“Welcia จับมือ Tsuruha Holding พันธมิตรด้านยา สู่อันดับ 1 ในเอเชีย”
AEON Group จัดงานแถลงข่าวที่เมือง ซัปโปโร เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ประกาศว่าบริษัทในเครือของตน บริษัท Welcia Holding ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับ Tsutuha Holding Inc. (HD) ทุ่มทุน 5แสนล้านเยน จะรวมกิจการเข้าด้วยกันภายในปี 2570 เพื่อสร้างเป็นร้านขายยาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น การรวมกิจการนี้จะทำให้ Aeon มีส่วนแบ่งในธุรกิจขายยามากขึ้น จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้กิจการของ Aeon ให้เติบโตขึ้น โดยการถือหุ้น 51% ของ Welcia และ 10% ของ Kusuri No Aoki Holdings ในธุรกิจเดียวกัน ทั้งนี้ 3 บริษัทยังมีแผนที่จะขยายกิจการนอกประเทศญี่ปุ่น รวมถึงตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหากรวมกันได้สำเร็จ รายได้ต่อปีของ Welcia และ Tsuruha จะสูงถึง 2 ล้านล้านเยน และมากกว่า 2 เท่าของ MatsukiyoCocokara & Co. Group หรือแบรนด์ Matsumoto Kiyoshi ที่คนไทยรู้จักมักคุ้น ผู้ประกอบการร้านขายยารายใหญ่อันดับสามในญี่ปุ่น
จำแนกใครเจ้าของแบรนด์ห้างขายยาอะไรบ้าง
– บริษัท Welcia Holding เป็นเจ้าของแบรนด์ welcia, Happy Drug, Shimizu Drugs, MASAYA Cosmetic Shop, Smile Life, Marue Drug และ Yodoya Drug
– บริษัท Tsutuha Holding Inc. (HD) ธุรกิจเวชภัณฑ์และเครื่องสำอางในเครือมีสาขาในภูมิภาค ฮอกไกโด และโทโฮคุของญี่ปุ่น เป็นเจ้าของแบรนด์ที่รู้จัก เช่น Tsuruha Drug, Kusurino Fukutaro, Drugstore Wellness, Drugstore Wants, Tsuruha Drug, Lady Drug Store, Kyorindo Pharmacy, B & D Drug Store ในจังหวัด Aichi และ Drug Eleven ในพื้นที่ Kyushu บนเกาะ Okinawa รวมถึง การสั่งซื้อออนไลน์กับ Tsuruha Group Merchandising E-Commerce เป็นต้น
ทั้งสองเครือข่าย (บริษัท Welcia Holding และ บริษัท Tsutuha Holding Inc.) เปิดให้บริการในหลายสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น ราคาสินค้าย่อมเยา และมีความหลากหลายในการเลือกซื้อ นอกจากยาแล้วยังมีเครื่องสำอางที่คุณภาพดี และอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ในครัวเรือนอีกด้วยรวมถึงบริการยกเว้นภาษีสำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ถือวีซ่าอายุไม่เกิน 6 เดือน เมื่อซื้อสินค้ามูลค่าตั้งแต่ 5,000 เยนขึ้นไปด้วย สำหรับความร่วมมือในอนาคต ทั้งสองเครือข่ายจะร่วมกันพัฒนา Private Brand และขยายช่องทางการจำหน่ายในตลาด E Commerce รวมถึงการบุกตลาดในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด
สินค้าเครื่องสำอางไทยในร้านขายยาของญี่ปุ่น
ข้อมูลจาก Japan Functional Cosmetics Research Institute Co., Ltd. ระบุว่าสินค้าแบรนด์ไทยที่วางจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป มีจำนวน 10 แบรนด์ เช่น Beauty buffet, frunflynn, REUNROM, SO GLAM, Mistine, SRICHAND, BeautyCottage, idolo, CathyDoll และ BabyBright
บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
ในปี 2566 (2023) มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น 25.07 ล้านคน ผู้บริโภคในญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเข้า Drugstore มากขึ้นเพราะราคาถูก รวมถึงจำหน่าย เครื่องสำอาง อาหารเสริม สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันในครัวเรือนที่มีความหลากหลาย เสมือนเป็นร้านสะดวกซื้อทั่วไป สินค้าเครื่องสำอางของไทย ที่วางจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไปมีโอกาสทำตลาดในญี่ปุ่นได้มากขึ้น
—————————————————————————————————————————
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ Japan Food Journal
หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ
ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2567
Japan Association of Chain Drug Stores (JACDS)
Japan Functional Cosmetics Research Institute Co., Ltd.
อ่านข่าวฉบับเต็ม : “Welcia จับมือ Tsuruha Holding พันธมิตรด้านยา สู่อันดับ 1 ในเอเชีย”