หน้าแรกเร่งเจรจาการค้าระหว่างประเทศ > การจัดการประชุมและการเข้าร่วมการประชุมในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562

การจัดการประชุมและการเข้าร่วมการประชุมในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562

1)           การประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) สมัยพิเศษ ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เป็นหัวหน้าหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม โดยที่ประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีของสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และรัฐมนตรีของคู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ รวมทั้งเลขาธิการอาเซียน  โดยรัฐมนตรี RCEP เห็นตรงกันที่จะยกระดับความร่วมมือและการประสานงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่สภาวะปกติ รวมทั้งผลักดันระบบเศรษฐกิจให้เติบโตทางอย่างมั่นคง ทั่วถึง สมดุล และยั่งยืนจากวิกฤตดังกล่าว และยืนยันความตั้งใจที่จะลงนามความตกลงในปี

2)           การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยมีนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยฝ่ายเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้เน้นย้ำความสำคัญของการดูแลและคุ้มครองประชาชนในช่วงวิกฤติการระบาดของไวรัสติดเชื้อโคโรน่า 2019 การบรรเทาผลกระทบและส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน อีกทั้ง ยังได้ประกาศจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยรับทราบการสนับสนุนเงินบริจาคจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐของไทยในกองทุนดังกล่าว เห็นชอบแนวทางและเงื่อนเวลาสำหรับการจัดทำแผนฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน โดยมอบหมายให้ทั้งสามเสาประชาคมอาเซียนร่วมจัดทำแผนฟื้นฟูดังกล่าวเพื่อเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และเร่งรัดการจัดตั้งคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์และมาตรฐานวิธีปฏิบัติของอาเซียนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข รวมถึงยังได้เน้นย้ำการสนับสนุนระบบพหุภาคี การค้าเสรีที่เปิดกว้าง และเสริมสร้างบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในปี 2563

Login