและปริมาณในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บ่งชี้ถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความต้องการที่ลดลง ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ส่งผลต่อการนำเข้าลำไยสด มูลค่าการนำเข้าสูงสุดในช่วงปี 2564 อาจบ่งบอกถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้หรือสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวยซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่นั้นมา และการลดลงในเวลาต่อมาชี้ไปที่การเปลี่ยนแปลงของตลาด ซึ่งอาจเนื่องมาจากการแข่งขันจากผลไม้อื่นๆ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค หรือความท้าทายทางเศรษฐกิจ อีกทั้งปริมาณและมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงอาจสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน หรือความท้าทายด้านลอจิสติกส์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความพร้อมและต้นทุนของลำไยสดในเยอรมนี และการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้บริโภคหรือความพร้อมของผลไม้ทดแทนที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้การนำเข้าลำไยสดลดลง

[18]

จากการวิเคราะห์ข้อมูลการนำเข้าลำไยสดของเยอรมนีในปี 2566 พบว่า ความต้องการของผู้บริโภคมีความผันผวนตลอดทั้งปี มูลค่านำเข้าของเยอรมนีอยู่ระหว่าง 18.07 ล้านถึง 23.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน โดยลดลงอย่างเห็นได้ชัดในเดือนธันวาคมเหลือ 18.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสูงสุดในช่วงกลางปี ​​โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม โดยมีมูลค่าสูงถึง 20.56 ล้านดอลลาร์ และ 23.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ แต่ก็มีการลดลงตามมาในช่วงปลายปี ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มความต้องการลำไยสดในเยอรมนีมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความต้องการของผู้บริโภคตามฤดูกาลหรือความพร้อมของผลไม้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม การลดลงในช่วงปลายปีบ่งชี้ว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคลดลงหรือข้อจำกัดด้านอุปทาน มูลค่าการนำเข้าที่ลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปี 16.66% ยังเน้นย้ำถึงความต้องการที่ลดลงหรือความท้าทายของตลาดภายในประเทศเยอรมนี

  1. การส่งออกลำไยของไทยมาที่เยอรมนี

ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร[19] พบว่า

  • ในปี 2564 และ 2566 เยอรมนีเป็นตลาดส่งออก “ลำไยสด”ของไทย ในอันดับที่ 30 โดยมีมูลค่า 45 ล้านบาท และ 0.05 ล้านบาท ตามลำดับ
  • ในปี 2565 เยอรมนีเป็นตลาดส่งออก “ลำไยแห้ง” ของไทย ในอันดับที่ 33 โดยมีมูลค่า 02 ล้านบาท และปี 2566 อันดับที่ 23 โดยมีมูลค่า 0.15 ล้านบาท อัตราขยายตัวคิดเป็น 709.39%
  • ในส่วนของ “ลำไยกระป๋อง
    • ปี 2564 ไทยส่งออกด้วยมูลค่า 22 ล้านบาท อัตราขยายตัวคิดเป็น -44.69%
    • ปี 2565 ไทยส่งออกด้วยมูลค่า 37 ล้านบาท อัตราขยายตัวคิดเป็น 70.34%
    • ปี 2566 เยอรมนีเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 26 โดยมีมูลค่า 08 ล้านบาท อัตราขยายตัวคิดเป็น -57.07%
    • ปี 2567 (ม.ค.-เม.ย.) เยอรมนีเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 18 มีมูลค่า 08 ล้านบาท อัตราขยายตัวคิดเป็น 392.85%

จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ดังนี้

  • ตลาดลำไยสดในเยอรมนีมีขนาดเล็ก จากการที่มูลค่าการส่งออกของไทยไปเยอรมนีลดลงอย่างมากในช่วงปี 2564 – 2566 ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความต้องการที่ลดลงหรือปัจจัยตลาดอื่น ๆ
  • การส่งออกลำไยแห้งมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2566 แสดงให้เห็นถึงความสนใจลำไยแห้งหรือผลไม้แปรรูปที่เพิ่มขึ้นหรือการปรากฏตัวของตลาดที่ดีขึ้นในเยอรมนีสำหรับลำไยในรูปแบบนี้
  • ตลาดลำไยกระป๋องมีความผันผวนสูง หลังจากที่ลดลงในปี 2564 มูลค่าการส่งออกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2565 แต่ก็ลดลงอีกครั้งในปี 2566 อย่างไรก็ตาม ตลาดกลับเติบโตอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งอาจบ่งบอกได้ถึงความต้องการที่ผันผวนตามด้วย
  1. นโยบาย มาตรการ และกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ

เยอรมนีมีข้อกำหนด อัตราภาษี และมาตรการการนำเข้าลำไย โดยเป็นไปตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ดังนี้

  • การขออนุญาตการนำเข้า[20]
    • นอกโควตา : สหภาพยุโรปไม่มีการจำกัดปริมาณและช่วงเวลาในการนำเข้าลำไยนอกโควตา
    • ในโควตา : สหภาพยุโรปอนุญาตให้นำเข้าตามช่วงเวลาและปริมาณที่ได้รับการจัดสรรโควตาภาษี โดยลำไยไทยกำหนดให้การส่งออกลำไยจากไทยต้องมีใบอนุญาตส่งออก (Export License) และหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบขอหนังสืออนุญาตนำเข้าลำไย (Import Licences) ของสหภาพยุโรป ซึ่งตามระเบียบสหภาพยุโรป Commission Implementing Regulation (EU) ที่ 2020/1739 ลงวันที่ 20 พ.ย. 2563 สหภาพยุโรปได้ปรับลดปริมาณโควตาที่จัดสรรให้ไทย เนื่องจากมีการแบ่งปริมาณโควตาให้สหราชอาณาจักรที่มีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยกำหนดแยกตามประเภทของลำไย
    • ข้อกำหนดการขอใบอนุญาตการนำเข้า (Import License: IL)[21] : สหภาพยุโรป กำหนดให้ช่วงที่ยื่นคำขอเป็นวันจันทร์ – ศุกร์ โดยใบอนุญาตจะได้ในเดือนถัดไป โดยการนำเข้าลำไยจากไทยจะต้องแสดงเอกสารประกอบ ได้แก่ (1) L001 Import License AGRIM และ (2) Y100 Special entries on the import license AGRIM
  • มาตรการเสริม อาทิ
    • มาตรฐานเอกชน (Private Standards) : เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรเอกชน หรือองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ เช่น บริษัท ห้างร้าน NGOs โดยเป็นมาตรฐานสมัครใจเพิ่มเติมจากข้อกำหนดของภาครัฐ เพื่อควบคุมการผลิต การแปรรูป การจัดหา การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การบริการ รวมถึงการจัดการด้านอื่น ๆ ในห่วงโซ่อาหาร ทำให้ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าจะต้องมีการปรับตัว เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานเอกชนที่กำหนดไว้ และหลีกเลี่ยงการถูกกีดกันทางการค้าจากห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ ที่ไม่ยอมรับนำเข้าจากประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานเอกชนต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ บีเอสซี (BSC ÖKO-GARANTIE GMBH – BSC) เป็นต้น
    • มาตรการรับรองสุขอนามัยพืช : เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีและปราศจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตราย ผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านการทดสอบที่บังคับใช้ ณ จุดนำเข้าหรือในระหว่างกระบวนการตลาด (ดูภาคผนวก XI ส่วน C ของระเบียบ (EU) 2019/2072) ระเบียบนี้กำหนดวิธีการควบคุมพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย โดยภาคผนวก XI ระบุว่าการควบคุมเหล่านี้รวมถึง
  • การตรวจสอบใบรับรองและเอกสารสุขอนามัยพืชที่ออกโดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (NPPO, National Plant Protection Organization) ของประเทศผู้ส่งออก
  • การตรวจสอบทางกายภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการส่งสินค้าปราศจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตราย
  • การตรวจสอบตัวตนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ส่งสินค้าตรงกับใบรับรอง
  • การตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการส่งสินค้าปราศจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตราย

ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจสอบเอกสาร ตัวตน และสุขอนามัยพืช ซึ่งต้องชำระโดยผู้นำเข้าหรือผู้แทนศุลกากร ค่าธรรมเนียมนี้มักจะชำระบัญชีพร้อมกับยอดขายและการชำระเงินขั้นสุดท้ายของผู้ซื้อ[22]

  • ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหาร : ผลไม้นำเข้าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารของสหภาพยุโรป ได้แก่ :
    • ระดับสารตกค้างสูงสุด (Harmonized Maximum Residue Limits (MRLs)) สำหรับสารกำจัดศัตรูพืชตามระเบียบ EC/396/2005 กำหนดระดับสูงสุดของสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในอาหารหรืออาหารสัตว์ ผู้ต้องการนำเข้าจากประเทศโลกที่สามจะต้องปฏิบัติตาม EU MRLs สำหรับการจัดส่งผักและผลไม้ โดยจะมีการทดสอบแบบสุ่มที่ทางเข้า จุดจำหน่าย และจุดขายปลีก การละเมิดอาจนำไปสู่การปฏิเสธและการทำลายการจัดส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสุขภาพของประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยง[23]
    • ข้อจำกัดการปนเปื้อนสารเคมีตามที่ระบุไว้ในระเบียบ EC/466/2001 ได้กำหนดระดับสารตกค้างสูงสุด เช่น ไนเตรต สารพิษจากเชื้อรา โลหะหนัก และ 3-MCPD สำหรับผักและผลไม้

การละเมิดซ้ำๆ จากประเทศหนึ่งๆ อาจนำไปสู่ข้อจำกัดพิเศษหรือมาตรการฉุกเฉินโดยคณะกรรมาธิการยุโรป และส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและความเสียหายต่อชื่อเสียง[24]

  • ข้อกำหนดในการตรวจสอบย้อนกลับ : ตามกฎระเบียบกฎหมายอาหารทั่วไป (EC) 178/2002 อาหารที่นำเข้าจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผู้นำเข้าจะต้องเก็บรักษาบันทึกของซัพพลายเออร์และลูกค้าของตน

การติดตามแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่บังคับใช้และกำหนดโดยกฎหมายอาหารทั่วไป ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของข้อกำหนดความปลอดภัยอาหารที่กำหนดโดยสหภาพยุโรป ดังนี้

  • ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าที่จำเป็นต้องสามารถระบุผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ในประเทศต้นทาง
  • อำนวยความสะดวกในการถอนอาหาร/อาหารสัตว์ที่มีข้อบกพร่องออกจากตลาด
  • บังคับให้ธุรกิจสามารถระบุผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ในทันทีและผู้รับที่ตามมาในทันที ยกเว้นผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคขั้นสุดท้าย

เพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ ผู้นำเข้าต้องจัดทำเอกสารแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์และสามารถจัดหาหลักฐานที่มาของผลไม้และผักทั้งหมดได้ หลักฐานที่มายังจำเป็นสำหรับผู้นำเข้าเพื่อรับภาษีที่เป็นประโยชน์ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP)[25]

  • ข้อกำหนดในการติดฉลาก :
  • ผลไม้นำเข้าจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบการติดฉลากของสหภาพยุโรป ได้แก่ (1) ชื่อและที่อยู่ของผู้บรรจุหีบห่อหรือผู้จัดส่ง (2) ชื่อและความหลากหลายของผลิตผล (3) ประเทศต้นทาง (4) ชั้นและขนาด (อ้างอิงถึงมาตรฐานการตลาด) และ (5) หมายเลขล็อตสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ
  • ผักหรือผลไม้ที่ถูกแปรรูปหรือบรรจุเพื่อการบริโภคโดยตรง ต้องติดฉลากที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภค ประกอบด้วย (1) ชื่อสามัญของผลิตภัณฑ์ (2) ชื่อเต็มของประเทศต้นทาง (3) ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้บรรจุหีบห่อ ผู้นำเข้า เจ้าของแบรนด์หรือผู้ขาย (ผู้ค้าปลีก) ในสหภาพยุโรปที่วางผลิตภัณฑ์ในตลาด และข้อความ “packed for” (ถ้ามี) (4) ปริมาณสุทธิเป็นน้ำหนัก (5) ควรบริโภคก่อน (สำหรับผักและผลไม้แปรรูปทั้งหมด) (6) รหัสผู้ผลิตหรือหมายเลขล็อต (7) รายชื่อส่วนผสม (ถ้ามี) รวมถึงสารเติมแต่งและการบำบัดหลังการเก็บเกี่ยว (8) ประกาศเกี่ยวกับภูมิแพ้ (ถ้ามี) (9) การแสดงคุณค่าทางโภชนาการ (เมื่อผสมกับอาหารชนิดอื่น) (10) บรรจุในบรรยากาศป้องกัน (ถ้ามี) และ (11) ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับคุณภาพ ขนาด พันธุ์ หรือประเภททางการค้า และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือในบริเวณใกล้เคียง (บนชั้นวาง) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานการตลาดเฉพาะ[26] เป็นต้น

*******************************

[1] สํานักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, “การปลูกลำไย,” https://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/puklamyai.pdf.

[2] “Germany Longan Prices,” SELINA WAMUCII, https://www.selinawamucii.com/insights/prices/germany/longan/.

[3] “Longan (Lam Yai) | ลำใย – saftig und süß,” https://www.thai-thaifood.de/longan-frucht/.

[4] “P80 ต่อยอด“สารสกัดลำไยเข้มข้น”พัฒนาสู่เครื่องสำอางบุกตลาดเยอรมัน ต.ค.นี้,” ฐานเศรษฐกิจ, เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565, https://www.thansettakij.com/business/529137.

[5] “German Economy Paralyzed”, info institute, published March 6, 2024, https://www.ifo.de/en/facts/2024-03-06/ifo-economic-forecast-spring-2024-german-economy-paralyzed.

[6] “German Economy Paralyzed”, info institute.

[7] Germany Economic Outlook”, Kiel Institute for World Economy, https://www.ifw-kiel.de/topics/economic-outlook/.

[8] “German Economy Paralyzed”, info institute.

[9] “Economic Key Facts Germany,” KPMG, https://kpmg.com/de/en/home/insights/overview/economic-key-facts-germany.html.

[10] “Economic forecast for Germany”, Economy and Finance, https://economy-finance.ec.europa.eu/economic-surveillance-eu-economies/germany/economic-forecast-germany_en.

[11] “Economic Key Facts Germany,” KPMG.

[12] Muhammad Rafiullah Khan and Vanee Chonhenchob, Quality Changes of Longan Fruits during Storage and Shelf Life Extension (Asian Berries, 2020), abstract, https://www.taylorfrancis.com/chapters/edit/10.1201/9780429286476-9/quality-changes-longan-fruits-storage-shelf-life-extension-muhammad-rafiullah-khan-vanee-chonhenchob.

[13] กรุงเทพธุรกิจ, “จีน-มาเลย์เข้ม “กำมะถัน” ลำไย หวั่นสินค้าถูกตีกลับ…กระทบส่งออกลำไยในฤดู,” สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566, https://warning.acfs.go.th/th/early-warning/view/?page=4595.

[14] German Federal Institute for Risk Assessment, Sulphur dioxide and sulphites: EFSA re-evaluation identifies health risks at high consumption, 1, https://www.bfr.bund.de/cm/349/sulphur-dioxide-and-sulphites-efsa-re-evaluation-identifies-health-risks-at-high-consumption-data-situation-still-incomplete.pdf.

[15] Wu Zhenxian, Chen Weixin, Ji Zuoliang, and Su Meixia, “Low-temp sulfur treating method for antistaling longan and protecting its colour,” Google Patents, https://patents.google.com/patent/CN1126470C/en.

[16] VietnamPlus, “Thailand to face greater competition in fruit exports,” Vietnam Chamber of Commerce and Industry (VCCI), เผยแพร่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567, https://wtocenter.vn/tin-tuc/23543-thailand-to-face-greater-competition-in-fruit-exports.

[17] WTOCenter, “Thailand to face greater competition in fruit exports,” Tridge, เผยแพร่เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567, https://www.tridge.com/news/thailand-to-face-greater-competition-in-fruit-expo.

[18] “Import of Fresh Longan To Germany: Overview of Imports,” Tridge, https://www.tridge.com/intelligences/longan/import

[19] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร, “ตลาดส่งออกสำคัญของไทยรายสินค้า,” สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์, https://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx.

[20] สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรและนวัตกรรม “วิเคราะห์ข้อมูลตลาดสินค้าเกษตรแปรรูปและนวัตกรรมของประเทศเยอรมนี (Germany),” กรมการค้าต่างประเทศ, เผยแพร่เมื่อพฤศจิกายน 2564, https://www.dft.go.th/Portals/42/APi-DataIntelligentCenter/20813_0_Germany.pdf.

[21] “European Union – Import Requirements and Documentation,” privacyshield, https://www.privacyshield.gov/ps/article?id=European-Union-Import-Requirements-and-Documentation.

[22] “What requirements must fresh fruit or vegetables comply with to be allowed on the European market?,” CBI Ministry of Foreign Affairs, https://www.cbi.eu/market-information/fresh-fruit-vegetables/buyer-requirements.

[23] Andrew Graffham, “Eu Legal Requirements For Imports Of Fruits And Vegetables,” Fresh Insights, no. 1 (2006): 15, https://assets.publishing.service.gov.uk/media/57a08c2fe5274a31e0001056/60506EU-REGULATIONS-GUIDE-2006.pdf.

[24] Ibid, 19.

[25] “What requirements must fresh fruit or vegetables comply with to be allowed on the European market?,” CBI Ministry of Foreign Affairs.

[26] “What requirements must fresh fruit or vegetables comply with to be allowed on the European market?,” CBI Ministry of Foreign Affairs.

อ่านข่าวฉบับเต็ม : ตลาดลำไยในเยอรมนี

Login